งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93096
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93056
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92428

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน (พันธุ์แปซิฟิค271)
ผู้วิจัย เกษม สุดดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89415 ครั้ง ดาวน์โหลด 107 ครั้ง

บทคัดย่อ

    เรื่อง                        การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ       ข้าวโพดฝักอ่อน(พันธุ์แปซิฟิค271)

                                    Study on Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of                               Baby Corn (cv.Pacific 271)

    โดย                         นายเกษม สุดดี

    ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

    ปีการศึกษา              2556

    อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา

 

                   งานวิจัยนี้เพื่อหาอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์แปซิฟิค271โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กลุ่มทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 750 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่  กลุ่มทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25  กิโลกรัมต่อไร่ ศึกษาการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน (พันธุ์แปซิฟิค271) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 500 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25  กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย น้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด L และ S มากที่สุด คือ 139 เซนติเมตร  177 กิโลกรัม/ไร่ 150 กิโลกรัม/ไร่ และ 3 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ มีน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก ความยาวฝัก และน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด M เฉลี่ย ปานกลาง คือ 669 กิโลกรัม/ไร่ 10.1 เซนติเมตร และ 8 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 750 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25  กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยคอก เพียงอย่างเดียว ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ กับการไม่ใส่ปุ๋ย มีค่าน้อยที่สุดในทุกตัวชี้วัด

 



ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพู ในสภาพปลอดเชื้อ
ผู้วิจัย นายกิติพันธ์ โชติจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89172 ครั้ง ดาวน์โหลด 29 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพู
ในสภาพปลอดเชื้อ
Effect of Cytokinins and Auxins on Growth of Curcuma sp. Roxb in
vitro.
โดย นายกิติพันธ์ โชติจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพูในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 7×4 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) มีปัจจัย A ได้แก่ a1=0 mg/l, a2=1 mg/l, a3=2 mg/l, a4=3 mg/l, a5=4 mg/l, a6=5 mg/l และ a7=6 mg/l และปัจจัย B ได้แก่ b1=0 mg/l, b2=0.05 mg/l, b3=0.5 mg/l และ b4=1 mg/l รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลองๆ ละ 10 ซ้าๆ ละ 1 ขวด พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงกระเจียวสีชมพูและสามารถพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 6 mg/l เนื้อเยื่อมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้ต้นกล้ามีความสูงเฉลี่ยของต้น และจานวนยอด/หน่อ เฉลี่ยมากที่สุด คือ 1.30 เซนติเมตร และ 0.20 ยอด ตามลาดับ รองลงมาคือ สูตร MS ที่เติม BA 5 mg/l ร่วมกับ NAA 0.05 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น คือ 1.20 เซนติเมตร
คำสำคัญ ไซโตไคนิน ออกซิน กระเจียวสีชมพู สภาพปลอดเชื้อ



ผลของการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณการกินได้และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน ของโครีดนม
ผู้วิจัย นายกฤษฎา พาดำเนิน และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88611 ครั้ง ดาวน์โหลด 36 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณการกินได้และกระบวนการหมักในกระเพราะรูเมนสำหรับโครีดนม โดยใช้ทางใบปาล์มน้ำมันเอ็ดเม็ดผสมในสูตรอาหารข้นที่ระดับ 0, 25, 50, 75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ใช้โครีดนมลูกผสมพันธุ์โฮสไตน์ฟรีเชี่ยนจำนวน 4 ตัว วางแผนการทดลองแบบ 4x4 จัตุรัสลาติน (4x4 Latin Square Design, LSD) ผลการทดลองพบว่า ปริมาณการกินได้ของอาหารข้น ปริมาณการกินได้ของอาหารหยาบ ปริมาณการกินได้ทั้งหมด อุณหภูมิ และค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) แต่เมื่อเพิ่มระดับการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นทำให้ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนเพิ่มขึ้น ที่เวลา 4 ชั่วโมง หลังการให้อาหาร และมีค่าสูงสุดเมื่อใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น 75 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) การเสริมทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นที่ระดับมากขึ้น อาจมีแนวโน้มทำให้ปริมาณการกินได้ลดน้อยลง ดังนั้น การเสริมทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นที่เหมาะสมคือที่ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้โคมีปริมาณการกินได้ดีที่สุด

 

คำสำคัญ: ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ด, อาหารข้น, โครีดนม, ปริมาณการกินได้, กระบวนการหมักในกระเพาะ

              รูเมน

 

Abstract

 

This experiment was to study the effects of oil palm fronds pellet on feed intake  and rumen fermentation of lactating dairy cows. Four,Holstein-Friesian cross bred cows were randomly assigned according to a 4x4 Latin Square Design, to received oil palm fronds pellet in concentrate at 0, 25, 50 and 75%, respectively. It was found that concentrate intake, roughage intake, total dry matter intake, ruminal temperature, and ruminal pH were not significantly different among treatment (P<0.05). While, rumen ammonia-nitrogen (NH3-N) at 4 hours post feeding was increased when increasing level of oil palm fronds pellet in concentrate, which was highest in cow feed with 75% oil palm fronds pellet in concentrate (P<0.05) .Furthermore, increasing level of oil palm fronds pelletin concentrate resulted in a decrease dry matter intake. In conclusion, level of oil palm fronds pellet in concentrate for lactating dairy cows should not exceed 50%.

 

Key words:oil palm fronds pellet, concentrate, lactating dairy cows, feed intake, rumen     

                 fermentation



การใช้ลาต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม
ผู้วิจัย สุภาวดี วงษาลุน | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88918 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ลาต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม
Using Chopped Corn Stalk to Substitute Sawdust for
Growing Oyster Mushroom
โดย นางสาวสุภาวดี วงษาลุน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาเปรียบเทียบการใช้ลาต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้าหนักแห้ง) ผลการทดลองพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ลาต้นข้าวโพดสับ 25% เป็นอัตราส่วนที่มีความเหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทน ขี้เลื่อยได้ในการเพาะเห็ดนางรมเนื่องจาก มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยเร็วที่สุดคือ 21.26 วัน มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 12.8 ดอก/ถุง และมีน้าหนักผลผลิตสดปานกลางรองลงมาจากการใช้ขี้เลื่อยคือ 40.65 กรัม/ถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยและจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยปานกลาง คือ 22.46 วัน และ 11.62 ดอก/ถุง ตามลาดับ แต่มีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 42.79 กรัม/ถุง ส่วนอัตราส่วนที่ไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดนางรมคือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ลาต้นข้าวโพดสับ 75% และการใช้ขี้เลื่อย 50% ลาต้นข้าวโพดสับ 50% เนื่องจากดัชนีตัวชี้วัดทุกตัวมีค่าน้อยที่สุดและไม่แตกต่างกันทางสถิติ
5
คาสาคัญ เห็ดนางรม ลาต้นข้าวโพดสับ ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต


kubet ไทยคาสิโนออนไลน์


เข้าสู่ระบบ