งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย เกศศิริ วงษ์ลา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88392 ครั้ง ดาวน์โหลด 25 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว
Using Eucalyptus Branch to Substitute Sawdust for Lentinus
Squarrosulus Production
โดย นางสาวเกศศิริ วงษ์ลา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5
กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 ถุง โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50 เปอร์เซ็นต์
กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 75 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราส่วน
ที่เหมาะสม คือ ขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.23 ดอกต่อถุง และ 50.33 กรัมต่อถุง ตามลำดับ
แต่มีระยะเวลาในการบ่มของเชื้อปานกลาง (23.66) วัน รองลงมาได้แก่ ขี้เลื่อย 50 เปอร์เซ็นต์
กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์ และอัตราส่วนที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากให้จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดต่ำที่สุด นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วน กิ่งยูคาลิปตัสสับ ที่เพิ่มสูงขึ้นในวัสดุเพาะ พบว่า จำนวนดอกเห็ด และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงตามอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น
เว็บรวมข้อมูล พนันออนไลน์เว็บไหนดี ได้เงินจริง พร้อมฟรีเครดิต
ผู้วิจัย วารี ขันธิวัตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88433 ครั้ง ดาวน์โหลด 45 ครั้ง
อิทธิพลของปุ๋ยน้ำหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของดาวเรืองอเมริกัน
พันธุ์ซอฟเวอร์เรน
Effects of Aqueous Fertilizer Combined with Chemical Fertilizer on Yield of American Marigold var. Sovereign
โดย นางสาววารี ขันธิวัตร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาอิทธิพลของการใช้ปุ๋ยน้ำหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของดาวเรืองอเมริกันพันธุ์ซอฟเวอร์เรนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตดาวเรืองอเมริกันพันธุ์ซอฟเวอร์เรนโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD)แบ่งเป็น
6 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10กระถาง ได้แก่ ชุดควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ย)ใช้ปุ๋ยเคมี
สูตร 15-15-15 อัตรา 8 กรัม/กระถาง ใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดง อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนเป็ด อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดง อัตรา 25 ซีซี ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 4 กรัม/กระถางและใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนเป็ด อัตรา 25 ซีซี ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 4 กรัม/กระถางผลการทดลองพบว่าทุกกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในด้านความสูงทรงพุ่ม ส่วนจำนวนดอกและขนาดของดอกพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 มีแนวโน้มให้จำนวนดอกดาวเรืองต่อต้นเฉลี่ยมากที่สุด และให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกมากที่สุดเท่ากับ 7.11 และ 1.66 ตามลำดับ
ผู้วิจัย เบญจวรรณ หนูมะเริง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88518 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล็อกซิเนีย
ในสภาพปลอดเชื้อ
Effects of BA and NAA on Growth of Gloxinia In Vitro
โดย นางสาวเบญจวรรณ หนูมะเริง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล็อกซิเนียในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 x 5 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 20 กลุ่มทดลองๆ ละ 5 ซ้ำ ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดการพัฒนาเป็นต้น คือ อาหารสูตร MS ที่เติม NAA 1.5 mg/l ต้นกล้ามีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีความสูงเฉลี่ยของต้น 2.62 เซนติเมตร จำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 2.80 วัน มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงสุด คือ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีจำนวนยอดใหม่ปานกลาง คือ 0.4 ยอดต่อชิ้นส่วน รองลงมาคือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น 1.96 เซนติเมตร จำนวนวันเกิดยอดใหม่ 14 วัน และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต คือ 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับสูตรอาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 3 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l ไม่มีพัฒนาการของชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การตาย 100 เปอร์เซ็นต์
คำสำคัญ BA (6-benzyladenine) NAA (1-naphthalene acetic acid) กล็อกซิเนีย
ผู้วิจัย นุจรินทร์ ฉวีรักษ์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88852 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง