รายละเอียดงานวิจัย

  1. ผลของตัวทำละลายและอุณหภูมิที่มีต่อประสิทธิภาพการสกัด สารให้ความหวานจากหญ้าหวาน
  2. Effect of Temperature and Solvent on the effective of crudeStevioside Extraction from Stevia rebaudianBertoni
  3. งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
  4. 2556
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  6. งานวิจัยปริญญาตรี
  7. เยาวภา กลมพันธ์ และ อนุพงษ์ บุญทัน
  8. ขนิษฐา หวังดี
  9. การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัดที่มีผลต่อ %TSS และค่าสีL* a* b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน โดยแปรค่อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำในสัดส่วนที่แตกต่างกัน คือ 1:20 (w/v) 1:30 (w/v)และ 1:40 (w/v) และแปรอุณหภูมิการสกัดที่50 60 และ 70 ºC ระเหยที่อุณหภูมิ 80 ºC เป็นเวลา2 3 และ4 ชั่วโมง ตามลำดับ วัด % TSS และวัดค่าสี L* a* b* และศึกษาความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสและเติมสารสกัดจากหญ้าหวาน เพื่อทดสอบหาความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ จากการวิจัยพบว่า อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัด สกัดได้โดยมีค่าของแข็งที่ละลายน้ำอยู่ระหว่าง3.00ºBrix เมื่อผ่านการระเหยพบว่ามีค่าของแข็งที่ละลายน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 3.00–6.06ºBrix ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การวัดค่าสี L*a*b* อัตราส่วนหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ ที่แตกต่างกันมีผลทำให้ค่าสี L*a*b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวานแตกต่างกัน อุณหภูมิที่แตกต่างกันในการสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน มีผลทำให้ค่าสี L*a*b*แตกต่างกัน และการประเมินความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสตามท้องตลาดและเติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวานเพื่อประเมินความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยพบว่า น้ำเก๊กฮวยที่เติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน จำนวนผู้ทดสอบ 30 คน โดยผู้ทดสอบทั้ง 30 คน ตอบว่าแตกต่างกัน

  10. หญ้าหวาน สารให้ความหวาน, ใบหญ้าหวานแห้ง
  11. ดาวน์โหลด


  12.     








เข้าสู่ระบบ