งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93100
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93065
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92431

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต มะเขือเทศพันธุ์สีดา
ผู้วิจัย ธวัชชัย อารีย์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89396 ครั้ง ดาวน์โหลด 159 ครั้ง

ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดา โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Desing, CRD) ผลการทดลองพบว่า การใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของมะเขือเทศพันธุ์สีดามากที่สุด คือ 56.13 ซม. ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว: ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 39.73 ซม. ในขณะที่การใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยสูงสุดคือ 7.58 ดอก และการใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 5.91ดอก สำหรับจำนวนผลต่อช่อ พบว่า การใช้ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนผลต่อช่อเฉลี่ยสูงที่สุด 5.91 ผล ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 94.67 กรัม ในขณะที่การใช้ วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 57.67 กรัม



การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อย ในการเพาะเห็ดนางฟ้า
ผู้วิจัย กันยา คิละลาย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88987 ครั้ง ดาวน์โหลด 50 ครั้ง

บทคัดย่อ

เรื่อง                       การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า
                              Using Guinea Grass (Panicum maximum) to Substitute Sawdust for

                              Phoenix Oyster  Mushroom (Pleurotus sajor-caju) Production

โดย                        นางสาวกันยา     คิละลาย

ชื่อปริญญา             วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

                 ศึกษาการใช้หญ้ากินนีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุง ๆละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดสั้นที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% หญ้ากินนี 50%รองลงมากลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% หญ้ากินนี25% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% หญ้ากินนี 75%  กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% และกลุ่มทดลองที่ 5 หญ้ากินนี 100% โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 19.1 19.8 19.8 20.9 และ 23.5 วัน ตามลำดับ จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ          กลุ่มทดลองที่ 2  กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 4  และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยที่คือ 6.6 2.9 2.0 1.9 และ1.3 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดนางฟ้ามากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 4 และ กลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 36 34.3 30.2 23.5 และ18.1 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นการใช้หญ้ากินนีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าอัตราส่วนของหญ้ากินนีในวัสดุเพาะที่เหมาะสมคือ ขี้เลื่อย 75%  หญ้ากินนี 25% เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยรองจากการใช้ขี้เลื่อย 100% และระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง

 

คำสำคัญ   เห็ดนางฟ้า หญ้ากินนี ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต

 

 

 



ผลของผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มในการควบคุมมอดแป้ง
ผู้วิจัย นายกรวิทย์ จันสุตะ และ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88533 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                  ผลของผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มในการควบคุมมอดแป้ง

                       Effect of Some Citrus Peel Powder for Red Flour Beetle Control

โดย                   นายกรวิทย์  จันสุตะ

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2557

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์ ดร. สังวาล   สมบูรณ์

 

               ศึกษาประสิทธิภาพของผงบดจากเปลือกพืชตระกูลส้มเพื่อควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 5 กลุ่มทดลอง จำนวน 10 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัวโดยใช้ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้ม  4 ชนิดได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอและชุดควบคุม โดยวิธีการคลุกเมล็ด เปรียบเทียบกับชุดควบคุม ผลการทดลองพบว่า ผงบดจากเปลือกมะกรูดทำให้มอดแป้งตายมากที่สุดที่ 240 ชั่วโมง (10 วัน) คือ 63% รองลงมาได้แก่ผงบดจากเปลือกส้มเขียวหวาน ส้มโอและมะนาวมีการตายของมอดแป้งเท่ากับ 32% 25% และ 19% ในขณะที่ชุดควบคุมมีประสิทธิภาพน้อยที่สุดมีการตายของมอดแป้ง 3% ดังนั้น ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ ผงบดจากเปลือก มะกรูด ซึ่งเปอร์เซ็นต์การตายของมอดแป้งเป็นตัวชี้วัดได้ดีว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มชนิดอื่นๆ

 

คำสำคัญ  เปลือกพืชวงศ์ส้ม ควบคุม มอดแป้ง

 



ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพด พันธุ์เทียนลาย 52
ผู้วิจัย ณัฐพงษ์ ชินทวัน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89057 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพด
พันธุ์เทียนลาย 52
Study of Split Chemical Fertilizer Application on Growth and Yield of Maize ( Zea mays cv.Tian-lai 52 )
โดย นายณัฐพงษ์ ชินทวัน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตรและอัตราปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ทำการทดลองที่แปลงปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง 3 ซํ้า พบว่าการใส่ปุ๋ยอัตรา16-4-8 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ซึ่งเป็นอัตราปุ๋ยสั่งตัด (แบ่งใส่ 4 ครั้ง) มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 35 61 81 114 และ 139 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดความสูงที่ 14 21 35 และ 42 วันหลังงอก ตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05) ส่วนผลผลิตนํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกของการใส่ปุ๋ยอัตรา 30.5-7.5-7.5 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ (แบ่งใส่ 4ครั้ง) ให้ผลผลิตนํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงสุดคือ 1060 กิโลกรัมต่อไร่ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05) ในขณะที่ผลผลิตนํ้าหนักฝักสดปอกเปลือก การใส่ปุ๋ยอัตรา 16-4-8 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง)ให้ผลผลิตสูงสุด 682 กิโลกรัมต่อไร่และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05)


เข้าสู่ระบบ