งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายกิติพันธ์ โชติจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89188 ครั้ง ดาวน์โหลด 29 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพู
ในสภาพปลอดเชื้อ
Effect of Cytokinins and Auxins on Growth of Curcuma sp. Roxb in
vitro.
โดย นายกิติพันธ์ โชติจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพูในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 7×4 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) มีปัจจัย A ได้แก่ a1=0 mg/l, a2=1 mg/l, a3=2 mg/l, a4=3 mg/l, a5=4 mg/l, a6=5 mg/l และ a7=6 mg/l และปัจจัย B ได้แก่ b1=0 mg/l, b2=0.05 mg/l, b3=0.5 mg/l และ b4=1 mg/l รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลองๆ ละ 10 ซ้าๆ ละ 1 ขวด พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงกระเจียวสีชมพูและสามารถพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 6 mg/l เนื้อเยื่อมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้ต้นกล้ามีความสูงเฉลี่ยของต้น และจานวนยอด/หน่อ เฉลี่ยมากที่สุด คือ 1.30 เซนติเมตร และ 0.20 ยอด ตามลาดับ รองลงมาคือ สูตร MS ที่เติม BA 5 mg/l ร่วมกับ NAA 0.05 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น คือ 1.20 เซนติเมตร
คำสำคัญ ไซโตไคนิน ออกซิน กระเจียวสีชมพู สภาพปลอดเชื้อ
ผู้วิจัย เฉลิมศักดิ์ ธุรี | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88771 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 : กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer on Growth and
Yield of Sesame (cv.Ubonratchathani 2) : A Case Study of
Nam Yuen District, Ubon RatchathaniProvince
โดย นายเฉลิมศักดิ์ ธุรี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 5 กลุ่มทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้ง 4) ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1000 กก./ไร่ และ 5) ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของงามากที่สุด คือ 4.8 8.2 20.6 30.6 42.8 และ 63.4 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดที่ 10 20 30 40 50 และ 60 วันหลังปลูก และมีความแตกต่างกันทางสถิติ ( p ≤ 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยมีความสูงเฉลี่ยของงาน้อยที่สุด ส่วนน้ำหนักแห้งทั้งหมด น้ำหนักเมล็ดงา และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว พบว่าการใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีค่าสูงที่สุดคือ 2,773 กิโลกรัมต่อไร่ 315 กิโลกรัมต่อไร่ และ 0.114 ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ ( p ≤ 0.01)
คำสำคัญ งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก (มูลวัว)
ผู้วิจัย วิลาวัลย์ เสือทอง และ นุสรา ทินมาตย์ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 90581 ครั้ง ดาวน์โหลด 162 ครั้ง
เทมเป้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการหมักถั่วเหลืองร่วมกับเชื้อรา Rhizopus Oligosporus โดยการเจริญของเส้นใยราทำให้เมล็ดถั่วเหลืองยึดเกาะกัน มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว จะใช้เชื้อเริ่มต้นและระยะเวลาในการหมักที่แตกต่างกัน คือปริมาณเชื้อเริ่มต้น 1 % 3 % 5% และระยะเวลาในการหมัก24 36 และ 48 ชั่วโมง จากนั้นทำการประเมินลักษณะการเจริญเส้นใยของเชื้อรา วัดสีการเกาะกันของเมล็ดถั่วเหลืองและเปอร์เซ็นต์โปรตีน พบว่า ลักษณะการเจริญเส้นใยของเชื้อราในผลิตภัณฑ์เทมเป้ที่ปริมาณเชื้อเริ่มต้น 1 % 3 % 5% และระยะเวลาในการหมัก 48 36 48 ชั่วโมง มีการเจริญของเส้นใยราสีขาวปกคลุมทั่วเมล็ดถั่วเหลืองแสดงให้เห็นว่าปริมาณเชื้อและระยะเวลามีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์เทมเป้ ค่าสีจะศึกษาค่าL* ที่ใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงค่าความสว่างหรือค่าสีขาวของผลิตภัณฑ์เทมเป้ พบว่า ที่ปริมาณเชื้อเริ่มต้น 1% และระยะเวลาในการหมัก 48 ชั่วโมง มีค่า L* สูงสุด เท่ากับ 71.90ค่าการเกาะกันของเมล็ดถั่วเหลืองพบว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เทมเป้ที่ปริมาณเชื้อเริ่มต้น 5% ระยะเวลาในการหมัก 24 36และ48 ชั่วโมง มีผลคุณลักษณะการเกาะกันของเมล็ดถั่วเหลืองของผลิตภัณฑ์เทมเป้ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากปริมาณเชื้อเริ่มต้นมากจะทำให้การสร้างเส้นใยราได้เร็วขึ้นทำให้เกิดการเกาะกันของเมล็ดถั่วเหลืองและเมื่อราเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่สร้างเส้นใยทำให้ค่าที่ได้ไม่แตกต่างกันเปอร์เซ็นต์โปรตีน พบว่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์เทมเป้ที่ปริมาณเชื้อเริ่มต้น 1 % 3 % 5% และระยะเวลาในการหมัก 24 36และ48 ชั่วโมงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p£0.05) โดยที่เชื้อเริ่มต้น 5% ระยะเวลาในการหมัก 48 ชั่วโมง มีค่าเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงสุด เท่ากับ 24.14 ซึ่งเมื่อระยะเวลาในการหมักนานขึ้นทำให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนเพิ่มสูงขึ้นด้วยการประเมินทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ เทมเป้พบว่าผู้บริโภคให้คะแนนความชอบโดยรวมไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าคะแนนอยู่ในช่วงชอบเล็กน้อย
ผู้วิจัย เกศศิริ วงษ์ลา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88085 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว
Using Eucalyptus Branch to Substitute Sawdust for Lentinus
Squarrosulus Production
โดย นางสาวเกศศิริ วงษ์ลา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5
กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 ถุง โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50 เปอร์เซ็นต์
กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 75 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราส่วน
ที่เหมาะสม คือ ขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.23 ดอกต่อถุง และ 50.33 กรัมต่อถุง ตามลำดับ
แต่มีระยะเวลาในการบ่มของเชื้อปานกลาง (23.66) วัน รองลงมาได้แก่ ขี้เลื่อย 50 เปอร์เซ็นต์
กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์ และอัตราส่วนที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากให้จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดต่ำที่สุด นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วน กิ่งยูคาลิปตัสสับ ที่เพิ่มสูงขึ้นในวัสดุเพาะ พบว่า จำนวนดอกเห็ด และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงตามอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น
คำสำคัญ เห็ดขอนขาว กิ่งยูคาลิปตัสสับ ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต