งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย อิทธิพล สุขเกิด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91630 ครั้ง ดาวน์โหลด 197 ครั้ง
ศึกษาประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลอง จำนวน 5 ซํ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้งของสมุนไพรทั้งหมด 10 ชนิดได้แก่ เตยหอม มะกรูด พริกไทย อบเชย ขิง ตะไคร้ หนอนตายหยาก ขมิ้น ดีปลีและพริก ผลการทดลองพบว่า พริกไทยทำให้มอดแป้งตายได้ดีที่สุดคือ 100% รองลงมาคือดีปลี พริก ตะไคร้ ขิง ขมิ้น อบเชย ใบมะกรูด และเตยหอม ทำให้มอดแป้งตายได้เท่ากับ 98%, 92%, 30%, 28%, 22%, 18%, 14% และ 14% ตามลำดับ และหนอนตายหยากทำให้มอดแป้งตายน้อยที่สุดคือ 10% ดังนั้นพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ พริกไทยซึ่งมีประสิทธิภาพควบคุมมอดแป้งได้ 100% และจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการตายของมอดแป้งในช่วงชั่วโมงที่ 96 ทำให้มีผลวัดค่าและเป็นตัวชี้วัดได้ว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น
ผู้วิจัย พัชรา สังขฤกษ์ และ สมฤดี แท่นคำ | ปีที่พิมพ์ 2554 | อ่าน 90755 ครั้ง ดาวน์โหลด 115 ครั้ง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบนั้น ได้ดำเนินการตามหลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือทำการสำรวจตลาด สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค สร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบที่มีลักษณะเทียบเคียงกันมันฝรั่งทอดกรอบ โดยได้ศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการลวกมันสำปะหลังที่มีผลต่อคุณลักษณะด้านสีและเนื้อสัมผัสของมันสำปะหลังทอดกรอบโดยใช้ระยะเวลาในการลวก 0 30 60 และ 90 วินาที ที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส และทอดที่อุณหภูมิ 170±5 องศาเซลเซียส โดยวิเคราะห์คุณภาพทางด้านกายภาพและเคมี ได้แก่ค่าสี L* a* และ b* และลักษณะเนื้อสัมผัส ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาในการลวกที่ 90 วินาทีจะได้ค่าสี L* และ b* ที่ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดกรอบที่วางขายในท้องตลาด ระยะเวลาในการลวกมันสำปะหลังที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อต่อคุณลักษณะด้านเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบอย่างมีนัยสำคัญ(P≤0.05) ระยะเวลาในการลวกที่ 90 วินาที จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์สำปะหลังทอดกรอบ มีความกรอบมากที่สุดคือ 2.19 (นิวตัน) การวิเคราะห์ปริมาณไขมันของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบ พบว่าระยะเวลาที่กันในการลวกมันสำปะหลังมีผลต่อปริมาณไขมันซึ่งระยะเวลาในการลวกเพิ่มขึ้นมันสำปะหลังที่มีปริมาณการดูดซับน้ำมันน้อยและระยะการลวกที่ 90 วินาที จะดูดซับน้ำมันน้อยที่สุดคือ 17.82% การประเมินด้านประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบ พบว่า ความชอบต่อสี ความชอบต่อกลิ่น ความชอบต่อรสชาติ ความชอบต่อเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบพบว่าระยะเวลาการลวกที่ 90 วินาที เหมาะสมที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบให้มีลักษณะเทียบเคียงมันฝรั่งทอดกรอบที่วางขายในท้องตลาดมากที่สุด
ผู้วิจัย วารี ขันธิวัตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88433 ครั้ง ดาวน์โหลด 45 ครั้ง
อิทธิพลของปุ๋ยน้ำหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของดาวเรืองอเมริกัน
พันธุ์ซอฟเวอร์เรน
Effects of Aqueous Fertilizer Combined with Chemical Fertilizer on Yield of American Marigold var. Sovereign
โดย นางสาววารี ขันธิวัตร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาอิทธิพลของการใช้ปุ๋ยน้ำหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของดาวเรืองอเมริกันพันธุ์ซอฟเวอร์เรนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตดาวเรืองอเมริกันพันธุ์ซอฟเวอร์เรนโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD)แบ่งเป็น
6 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10กระถาง ได้แก่ ชุดควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ย)ใช้ปุ๋ยเคมี
สูตร 15-15-15 อัตรา 8 กรัม/กระถาง ใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดง อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนเป็ด อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดง อัตรา 25 ซีซี ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 4 กรัม/กระถางและใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนเป็ด อัตรา 25 ซีซี ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 4 กรัม/กระถางผลการทดลองพบว่าทุกกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในด้านความสูงทรงพุ่ม ส่วนจำนวนดอกและขนาดของดอกพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 มีแนวโน้มให้จำนวนดอกดาวเรืองต่อต้นเฉลี่ยมากที่สุด และให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกมากที่สุดเท่ากับ 7.11 และ 1.66 ตามลำดับ
ผู้วิจัย ยมนา หาทรัพย์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88763 ครั้ง ดาวน์โหลด 38 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ประสิทธิภาพของสารสกัดแมงลักคาและสะเดาต่อการเข้าทาลายของเพลี้ยอ่อนถั่ว
Efficacy of Mintweed and Neem Extracts on Aphids Infestation
โดย นายยมนา หาทรัพย์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยอ่อนถั่วจากสารสกัดใบแมงลักคาและใบสะเดาในรูปแบบต่างๆ เปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ความเข้มข้น 5% โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 5 ซ้า ซ้าละ 10กระถาง ดังนี้กลุ่มทดลองที่ 1น้าเปล่า (ชุดควบคุม) กลุ่มทดลองที่ 2 สารสกัดของใบแมงลักคาสกัดด้วยไอน้าความเข้มข้น 5% กลุ่มทดลองที่ 3 สารสกัดของใบแมงลักคาสกัดด้วยน้าเปล่าความเข้มข้น 5% กลุ่มทดลองที่ 4 สารสกัดของใบสะเดาสกัดด้วยไอน้าความเข้มข้น 5% และกลุ่มทดลองที่ 5 สารสกัดของใบสะเดาสกัดด้วยน้าเปล่าความเข้มข้น 5% ผลการทดลองพบว่า หลังจากพ่นสารสกัดแมงลักคาที่สกัดด้วยไอน้าครั้งสุดท้าย พบเพลี้ยอ่อนถั่วบนต้นถั่วพุ่มเฉลี่ยเพียง 1 ตัวต่อต้น แสดงว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง สารสกัดที่มีประสิทธิภาพรองลงมา คือสารสกัดสะเดาด้วยไอน้าที่พบเพลี้ยอ่อนถั่วเพียง 10 ตัวต่อต้น ส่วนสารสกัดแมงลักคา และสารสกัดสะเดาที่สกัดด้วยน้า ก็มีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยอ่อนเช่นกันแต่ไม่สูงเท่าการสกัดด้วยไอน้า
คาสาคัญ แมงลักคา ใบสะเดา เพลี้ยอ่อนถั่ว