งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ฐิติกร บัวใหญ่ และ | ปีที่พิมพ์ 0 | อ่าน 89150 ครั้ง ดาวน์โหลด 20 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัดไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี
ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล
Comparison of Chemical Fertilizer and Chitosan Efficiency
On Growth and Yield of Apples Cantaloupe
โดย นายฐิติกร บัวใหญ่
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัด
ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล และ เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 38 ต้น ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ชุดควบคุม ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 และสูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการปลูกแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ลได้ เนื่องจากมีแนวโน้มน้ำหนักเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย และเส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 65.95 กรัม 1149.7 กรัม และ 4.46 เซนติเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับ
ไคโตซาน (อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ทำให้มีความยาวเถาเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ยมากที่สุดคือ 80.38 เซนติเมตร และ 23.83 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีแนวโน้มให้น้ำหนักเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ยต่ำที่สุด และให้ผลผลิตตกเกรดมากที่สุด เท่ากับ 53.79 กรัม 603.7 กรัม 14.91 เปอร์เซ็นต์ 2.70 เซนติเมตร และ 13.73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ผู้วิจัย กุสุมา สำเนียงนวล | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89253 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1
A Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield
of Chainat 1 Rice Variety
โดย นางสาวกุสุมา สำเนียงนวล
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ที่แปลงปลูกพืชทดลอง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยต่อต้น จำนวนรวงต่อกอ และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อกระถางสูงที่สุดคือ 109 เซนติเมตร 13 รวงต่อกอ และ 27.24 กรัมต่อกระถาง ตามลำดับ อีกทั้งยังมี เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 33 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์ทางใบที่หมักด้วยแหนแดง อัตรา 1:100 ทุกๆ 7 วัน มีจำนวนรวงต่อกอมากที่สุดคือ 13 รวงต่อกอ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ และดัชนีการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ 25.39 กรัมต่อกระถาง 37 เปอร์เซ็นต์ และ 0.36 ตามลำดับ ส่วนการไม่ใส่ปุ๋ยถึงแม้จะมีน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด มากที่สุด เท่ากับ 4.11 กรัม แต่ผลผลิตเฉลี่ยรวมที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพเพราะมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูงที่สุดคือ 47 เปอร์เซ็นต์ และมีจำนวนรวงต่อกอต่ำที่สุด 9 รวงต่อกอ ถึงแม้การใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวจะให้ผลผลิตสูงก็จริง แต่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ดินเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว ถ้านำปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีก็จะลดต้นทุนในการผลิต และยังช่วยบำรุงดินอีกด้วย ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมในการทดลองนี้คือ ปุ๋ยอินทรีย์ทางใบที่หมักด้วยแหนแดง อัตรา 1:100 โดยฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน มีประสิทธิภาพมากที่สุด
คำสำคัญ ข้าวชัยนาท 1 ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยทางใบ
ผู้วิจัย สมฤทัย สายลุน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89487 ครั้ง ดาวน์โหลด 95 ครั้ง
อิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ
Effect of Heiter and 8 – Hydroxyquinoline Sulfate on Vase Life of
ChrysanthemumFlowers ( Dendranthemum grandifflora )
โดย นางสาวสมฤทัย สายลุน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาอิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 X 7 Factorial in Completely Randomized Design มี 2 ปัจจัย คือ 1. ความเข้มข้นของ Heiter มี 4 ระดับ ได้แก่ a1 = 0 %, a2 = 1 %, a3= 2 %และa4 = 3% และ 2. ความเข้มข้นของ 8 – hydroxyquinoline sulfate มี 7 ระดับ ได้แก่ b1 = 0 ppm b2 = 150 ppm b3 = 200 ppm b4 = 250 ppm b5 = 300 ppm b6 = 350 ppm และ b7= 400 ppm รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลอง ผลการทดลองพบว่า การใช้น้ำกลั่นหรือการปักแจกันในสารละลาย 8 – HQS 150 ppm เพียงอย่างเดียวสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยของดอกเบญจมาศได้นาน 8 วัน และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แสดงว่าการใช้สารละลายไฮเตอร์ ร่วมกับ 8 – HQS ไม่สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศได้ ดอกเบญจมาศมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยเพียงแค่ 5 – 8 วัน เท่านั้น ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างจากการปักแจกันในน้ำกลั่น คือ 8 วัน แต่การใช้สารละลาย ไฮเตอร์ 1% ร่วมกับ 8 – HQS300 ppm สามารถลดการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยมีการเน่า หรือการเกิดสีเหลืองของโคนก้านดอกน้อยที่สุดคือ 0.05 ซม. และมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยปานกลางคือ 7 วัน
ผู้วิจัย ธนิดา แก่นวงษ์ และ ปวีณา วงศ์ศรีทา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89803 ครั้ง ดาวน์โหลด 57 ครั้ง
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง โดยเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูล-อิสระ จากการทดลองพบว่า สารสกัดจากเปลือกมะม่วงมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 1,823.45 ไมโครกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรสารสกัด ซึ่งมีปริมาณมากกว่าสารสกัดใบย่านางที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 957.52 ไมโครกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรสาร-สกัด สารสกัดจากเปลือกมะม่วงมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ มีค่าเท่ากับ 93.78 % Inhibition ซึ่งมีกิจ- กรรมการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าสารสกัดใบย่านาง มีค่าเท่ากับ 81.90 % Inhibition ทำการศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง ปริมาณ สารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อน้ำมันถั่วเหลืองที่แตกต่างกัน 2 ระดับ คือ 20:200 และ 100:200 วิเคราะห์ค่าเปอร์ออกไซด์และค่าโพลาร์ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 วัน เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อค่าเปอร์ออกไซด์ของน้ำมันถั่วเหลือง ได้แก่ ชนิดน้ำมัน ชนิดสารสกัด อัตราส่วน ระยะเวลาการเก็บรักษา และยังมีปัจจัยร่วมที่มีผลต่อการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง ได้แก่ ชนิดน้ำมันมีผลร่วมกับอัตราส่วน ชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา ชนิดน้ำมันมีผลร่วม กับระยะเวลาการเก็บรักษาชนิดน้ำมัน และชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับอัตราส่วน ชนิดน้ำมันและชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา ชนิดสารสกัดและอัตราส่วนมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา นอกจากนี้สารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้มสามารถชะลอ การเกิดเปอร์ออกไซด์ที่ดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 17.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม รองลงมาคือสารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 100:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้ม มีค่าเท่ากับ 20.67 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม และสารสกัดเปลือกมะ- ม่วงอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้ม มีค่าเท่ากับ 21.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม สารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ต้มสามารถชะลอการเกิดเปอร์ออกไซด์ได้ดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 28.67 มิลลิกรัม-สมมูลย์ต่อกิโลกรัม รองลงมาคือสารสกัดเปลือกมะม่วงอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ต้ม มีค่าเท่ากับ 31.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม และสารสกัดเปลือกมะม่วงอัตราส่วน 100:200 มีค่าเท่ากับ 36.00 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม สารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางทุกอัตราส่วน สามารถชะลอการเกิดกลิ่นหืนได้ในน้ำมันที่ต้มและน้ำมันที่ไม่ต้มไม่แตกต่างกัน ค่าโพลาร์มีค่าน้อยกว่า 20 % ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 25 จึงเหมาะแก่การบริโภค