รายละเอียดงานวิจัย

  1. อิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ
  2. Effect of Heiter and 8 – Hydroxyquinoline Sulfate on Vase Life of ChrysanthemumFlowers ( Dendranthemum grandifflora )
  3. งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  4. 2556
  5. งานวิจัยปริญญาตรี
  6. สมฤทัย สายลุน
  7. สุจิตรา สืบนุการณ์
  8. อิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline  Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ

    Effect of Heiter and 8 – Hydroxyquinoline Sulfate on Vase Life  of

    ChrysanthemumFlowers ( Dendranthemum  grandifflora )

    โดย                       นางสาวสมฤทัย  สายลุน

    ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต  ( เกษตรศาสตร์)

    ปีการศึกษา         2556

    อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ดร. สุจิตรา  สืบนุการณ์

    ศึกษาอิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline  Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 X 7 Factorial  in  Completely Randomized  Design มี 2 ปัจจัย คือ 1. ความเข้มข้นของ Heiter มี 4 ระดับ ได้แก่ a1 = 0 %, a2 = 1 %,  a3= 2 %และa4 = 3% และ 2. ความเข้มข้นของ 8 – hydroxyquinoline sulfate   มี 7 ระดับ ได้แก่ b1 = 0 ppm  b2  = 150 ppm b3 = 200 ppm b4 = 250 ppm  b5 = 300 ppm                 b6 = 350 ppm และ b7= 400 ppm รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลอง ผลการทดลองพบว่า  การใช้น้ำกลั่นหรือการปักแจกันในสารละลาย 8 – HQS 150 ppm เพียงอย่างเดียวสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยของดอกเบญจมาศได้นาน 8 วัน และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แสดงว่าการใช้สารละลายไฮเตอร์ ร่วมกับ 8 – HQS ไม่สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศได้ ดอกเบญจมาศมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยเพียงแค่ 5 – 8 วัน เท่านั้น ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างจากการปักแจกันในน้ำกลั่น คือ 8 วัน แต่การใช้สารละลาย ไฮเตอร์ 1% ร่วมกับ 8 – HQS300 ppm  สามารถลดการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยมีการเน่า หรือการเกิดสีเหลืองของโคนก้านดอกน้อยที่สุดคือ 0.05 ซม. และมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยปานกลางคือ 7 วัน

     

  9. Heiter 8 – Hydroxyquinoline Sulfate เบญจมาศ
  10. ดาวน์โหลด


  11.     








เข้าสู่ระบบ