งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ธีระโชติ ขูลีลัง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88893 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง
ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2
Effect of Wild Spikenard Bush-Tea Extracted on Growth and Yield of Super-Hot 2 Bird Chilli
โดย นายธีระโชติ ขูลีลัง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ประภัสสร น้อยทรง
ศึกษาผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท2ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถางพบว่าการใช้สารสกัดแมงลักคา อัตราส่วน 1:1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2 เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด มีความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ยปานกลาง แต่มีจำนวนวันออกดอกเร็ว และมีจำนวนผลผลิตเฉลี่ย และความยาวเฉลี่ยของผลพริก ในการเก็บเกี่ยวพริก ชุดที่ 1 น้ำหนักผลสดปานกลาง คือมีค่า เท่ากับ 25.83 ซม.17.85 ซม.35.11 วัน 10.33 ผล ต่อต้น 4.06 ซม.6.07 กรัม ตามลำดับ แต่ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่มากขึ้น หรือมีความเข้มข้นของแมงลักคาเพิ่มขึ้น พบว่า การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การไม่พ่นสารสกัดแมงลักคา มีความสูงเฉลี่ยของต้น และความกว้างของทรงพุ่มปานกลาง คือ 23.60 ซม.และ 18.60 ซม. ตามลำดับ และมีแนวโน้มใช้เวลาในการออกดอกนานกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้สารสกัดแมงลักคาฉีดพ่น ส่วนด้านผลผลิต การเก็บเกี่ยวชุดที่ 1 จะมีจำนวนผลผลิตน้อยที่สุด (4 ผล/ต้น) แต่หลังจากนั้น จำนวนผลผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น และมีนำหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด
(9.43 กรัม) แต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองที่ฉีดพ่นด้วยสารสกัดแมงลักคา
ผู้วิจัย นายเอนกพงษ์ พรมชาติ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89025 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพื้นเมือง
พันธุ์หอมทุ่งในสภาพแปลงทดลอง
Effects of Azolla Extract on Growth and Yield of Indigenous
Hawm Thung Rice in Plot Experiment
โดย นายเอนกพงษ์ พรมชาติ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองในสภาพแปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 5 ซ้ำ ขนาดแปลง 2 X 4 เมตร ผลการทดลองพบว่า สารสกัดแหนแดง (อัตรา 500 มิลลิลิตรต่อน้ำ 500 มิลลิลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีแนวโน้มให้จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ น้ำหนักเฉลี่ยต่อกอมากที่สุดและมี น้ำหนักต่อรวง น้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย (ก.ก/ไร่) ดีที่สุดคือ 4.26 ต้นต่อกอ 5.20 รวงต่อกอ 337.40 กรัมต่อกอ 96.80 กรัมต่อรวง 58.40 กรัมต่อเมล็ดดี 100 เมล็ด 2.28 กิโลกรัมต่อแปลง และ 456 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังให้ความสูงเฉลี่ย ระดับปานกลางคือ 67.96 เซนติเมตร รองลงมาคือ น้ำหมักชีวภาพแหนแดง
มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น มากที่สุดคือ 69.43 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ยต่อกอ และ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยปานกลางคือ 335 กรัมต่อกอ และ 1.70 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร
(336 กิโลกรัมต่อไร่) ในขณะที่ ปุ๋ยน้ำทางการค้า มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวน้อยที่สุดคือ 57.56 เซนติเมตร และให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 1.60 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร
(320 กิโลกรัมต่อไร่) ดังนั้นการใช้สารสกัดหรือน้ำหมักชีวภาพจากแหนแดง ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีผลช่วยส่งเสริม การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าว
ผู้วิจัย นายศิริศักดิ์ แซ่โชว์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88282 ครั้ง ดาวน์โหลด 16 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง อัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์
อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
Chemical Fertilizers Rates on Growth and Yield of
Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)
โดย นายศิริศักดิ์ แซ่โชว์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบและผลผลิตถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 4
กลุ่มทดลอง 1.) ไม่ใส่ปุ๋ย 2.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง) 4.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 3 ซ้ำ พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1) ดีกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี และอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 4) เนื่องจากต้นถั่วพุ่มมีความสูงเฉลี่ยของต้น ผลผลิตมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ด มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 64 เซนติเมตร 802 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 18 เมล็ดต่อฝัก และ 291 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และมีค่าแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง รองลงมาได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง) (กลุ่มทดลองที่ 3) และการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 2) ดัชนีทุกตัวชี้วัดมีค่าปานกลางยกเว้นเปอร์เซ็นต์การกะเทาะเมล็ด ค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 4) ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี (Control) (กลุ่มทดลองที่ 1) มีค่าตัวชี้วัดทุกตัวต่ำที่สุด ยกเว้นดัชนีการเก็บเกี่ยว แต่ก็ไม่แตกต่างทางสถิติกับกลุ่มทดลองอื่นๆ
ผู้วิจัย นางสาวนิตยา มูลรัตน์ และ นางสาวสุรณีย์ ท้องที่ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 88632 ครั้ง ดาวน์โหลด 59 ครั้ง
ปฏิกิริยาสีน้ำตาลในผักและผลไม้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่พืชถูกทำลาย จากการปอกเปลือกหรือตัดแต่ง ซึ่งจะทำให้เอนไซม์ PPO (Polyphenol Oxidase) ในเนื้อเยื่อและ substrate รวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญและเป็นตัวกำหนดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปขั้นต่ำดังนั้นจึงมีการศึกษาวิธีการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาล โดยใช้สารธรรมชาติ ราคาถูก หาง่าย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา ความเข้มของสารละลาย Sodium Chloride (NaCl) และระยะเวลาที่ใช้แช่แอปเปิลตัดแต่งที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นที่ศึกษา คือ NaCl 0.25g/l, 0.5g/l, 1g/l ระยะเวลาในการแช่ 1, 3 และ 5 นาที เพื่อเปรียบเทียบกับการแช่แอปเปิลตัดแต่งใน Citric acid ที่มีผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลในแอปเปิลตัดแต่ง โดยวิเคราะห์ค่าทางกายภาพและจุลินทรีย์ ได้แก่ ค่าความสว่าง (L) ค่าความแน่นเนื้อ (Firmness) จำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด(TPC) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อแช่แอปเปิลตัดแต่งในสารละลาย NaCl 1g 5 นาที มีค่าความสว่าง (L) สูงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (79.64 - 75.88) ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) กับตัวอย่างที่แช่ใน Citric acid ส่วนค่าความแน่นเนื้อเมื่อแช่ในแอปเปิลตัดแต่งสารละลาย NaCl ที่มีความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ค่าความแน่นเนื้อลดลงแสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของ NaCl มีผลต่อความแน่นเนื้อของแอปเปิลตัดแต่ง การศึกษาด้านจุลินทรีย์ในแอปเปิลตัดแต่ง พบว่า จำนวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บรักษาทั้งตัวอย่างที่ผ่านการแช่ใน NaCl และกรดซิตริก การประเมินคุณลักษณะทางด้านประสาทสัมผัสของแอปเปิลตัดแต่ง ด้านความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิลตัดแต่งที่แช่ใน Citric acid (P>0.05)