งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93097
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93056
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92429

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง
ผู้วิจัย อิทธิพล สุขเกิด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91603 ครั้ง ดาวน์โหลด 197 ครั้ง

ศึกษาประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลอง จำนวน 5 ซํ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้งของสมุนไพรทั้งหมด 10 ชนิดได้แก่ เตยหอม มะกรูด พริกไทย อบเชย ขิง ตะไคร้ หนอนตายหยาก ขมิ้น ดีปลีและพริก ผลการทดลองพบว่า พริกไทยทำให้มอดแป้งตายได้ดีที่สุดคือ 100% รองลงมาคือดีปลี พริก ตะไคร้ ขิง ขมิ้น อบเชย ใบมะกรูด และเตยหอม ทำให้มอดแป้งตายได้เท่ากับ 98%, 92%, 30%, 28%, 22%, 18%, 14% และ 14% ตามลำดับ และหนอนตายหยากทำให้มอดแป้งตายน้อยที่สุดคือ 10% ดังนั้นพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ พริกไทยซึ่งมีประสิทธิภาพควบคุมมอดแป้งได้ 100% และจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการตายของมอดแป้งในช่วงชั่วโมงที่ 96 ทำให้มีผลวัดค่าและเป็นตัวชี้วัดได้ว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น



ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิต ข้าวขาวดอกมะลิ105ในพื้นที่อาเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย นุชรัตน์ ปูกะธรรม | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88848 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิต
ข้าวขาวดอกมะลิ105ในพื้นที่อาเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
Effect of Chemical and Organic Fertilizer Utilization on
Growth and Yield of KDML 105 Rice in Khemmarat District
Ubonratchathani Province
โดย นางสาวนุชรัตน์ ปูกะธรรม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทาการทดลองในแปลงเกษตรกรตาบลหนองสิม อาเภอเขมราฐจังหวัดอุบลราชธานีวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้า ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ร่วม กับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 14 กิโลกรัมต่อไร่และ สูตร 46-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ช่วงข้าวอายุ 25 วันหลังหว่าน และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกาเนิดช่อดอกให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวเป็น 109 เซนติเมตร จานวนรวง 201 รวงต่อตารางเมตรน้าหนักผลผลิตเฉลี่ยของข้าว 269 กิโลกรัมต่อไร่ มีค่าสูงที่สุด และมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ ในค่าน้าหนักเมล็ดข้าว 100 เมล็ด และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว รองลงมา คือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่ากัน และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 14 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วงข้าวอายุ 25 วันหลังหว่านข้าว และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกาเนิดช่อดอก
คาสาคัญ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกมูลวัว



ผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยา บางประการของข้าวเจ้าหอมนิล ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
ผู้วิจัย สิทธิพร ศิริไทย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88336 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง

ศึกษาผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของข้าวเจ้าหอมนิล ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแห้งแล้ง แบ่งเป็น 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับน้าปกติ กลุ่มแล้ง และกลุ่มที่ได้รับการพ่นสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.25, 0.5, 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ ทาการเพาะเมล็ดและปลูกในกระถางบรรจุดินเป็นเวลา 14 วัน งดให้น้า 7 วัน ผลการทดลองพบว่าสภาวะแล้งส่งผลให้การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวหอมนิลลดลง ยกเว้นความยาวราก ส่วนกรดซาลิไซลิกช่วยให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีขึ้นโดยทาให้ความยาวราก น้าหนักสดรากและลาต้น และน้าหนักแห้งลาต้นเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของต้นกล้าข้าวหอมนิล ทั้งนี้จากการทดลองสามารถสรุป ได้ว่ากรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.25 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทาให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด



อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย นายอิทธิพล นามห่อ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87757 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

 

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                        อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี

                             Organic and Chemical Fertilizer Rates on Growth and Yield of KDML 105 Rice in That  Sub-District, WarinChamrap District,

                             UbonRatchathani Province

โดย                         นายอิทธิพล  นามห่อ

ชื่อปริญญา                วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์ )

ปีการศึกษา                2558

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดมหาญพิชิตวิทยา

ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 6 กลุ่มทดลอง 3ซ้ำผลการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 9 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่หลังช่วงปักดำ (50%) ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0  อัตรา7กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกำเนิดช่อดอก (50%) ( เป็นอัตราปุ๋ยสั่งตัด )ให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าว จำนวนรวงต่อกอเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเฉลี่ยเมล็ดดี 100 เมล็ด สูงที่สุดคือ 172 เซนติเมตร8 รวงต่อกอ10 เปอร์เซ็นต์414 กิโลกรัมต่อไร่และ2.57 กรัมตามลำดับรองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยคอกจากมูลวัวอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ในช่วงปักดำ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15  อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และ 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ (อัตราเกษตรกร) (กลุ่มทดลองที่ 6) มีค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดปานกลางเมื่อเทียบกับไม่ใส่ปุ๋ย ที่มีค่าดัชนีทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นการวิเคราะห์หาค่าปริมาณคุณภาพ NPK ในพื้นที่เพาะปลูก จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการลดต้นทุนในการผลิต ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 


เข้าสู่ระบบ