งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93113
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93072
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92435

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

อิทธิพลของปุ๋ยน้ำจากแหนแดงและสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่าย
ผู้วิจัย วันวิสา วิสาร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89909 ครั้ง ดาวน์โหลด 77 ครั้ง

เรื่อง               อิทธิพลของปุ๋ยน้ำจากแหนแดงและสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่าย

                           Effect of Aqueous Fertilizer from Azolla sp. and Chitosan on Chinese                        Celery Growth

โดย                     นางสาววันวิสา      วิสาร

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา        2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล     สมบูรณ์

 

ศึกษาการใช้ปุ๋ยน้ำจากแหนแดงและสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่ายโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ       3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถาง รวม120 หน่วยทดลองผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยน้ำจากแหนแดงอัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร มีความเหมาะสมมากที่สุดในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่าย โดยมี จำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.20 ต้น/กอ และ 30.36 กรัม ตามลำดับ และมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง คือ 19.80 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยเกร็ดตราทุ่งเศรษฐี เบอร์ 12 สูตร  25-5-5 อัตรา 6 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 20.66 เซนติเมตร แต่มีจำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง คือ 3.66 ต้น/กอ และ 28.10 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่การใช้สารไคโตซานอัตรา          1 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร มีความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง ส่วนการไม่พ่นสารมีค่าน้อยที่สุดในทุกดัชนีที่ใช้วัด และมีความแตกต่างกันทางสถิติ

 



ผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล็อกซิเนีย ในสภาพปลอดเชื้อ
ผู้วิจัย เบญจวรรณ หนูมะเริง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88518 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล็อกซิเนีย
ในสภาพปลอดเชื้อ
Effects of BA and NAA on Growth of Gloxinia In Vitro
โดย นางสาวเบญจวรรณ หนูมะเริง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ BA และ NAA ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล็อกซิเนียในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 x 5 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 20 กลุ่มทดลองๆ ละ 5 ซ้ำ ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดการพัฒนาเป็นต้น คือ อาหารสูตร MS ที่เติม NAA 1.5 mg/l ต้นกล้ามีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีความสูงเฉลี่ยของต้น 2.62 เซนติเมตร จำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 2.80 วัน มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงสุด คือ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีจำนวนยอดใหม่ปานกลาง คือ 0.4 ยอดต่อชิ้นส่วน รองลงมาคือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น 1.96 เซนติเมตร จำนวนวันเกิดยอดใหม่ 14 วัน และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต คือ 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับสูตรอาหารที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 3 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l ไม่มีพัฒนาการของชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การตาย 100 เปอร์เซ็นต์
คำสำคัญ BA (6-benzyladenine) NAA (1-naphthalene acetic acid) กล็อกซิเนีย



การศึกษาความสามารถการย่อยได้ของอาหารสำเร็จรูปในสุกรรุ่นพื้นเมือง
ผู้วิจัย ปวีณา ศักดาวงศ์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89912 ครั้ง ดาวน์โหลด 2 ครั้ง



ผลของตัวทำละลายและอุณหภูมิที่มีต่อประสิทธิภาพการสกัด สารให้ความหวานจากหญ้าหวาน
ผู้วิจัย เยาวภา กลมพันธ์ และ อนุพงษ์ บุญทัน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91830 ครั้ง ดาวน์โหลด 241 ครั้ง

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัดที่มีผลต่อ %TSS และค่าสีL* a* b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน โดยแปรค่อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำในสัดส่วนที่แตกต่างกัน คือ 1:20 (w/v) 1:30 (w/v)และ 1:40 (w/v) และแปรอุณหภูมิการสกัดที่50 60 และ 70 ºC ระเหยที่อุณหภูมิ 80 ºC เป็นเวลา2 3 และ4 ชั่วโมง ตามลำดับ วัด % TSS และวัดค่าสี L* a* b* และศึกษาความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสและเติมสารสกัดจากหญ้าหวาน เพื่อทดสอบหาความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ จากการวิจัยพบว่า อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัด สกัดได้โดยมีค่าของแข็งที่ละลายน้ำอยู่ระหว่าง3.00ºBrix เมื่อผ่านการระเหยพบว่ามีค่าของแข็งที่ละลายน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 3.00–6.06ºBrix ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การวัดค่าสี L*a*b* อัตราส่วนหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ ที่แตกต่างกันมีผลทำให้ค่าสี L*a*b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวานแตกต่างกัน อุณหภูมิที่แตกต่างกันในการสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน มีผลทำให้ค่าสี L*a*b*แตกต่างกัน และการประเมินความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสตามท้องตลาดและเติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวานเพื่อประเมินความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยพบว่า น้ำเก๊กฮวยที่เติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน จำนวนผู้ทดสอบ 30 คน โดยผู้ทดสอบทั้ง 30 คน ตอบว่าแตกต่างกัน


เข้าสู่ระบบ