งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93068
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93031
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92406

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติ คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดกวางตุ้งโชว์จีน ที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ T
ผู้วิจัย ทิพย์สุดา วงศ์กลม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88738 ครั้ง ดาวน์โหลด 13 ครั้ง

การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของ ผักกาดกวางตุ้งโชว์จีนที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
The Use of Bio-Fermented Juice on Growth and Postharvest Quality of Chinese Cabbage-PAI TSAI (Brassica pekinensis L.) in Hydroponics System
โดย นางสาวทิพย์สุดา วงศ์กลม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. วิรญา ครองยุติ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดกวางตุ้งโชว์จีนที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 เปรียบเทียบกับการใช้สารละลายมาตรฐาน อนินทรีย์เพียงอย่างเดียว โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 4 ซํ้าๆ ละ 25 ต้น ผลการทดลองพบว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวอัตราส่วน 1:1 มีผลใกล้เคียงกันที่ทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดกวางตุ้งโชว์จีนเพิ่มขึ้นทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความยาวราก นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหมักชีวภาพจากมูลเสริมวัวอัตราส่วน 1:1 ยังมีผลทำให้ผักกาดกวางตุ้งโชว์จีน มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวด้วย เช่น ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์ บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด แคโรทีนอยด์ วิตามินซี และปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวอัตราส่วน 1:1ร่วมกับสารละลายมาตรฐานอนินทีย์ สามารถนำมาทดแทนสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวได้



การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข้าวพันธุ์กข10
ผู้วิจัย สุดสะดา สีอาโนไท | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88979 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง

การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

ข้าวพันธุ์กข10

                          Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of

RD10 Rice

โดย              นางสาวสุดสะดา      สีอาโนไท

ชื่อปริญญา     วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา       2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม     หาญพิชิตวิทยา

 

            การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์กข10 โดยวางแผนการทดลองแบบComplete Randomized Design ; CRD)จำนวน 11 กลุ่มทดลองๆละ 3 เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผลปรากฏว่า การใช้ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ร่วมกับปุ๋ย 20-20-20 ความเข้มข้น2% ทุกๆ 14 วัน มีน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย มากที่สุด คือ 15.33 กรัม และมีความสูงเฉลี่ย จำนวนรวงต่อต้น และน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ดปานกลาง คือ 68 ซม. 10.3 รวงต่อต้น และ 3.06 กรัม ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การฉีดพ่นปุ๋ยเคมี 20-20-20 ความเข้มข้น 2% ทุกๆ 7 วัน มีจำนวนรวงต่อต้นมากที่สุด คือ 11.3 รวงต่อต้น ส่วนค่าดัชนีชี้วัดตัวอื่นๆ มีค่าปานกลาง

 



การเปรียบเทียบวิธีการผลิตชาใบย่านางผสมใบเตยแบบอบลมร้อนกับแบบดั้งเดิม
ผู้วิจัย ธนาภรณ์ ศรีเสมอ และ สุริวิมล ศรีโนนยาง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90710 ครั้ง ดาวน์โหลด 76 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษารูปแบบอุณหภูมิและเวลาการอบแห้งด้วยวิธีอบลมร้อนชาใบย่านางผสมใบเตย ศึกษาความแตกต่างของปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ศึกษาอายุการเก็บรักษาและศึกษาการยอมรับของผู้บริโภค ของชาใบย่านางผสมใบเตยที่ผลิตแบบวิธีดั้งเดิมและวิธีอบลมร้อน รูปแบบที่เหมาะสมในการผลิตชาใบย่านางผสมใบเตยด้วยวิธีอบลมร้อน พบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 60 °C นาน 7 ชั่วโมง มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระทั้งหมด เท่ากับ 15.72 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิกต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง) และ 86.96 % Inhibition ตามลำดับ ความแตกต่างของปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาใบย่านางผสมใบเตยที่ผลิตแบบดั้งเดิมกับการอบลม-ร้อน ระยะเวลาการเก็บรักษานาน 6 สัปดาห์ มีการเพิ่มของปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดถึงสัปดาห์ที่ 3 และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดลดลงในช่วงสัปดาห์ที่ 4 5 และ 6 กิจกรรมการ-ต้านอนุมูลอิสระในชาใบย่านางผสมใบเตยที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 40 °C และ 50 °C พบว่ากิจกรรม-การต้านอนุมูลอิสระแบบวิธีการอบลมร้อนมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระต่ำกว่าแบบดั้งเดิมที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 6 สัปดาห์ การประเมินการยอมรับของผู้บริโภคต่อสี กลิ่น ความชอบ-โดยรวมผู้บริโภคให้การยอมรับแบบดั้งเดิมมากที่สุด และความชอบต่อรสชาติวิธีอบลมร้อนผู้บริโภคให้การยอมรับมากที่สุด โดยอายุการเก็บรักษาของวิธีแบบดั้งเดิมและวิธีอบลมร้อน ที่อุณหภูมิห้อง (25 °C) มีอายุการเก็บรักษา 5 สัปดาห์ และ 7 สัปดาห์ ตามลำดับ ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากความชื้นพบว่าชาใบย่านางผสมใบเตยที่ผลิตแบบดั้งเดิม ที่อุณหภูมิ 50 °C เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะมีการสูญเสียสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ สูญเสียความชื้นน้อย ค่าสีเขียวยังคงอยู่มากกว่าและการยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด



การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล
ผู้วิจัย อุไรวรรณ กำเนิดสิงห์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89604 ครั้ง ดาวน์โหลด 78 ครั้ง

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล

                                     Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for

                                     Pink Oyster Mushroom (Pleurotus djamo) Production

โดย                             นางสาวอุไรวรรณ กำเนิดสิงห์

ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา               2556

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

 

               ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ             ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่ากลุ่มทดลองที่มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุด คือ ขี้เลื่อย 100 % รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% การใช้      ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขุยมะพร้าว 100% และการใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% โดยมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเท่ากับ 25.00 19.06 17.93 15.86 และ 15 วัน ตามลำดับ ส่วนกลุ่มทดลองที่มีจำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือขี้เลื่อย 100 % รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25 ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่ 6.95 6.19 3.53 3.13  และ 2.51 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับกลุ่มทดลองที่ให้น้ำหนักสดเฉลี่ยของเห็ดนางนวลสูงที่สุดคือ  ขี้เลื่อย 75%       ขุยมะพร้าว 25% รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ ขี้เลื่อย 50%  ขุยมะพร้าว 50% การใช้  ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% โดยมีน้ำหนักสดเฉลี่ยเท่ากับ 24.83 19.39 16.1814.68  และ13.48 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นหากต้องการใช้ ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทน ขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล ควรใช้ในอัตราส่วนขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็นนางนวลได้ดีที่สุด เนื่องจาก ใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดน้อยที่สุด ให้จำนวนดอกเฉลี่ยรองลงมาจากขี้เลื่อย และยังให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด 


เข้าสู่ระบบ