งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93130
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93083
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92446

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลการใช้ผักหนามและพืชโปรตีนสูงในอาหาร ต่อการให้ผลผลิตของไก่ไข่
ผู้วิจัย นางสาวปนัดดา เยื่อใย และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 87457 ครั้ง ดาวน์โหลด 36 ครั้ง

 

บทคัดย่อ

การทดลองนี้ใช้ไก่ไข่ 100 ตัว ระยะเวลาทดสอบ 13 สัปดาห์ ประกอบด้วย 2 การทดลอง             การทดลองที่ 1 การใช้ผักหนามซึ่งมีองค์ประกอบของฮอร์โมนจากพืช (Phytoestrogen) บดผสมในสูตรอาหารไก่ไข่ประกอบด้วย T1 แกลบบด 3%  T2 ผักหนาม 1% T3 ผักหนาม 2% T4 ผักหนาม 3% T5 กลุ่มอาหารควบคุม ผลการทดลองพบว่าการใช้ผักหนามในระดับ 1% ให้ผลดีที่สุดต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่ แสดงว่าระดับฮอร์โมนที่ได้รับจากผักหนาม 1% สมดุลในการส่งเสริมการให้ไข่ดีที่สุด การทดลองที่ 2 การใช้พืชโปรตีนสูง (High Protein Plants) ผสมในสูตรอาหารไก่ไข่  ประกอบด้วย T1 ใบมะรุม 3% T2 ใบกระถิน 3% T3 ใบมันสำปะหลัง 3% T4 ใบหม่อน 3% T5 อาหารควบคุม ผลของการทดลองพบว่าการใช้ใบหม่อนและใบมันสำปะหลังให้ผลดีที่สุดและใช้อาหารในการเปลี่ยนเป็นไข่น้อยที่สุด

คำสำคัญ ผักหนาม แกลบ ใบมันสำปะหลัง ใบหม่อน ใบมะรุม ใบกระถิน

 

Abstract

This experiment used 100 hens for 13 week trials. The Trials were divided into two experimental groups. The first expeniment containet 5 treatments as; T1.Husk 3% T2.Lasia spinosa 1% T3.Lasia spinosa 2% T4.Lasia spinosa 3% T5.Control feed. The resuets found that T2 Lasia 1% showed a higest perfomance on egg production. The second experiment contained 5 treatments ; T1. Moringa leaves 3% T2. Acacia leaves 3% T3. Cassava leaves 3% T4. Mulberry Leaves 3% T5. Control feed. The results showed that the use of mulberry leaves and cassava leaves gave the best results.

Keyword : Lasia spinosa, Husk , mulberry leaves, Mulberry Leaves, Moringa leave, Acacia leaves

 

 



ผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว
ผู้วิจัย ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88947 ครั้ง ดาวน์โหลด 56 ครั้ง

ทดลองปลูกสลัดแก้วเพื่อศึกษาผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 –มกราคม 2557 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 กลุ่มทดลองคือ ไม่คลุมตาข่ายพรางแสง คลุมตาข่ายพรางแสงสีดา 50% คลุมตาข่ายพรางแสงดา 60% คลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% และคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60% ผลการทดลองพบว่า ผักสลัดแก้วที่ปลูกโดยไม่คลุมตาข่ายพรางแสงให้ น้าหนักสดเฉลี่ยของผลผลิตรวมมากที่สุดคือ 41.33 กรัม ส่วนการปลูกสลัดแก้วโดยคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% มีแนวโน้มจะให้ความกว้างของทรงพุ่มและความสูงมากที่สุดเท่ากับ 21.67และ 27.50 เซนติเมตร ตามลาดับ รองลงมาคือตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60%



การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข้าวพันธุ์กข 33
ผู้วิจัย สุกัญญา คำศิริ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88980 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง

การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

                                  ข้าวพันธุ์กข 33

                                  A Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of

                                  RD33 Rice

โดย              นางสาวสุกัญญา   คำศิริ                    

ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                2556

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์โดม  หาญพิชิตวิทยา                             

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์กข 33 (หอมอุบล 80)ได้ทำการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบCRD มี 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ (20-20-20) ความเข้มข้น 2% ทุกๆ7 วัน มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากให้จำนวนรวงต่อต้น น้ำหนักผลผลิต และน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด มากที่สุกคือ 11 รวงต่อต้น 24.33 กรัม/ต้น และ 3.33 กรัม ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 36% และมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลางคือ 136 ซม. รองลงมาได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 143 ซม. และ มีจำนวนรวงต่อต้น เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด ปานกลางคือ 10.3 รวงต่อต้น 37.7% 21.67 กรัม/ต้น และ 3.13 กรัม ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมักด้วยแหนแดง มีค่าดัชนีตัวชี้วัดปานกลาง



การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล
ผู้วิจัย อุไรวรรณ กำเนิดสิงห์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89666 ครั้ง ดาวน์โหลด 78 ครั้ง

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล

                                     Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for

                                     Pink Oyster Mushroom (Pleurotus djamo) Production

โดย                             นางสาวอุไรวรรณ กำเนิดสิงห์

ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา               2556

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

 

               ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ             ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่ากลุ่มทดลองที่มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุด คือ ขี้เลื่อย 100 % รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% การใช้      ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขุยมะพร้าว 100% และการใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% โดยมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเท่ากับ 25.00 19.06 17.93 15.86 และ 15 วัน ตามลำดับ ส่วนกลุ่มทดลองที่มีจำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือขี้เลื่อย 100 % รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25 ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่ 6.95 6.19 3.53 3.13  และ 2.51 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับกลุ่มทดลองที่ให้น้ำหนักสดเฉลี่ยของเห็ดนางนวลสูงที่สุดคือ  ขี้เลื่อย 75%       ขุยมะพร้าว 25% รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ ขี้เลื่อย 50%  ขุยมะพร้าว 50% การใช้  ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% โดยมีน้ำหนักสดเฉลี่ยเท่ากับ 24.83 19.39 16.1814.68  และ13.48 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นหากต้องการใช้ ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทน ขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางนวล ควรใช้ในอัตราส่วนขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็นนางนวลได้ดีที่สุด เนื่องจาก ใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดน้อยที่สุด ให้จำนวนดอกเฉลี่ยรองลงมาจากขี้เลื่อย และยังให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด 


เข้าสู่ระบบ