งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93100
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93065
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92431

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาสภาวะการบรรจุเชิงแอคทีฟชาใบย่านางโดยใช้ตัวดูดซับออกชิเจน
ผู้วิจัย สุภาพร ขจรเพ็ชร และ ใหญ่ ละม่อม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89666 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะการบรรจุชาใบย่านางที่เหมาะสมและสามารถชะลอการสูญเสียคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ในชาใบย่านางระหว่างการเก็บรักษาและการยอมรับของผู้บริโภคต่อชาใบย่านางสภาวะการบรรจุแบบต่างๆ โดยศึกษาปัจจัยสภาวะการบรรจุชาใบย่านางแบบที่มีตัวดูดซับออกชิเจนและแบบไม่มีตัวดูดซับออกชิเจนเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 40 และ 50 องศาเซลเซียสนาน 6 สัปดาห์ทำการวิเคราะห์ค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณความชื้น ค่าสี L* a* b* และการประเมินการยอมรับของผู้บริโภคผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระได้แก่ ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษาและระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกได้แก่ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษาปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นได้แก่ ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสี L* ได้แก่ ชนิดของถุง oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสี a* ได้แก่ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสี b* ได้แก่ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อความชอบโดยรวมได้แก่ oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา นอกจากนี้การเก็บรักษาชาใบย่านางที่ 6 สัปดาห์มีสภาวะการบรรจุชาใบย่านางที่บรรจุด้วยถุง PE 40°C (Y) และถุง PE 50°C (Y) เป็นสภาวะการบรรจุที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาชาใบย่านางมากกว่าถุงที่บรรจุแบบชนิดอื่นๆ โดยมีความชื้นถึง 7% ในสัปดาห์ที่ 6 และมีอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 6 สัปดาห์ที่อุณหภูมิห้อง 25°C ซึ่งมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 88.62 % การยับยั้งและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 8.46 และ 8.98 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิค/กรัมน้ำหนักแห้ง ค่าสี a* ของชาใบย่านางที่บรรจุด้วยถุง PE 40°C (Y) และถุง PE 50°C (Y) มีค่าเท่ากับ 1.44 และ 1.62 ตามลำดับและการยอมรับของผู้บริโภคต่อชาใบย่านางที่สภาวะการบรรจุแบบที่มีตัวดูดซับออกชิเจนที่ดีที่สุดบรรจุด้วยถุง PE 40°C (Y) และถุง PE 50°C (Y) มีค่าเท่ากับ 7.30 และ 7.23 ตามลำดับ



การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
ผู้วิจัย ฐิติพร ภักดีโสภา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88795 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for
Schizophylum commune Production
โดย นางสาวฐิติพร ภักดีโสภา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% (Control) กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% ไมยราบยักษ์ 50% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75% และกลุ่มทดลองที่ 5 ไมยราบยักษ์ 100% ผลการทดลองพบว่าการใช้ไมยราบยักษ์ 100% (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนขี้เลื่อยได้ เนื่องจากมีน้าหนักผลผลิตดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด (21.4 กรัมต่อถุง) และใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกน้อยที่สุด (12.7 วัน) ดอกเห็ดที่ได้มีขนาดใหญ่ จึงทาให้มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยน้อย (63.1 ดอกต่อถุง) แต่ขนาดของดอกตรงกับความต้องการของตลาด รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ร่วมกับไมยราบยักษ์ 75% (กลุ่มทดลองที่ 4) มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอก และ น้าหนักผลผลิตดอกเห็ดสดเฉลี่ยปานกลางคือ 15.9 วัน และ 10.2 กรัมต่อถุง ตามลาดับ และมีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 85.7 ดอกต่อถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% (กลุ่มทดลอง-
ที่ 1) ใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุด (27.5 วัน) และมีน้าหนักผลผลิตดอกเห็ดสดเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 5.9 กรัมต่อถุง จึงไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดแครง นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนไมยราบยักษ์ในวัสดุเพาะ พบว่า เมื่อมีการเพิ่มสัดส่วนของไมยราบยักษ์มากขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อสั้นลงและมีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากขึ้น
คาสาคัญ เห็ดแครง ฟางข้าว ผลผลิต



การใช้มันสาปะหลังเป็นอาหารเสริมในการเพาะเห็ดนางฟ้า
ผู้วิจัย รุ่งอรุณ บุญแก้ว | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88435 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง

การใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารเสริมในการเพาะเห็ดนางฟ้า
                               Using  Cassava  as  a Supplement  for  the  Production  of 
                               Phoenix  Oyster Mushroom (Plerotus sajor-caju (fr.) Sing.)
โดย                        นางสาวรุ่งอรุณ  บุญแก้ว
ชื่อปริญญา             วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา              2556
อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.เสกสรร  ชินวัง
           

  งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนมันสำปะหลังในวัสดุเพาะต่อระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการชักนำดอก และผลผลิตของเห็ดนางฟ้า  โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ผลการทดลอง พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 100%  มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเร็วที่สุด คือ 21 วัน รองลงมาได้แก่ ขี้เลื่อย 90% มันสำปะหลัง 10% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ด คือ 22วัน ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 60% มันสำปะหลัง 40% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุด คือ 31 วัน ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยต่อถุง พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 90% มันสำปะหลัง 10% ให้จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 6.87 ดอกต่อถุง รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ขี้เลื่อย 80% มันสำปะหลัง 20% การใช้ขี้เลื่อย 60% มันสำปะหลัง 40% และ การใช้ขี้เลื่อย 70% มันสำปะหลัง 30% ให้จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยคือ 5.00 4.73 4.40 และ 3.71 ดอกต่อถุง ตามลำดับ  ในขณะที่น้ำหนักของเห็ดนางฟ้าต่อถุงการใช้ขี้เลื่อย 90% มันสำปะหลัง 10%  ให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 45.56กรัมต่อถุง รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ขี้เลื่อย 70% มันสำปะหลัง 30% การใช้ขี้เลื่อย 80% มันสำปะหลัง 20% และ การใช้ขี้เลื่อย 60% มันสำปะหลัง 40% ให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ  34.87 33.62 32.71 และ 31.39  กรัมต่อถุง ตามลำดับ  



การย่อยได้ของใบตองหมักกากน้ำตาลโดยใช้เทคนิคถุงไนล่อน
ผู้วิจัย ชินวัฒน์ ชูรัตน์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88754 ครั้ง ดาวน์โหลด 16 ครั้ง


เข้าสู่ระบบ