รายละเอียดงานวิจัย

  1. ความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกต่อการทาลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด
  2. Concentration of Sulfuric Acid on Dormancy Breaking of Traveller’s Palm Seed
  3. งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  4. 2557
  5. งานวิจัยปริญญาตรี
  6. ณัฐวุฒิ กรงาม
  7. อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
  8. บทคัดย่อ
    เรื่อง ความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกต่อการทาลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด
    Concentration of Sulfuric Acid on Dormancy Breaking of
    Traveller’s Palm Seed
    โดย นายณัฐวุฒิ กรงาม
    ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
    ปีการศึกษา 2557
    อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
    ศึกษาความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกต่อการทาลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด โดยวางแผนการทดลองแบบ 3X5 Factorial in Completely Randomized Design ประกอบด้วย 15 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 2 ซ้าๆ ละ 50 เมล็ด เปรียบเทียบกับชุดควบคุม เป็นระยะเวลา 30 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 75% นาน 6 นาที มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 70 เปอร์เซ็นต์ อัตราเร็วเฉลี่ยในการงอก 7 วัน เมล็ดมีพัฒนาการเป็นต้นกล้ารวดเร็วกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็ง และเมล็ดตายเท่ากับ 13 และ 17% ตามลาดับ ในขณะที่ความยาวราก ความสูงต้นกล้า และความสูงต้นกล้ารวมรากเฉลี่ย มีค่าปานกลาง คือ 4.55 4.45 และ 8.95 เซนติเมตร ตามลาดับ รองลงมา คือ การใช้กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 75% นาน 8 นาที มีอัตราเร็วเฉลี่ยในการงอก 7 วัน เปอร์เซ็นต์การงอก เปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็งและเปอร์เซ็นต์เมล็ดตายเฉลี่ยปานกลาง คือ มีค่าเท่ากับ 61 9 และ 30% ตามลาดับ ความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า และความสูงเฉลี่ยของต้นกล้ารวมราก ไม่แตกต่างทางสถิติกับการแช่กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 75% นาน 6 นาที คือ มีค่าเท่ากับ 4.70 และ 9.40 เซนติเมตร ส่วนความยาวรากเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.70 เซนติเมตร สาหรับความเข้มข้นและระยะเวลาในการแช่กรดซัลฟิวริกในการทาลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัดที่ไม่แนะนาให้ใช้ คือ กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 50% นาน 2 นาที เนื่องจากไม่เกิดการงอกของเมล็ดตลอดระยะเวลาทาการทดลอง
    คาสาคัญ เมล็ดกล้วยพัด กรดซัลฟิวริก การทาลายการพักตัว

  9. เมล็ดกล้วยพัด กรดซัลฟิวริก การทาลายการพักตัว
  10. ดาวน์โหลด


  11.     








เข้าสู่ระบบ