งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย สมพงษ์ วงศ์ชัยภูมิ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88382 ครั้ง ดาวน์โหลด 169 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลโค มูลกระบือ และมูลสุกร
Production of Rice Straw Mushroom Spawn from Cow Buffalo and Pig Manures
โดย นายสมพงษ์ วงศ์ชัยภูมิ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลโค มูลกระบือ และมูลสุกร เพื่อเปรียบเทียบกับเชื้อทางการค้า โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 4 กลุ่มทดลองๆละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ตะกร้า ผลการทดลอง พบว่า การเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดฟาง และระยะเวลาที่ใช้ในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนออกดอก ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 11.13 – 12.27 วัน และ 6 – 7 วัน ตามลาดับ ส่วนจานวนดอกเฉลี่ยที่ออกในแต่ละตะกร้า พบว่า เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ มีจานวนดอกมากที่สุดคือ 16.66 ดอกต่อตะกร้า รองลงมาคือ เชื้อเห็ดทางการค้า เชื้อเห็ดจากมูลโค และ เชื้อเห็ดจากมูลสุกร โดยมีจานวนดอกเฉลี่ย 14.40 10.06 และ 9.86 ดอกต่อตะกร้า ตามลาดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.05) ในขณะที่น้าหนักผลผลิตของเห็ดฟางเฉลี่ยต่อ
ตะกร้า พบว่า เชื้อเห็ดทางการค้าให้น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด คือ 272.07 กรัมต่อตะกร้า รองลงมา คือ เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ เชื้อเห็ดจากมูลโค และเชื้อเห็ดจากมูลสุกร 213.60 141.07 และ 108.47 กรัมต่อตะกร้า แสดงให้เห็นว่าเห็ดฟางสามารถเจริญเติบโตได้จากเชื้อเห็ดจากมูลโค เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ และเชื้อเห็ดจากมูลสุกรได้ดี แต่ขนาดของดอกเล็ก และทาให้ได้น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยน้อยลง ส่วนเชื้อเห็ดทางการค้า (ชุดควบคุม) ขนาดดอกสม่าเสมอและได้น้าหนักดีกว่า หากต้องการใช้มูลสัตว์ทดแทน เชื้อเห็ดทางการค้า แนะนาให้ใช้การทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลกระบือ เนื่องจากมีจานวนดอกเฉลี่ยมากที่สุด และมีน้าหนักผลผลิตเฉลี่ย ไม่แตกต่างจากเชื้อเห็ดทางการค้า
คาสาคัญ เห็ดฟาง เชื้อเห็ดทางการค้า มูลโค กระบือ สุกร
แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41
ผู้วิจัย ปนัดดา สุภาษร | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88775 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง อิทธิพลของ Heiter และน้ำมะนาว ต่อการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟิน-
นาคราชชนิดใบหยาบ
Effect of Heiter and Lemonade on Vase Life of Polynesian Foot Fern
(Davallia solida)
โดย นางสาวปนัดดา สุภาษร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาอิทธิพลของ Heiter และน้ำมะนาว ต่อการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ โดยวางแผนการทดลองแบบ 6x 5Factorial in Completely Randomized Design
เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำประปา) รวมทั้งหมด 31 กลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มทดลองมี 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ก้าน เป็นเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 20 ml มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานที่สุด คือ 21.10 วัน มีเปอร์เซ็นต์การเหลืองของใบน้อยที่สุดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง (26 วัน) คือ 31.76% ของพื้นที่ใบทั้งหมด และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดปานกลาง คือ 9.36% รองลงมาได้แก่ การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 15 ml หรือ 5 ml มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 20.80 วัน และ 20.00 วัน ตามลำดับ และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เท่ากับ 9.40% และ 4.93% ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่า การใช้สารละลาย Heiter ร่วมกับ น้ำมะนาวสำเร็จรูปในความเข้มข้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่า pH ของสารละลายมีความเป็นด่างมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสี ของใบจากสีเขียวเป็นสีเหลืองอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากต้องการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลาย Heiter เท่ากับ 0.1% ร่วมกับการแปรผันความเข้มข้นของน้ำมะนาวสำเร็จรูประหว่าง 5-20 ml และควรปรับ pH ของสารละลายให้มีสภาพเป็นกรด (pH 3-4) จะทำให้สามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานกว่าชุดควบคุม (น้ำประปา) ที่มีอายุการปักแจกันเฉลี่ยเพียง 16.39 วัน และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01)
คำสำคัญ ใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ Heiter น้ำมะนาวสำเร็จรูป การยืดอายุการปักแจกัน
ผู้วิจัย วงศ์สุดา พลเยี่ยม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88517 ครั้ง ดาวน์โหลด 63 ครั้ง
การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for Lentinus squarrosulus Production โดย นางสาววงศ์สุดา พลเยี่ยม ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2556 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาวโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ผลการทดลอง พบว่า ระยะ เวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดดีที่สุด คือกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 5 (ไมยราบยักษ์ 100%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ไมยราบ-ยักษ์ 50%) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อย100%) และกลุ่มทดลองที่ 4 (ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 27.93 28.06 28.60 28.60 และ 28.73 วัน ตามลำดับ สำหรับจำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่ 3.06 2.60 2.33 1.00 และ 1.00 ดอก/ถุง ตามลำดับ ส่วนน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดขอนขาวสูงสุด คือ กลุ่มทดลองที่ 3 รองลงมา กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 5 และกลุ่มทดลองที่ 4 โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 14.27 11.08 7.21 1.40 และ 1.27 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้น หากต้องการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว ควรใช้ไมยราบยักษ์ผสมกับขี้เลื่อยในอัตราส่วน ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาวได้ดีที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเร็วที่สุด มีจำนวนดอกเฉลี่ยสูงที่สุด และมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง
ผู้วิจัย พุทรงค์ ชินภาชน์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89552 ครั้ง ดาวน์โหลด 15 ครั้ง
ผลของ Heat Treatment ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์
ภายหลังการเก็บเกี่ยว
Effect of Heat Treatment on the Postharvest Quality Changes
of Rosoe Apple(Eugenia javanicalamk.)
โดย นายพุทรงค์ ชินภาชน์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ heat treatment ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ภายหลังการเก็บเกี่ยว โดยวางแผนการทดลองแบบ 4x3 Factorial in Completely Randomized Design (CRD) โดยใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 40 45 50 และ 55 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 0 30 และ 60 วินาที เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้แช่น้ำร้อน ผลการทดลอง พบว่า การทำ heat treatment นอกจากมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคแล้วยังสามารถรักษาคุณภาพของผลิตผลไว้ได้ ทำให้ชมพู่ทับทิมจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงสีเปลือกและสีเนื้อช้าลง และช่วยชะลอขบวนการย่อยอาหารสะสมและการเปลี่ยนแป้งไปเป็นน้ำตาล โดยอุณหภูมิของน้ำร้อนและระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำ heat treatment คือ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วินาที มีประสิทธิภาพโดยรวมดีที่สุด สามารถช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของชมพู่ทับทิมจันทร์ตลอด 9 วัน ที่เก็บรักษาในตู้ควบคุมอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองอื่น (p≤0.01)