รายละเอียดงานวิจัย

  1. ผลของโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนู พันธุ์จินดา
  2. Effect of Potassium Nitrate on Seed Germination and Seedling Growth of Jinda Chilli (Capsicum annuum L.)
  3. งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  4. 2557
  5. งานวิจัยปริญญาตรี
  6. สิทธิชัย วรสุข
  7. อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
  8. บทคัดย่อ
    เรื่อง ผลของโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนู
    พันธุ์จินดา
    Effect of Potassium Nitrate on Seed Germination and Seedling
    Growth of Jinda Chilli (Capsicum annuum L.)
    โดย นายสิทธิชัย วรสุข
    ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
    ปีการศึกษา 2557
    อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
    ศึกษาความเข้มข้นและระยะเวลาที่เหมาะสมของสารละลายโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนูพันธุ์จินดา โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 Factorial in Completely Randomized Design เปรียบเทียบกับการใช้เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า การแช่น้้ากลั่น 24 ชั่วโมง และการไม่ท้าลายการพักตัว ทั้งหมด 12 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้้าๆ ละ 25 เมล็ด เป็นเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรทความเข้มข้น 0.2 เปอร์เซ็นต์เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีอัตราเฉลี่ยในการงอกเร็วที่สุด คือ 4 วัน มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 97 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีพัฒนาการเป็นต้นกล้าอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ โดยมีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า และความสูงเฉลี่ยของต้น-กล้ารวมรากสูงที่สุด คือ 4.91 เซนติเมตร และ 8.48 เซนติเมตร ตามล้าดับ มีเปอร์เซ็นต์การตายของเมล็ดน้อยที่สุด คือ 3 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ การใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า ในขณะที่ การแช่เมล็ดในสารละลายโพแทสเซียมไนเตรท 0.3 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ไม่แนะน้าให้ใช้ เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดตายมากที่สุด คือ 44 เปอร์เซ็นต์ และ ต้นกล้าที่ได้อ่อนแอไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ เมื่อย้ายปลูกในสภาพแวดล้อมภายนอก
    คาสาคัญ เมล็ดพริกขี้หนูพันธุ์จินดา โพแทสเซียมไนเตรท การท้าลายการพักตัว

  9. เมล็ดพริกขี้หนูพันธุ์จินดา โพแทสเซียมไนเตรท การท้าลายการพักตัว
  10. ดาวน์โหลด


  11.     








เข้าสู่ระบบ