งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93109
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93067
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92434

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยา บางประการของข้าวเจ้าหอมนิล ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
ผู้วิจัย สิทธิพร ศิริไทย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88349 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง

ศึกษาผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของข้าวเจ้าหอมนิล ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแห้งแล้ง แบ่งเป็น 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับน้าปกติ กลุ่มแล้ง และกลุ่มที่ได้รับการพ่นสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.25, 0.5, 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ ทาการเพาะเมล็ดและปลูกในกระถางบรรจุดินเป็นเวลา 14 วัน งดให้น้า 7 วัน ผลการทดลองพบว่าสภาวะแล้งส่งผลให้การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวหอมนิลลดลง ยกเว้นความยาวราก ส่วนกรดซาลิไซลิกช่วยให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีขึ้นโดยทาให้ความยาวราก น้าหนักสดรากและลาต้น และน้าหนักแห้งลาต้นเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของต้นกล้าข้าวหอมนิล ทั้งนี้จากการทดลองสามารถสรุป ได้ว่ากรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.25 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทาให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด



การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล
ผู้วิจัย สมฤดี จันทมุด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88733 ครั้ง ดาวน์โหลด 42 ครั้ง

                     การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล                                                  Using Guinea Grass (Panicum maximum) to Substitute                                                                                                     Sawdust for  Pink Oyster  Mushroom (Pleurotus djamor) Production                                                                                                                                                                            โดย                                       นางสาวสมฤดี   จันทมุด                                                                                    ชื่อปริญาญา                     วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)                                                                      ปีการศึกษา                  2556                                                                                                  อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

                ศึกษาการใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวลวางแผนการทดลองแบบ Randomized  Complete  Block  Design (RCBD)  แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 5 กลุ่มทดลองๆละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ผลการทดลองพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากิน 25 % และ การใช้ขี้เลื่อย 50 % หญ้ากินนี 50 % มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเฉลี่ยเร็วที่สุด และ มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติคือ 19.40 และ 19.66 วัน ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 25 % หญ้ากินนี 75 % และ การใช้ขี้เลื่อย 100 % มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ย เท่ากับ 21 และ 21.93 วัน ตามลำดับ ใน  ขณะที่ การใช้หญ้ากินนี 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยนานที่สุดคือ 22.80 วัน ส่วนจำนวนดอกเฉลี่ย พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากินนี 25 % มีแนวโน้มให้จำนวนดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ  8.53 ดอก/ถุง  ในขณะที่ การใช้หญ้ากินนี 100% มีจำนวนดอกเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 4.65 ดอก/ถุง   สำหรับ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่า การใช้ ขี้เลื่อย 100% และการใช้ ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากินนี 25 % มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ  41.03 และ 37.16 กรัม/ถุง ตามลำดับ  รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 50 %  หญ้ากินนี 50 % การใช้หญ้ากินนี 100 % และ การใช้ขี้เลื่อย 25 % หญ้ากินนี 75 %  มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 28.67   27.77 และ 25.52  กรัม/ถุง  ตามลำดับ  ดังนั้น อัตราส่วนของหญ้ากินนีที่เหมาะสมในการ เสริม หรือ ทดแทน ขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล คือ หญ้ากินนี  25 %  ขี้เลื่อย 75 %  เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อ  จำนวนดอก และ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด และไม่แตกต่างกันทางสถิติ                    จากการใช้ขี้เลื่อย 100% เป็นวัสดุเพาะ

 



การใช้กกราชินีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม
ผู้วิจัย ปรันยาน์ มณีสร้อย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89015 ครั้ง ดาวน์โหลด 19 ครั้ง

การใช้กกราชินีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม

Using Umbrella Plant(CyperusinvolucratusRottb.)to Substitute Sawdust for Oyster Mushroom (Pleurotusosttreatus (Fr.) Kummer) Production

โดย                       นางสาวปรันยาน์  มณีสร้อย

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2556

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

 

ศึกษาการใช้กกราชินีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง)พบว่า ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 5 (กกราชินีร้อยละ 100)รองลงมาคือ  กลุ่มทดลองที่ 4

(ขี้เลื่อยร้อยละ 25 กกราชินีร้อยละ 75) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อยร้อยละ 100)กลุ่มทดลองที่ 3

(ขี้เลื่อยร้อยละ 50 กกราชินีร้อยละ 50) และกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อยร้อยละ 75 กกราชินีร้อยละ 25) โดยมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดคือ 26 22 2120 และ 20 วัน ตามลำดับส่วนปริมาณดอกต่อถุงมากที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ  กลุ่มทดลองที่ 3กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มทดลองที่ 5 ให้จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยคือ 7.93 6.36 5.33 4.47 และ 2.61 ดอก/ถุง ตามลำดับ และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 4กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 ให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ  64.58 31.56 30.44 29.84 และ 14.67 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนของกกราชินีที่เหมาะสมสำหรับใช้ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรมคือ การใช้กกราชินีร้อยละ 25 ขี้เลื่อยร้อยละ 75 เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเร็วที่สุด และให้ผลผลิตรองมาจากการใช้ขี้เลื่อยร้อยละ 100 เท่านั้นการใช้กกราชินีเสริมในวัสดุเพาะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตเห็ดของเกษตรกรได้เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีมากและหาได้ง่ายในท้องถิ่น

 



ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1
ผู้วิจัย ศรายุทธ สาราญ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88654 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1
Chemical and Organic Fertilizer on Growth and Yield of
Suphan Buri 1 Rice
โดย นายศรายุทธ สาราญ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 โดยทาการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้า ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนรวงต่อต้น น้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยและน้าหนักเมล็ดดี 100 เมล็ดมากที่สุดคือ 93 เซนติเมตร 11.3 รวงต่อต้น 23.00 กรัมต่อต้น และ 3.67 กรัม ตามลาดับ ในขณะเดียวกันก็มี เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 33.0 เปอร์เซ็นต์ และมีดัชนีการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ 0.51 รองลงมา ได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ (20-20-20) ความเข้มข้น 2% อัตรา 1:100 ทุกๆ 14 วัน มีความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนรวงต่อต้น เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย และดัชนีการเก็บเกี่ยว ปานกลางคือ 91 เซนติเมตร 10.7 รวงต่อต้น 35.0 เปอร์เซ็นต์ 21.00 กรัมต่อต้น และ 0.51 ตามลาดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมักด้วยแหนแดง มีค่าดัชนีตัวชี้วัดปานกลาง แต่ในระยะยาวจะทาให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชอย่างยั่งยืน
คาสาคัญ ข้าว สุพรรณบุรี 1 ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยทางใบ


ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก


เข้าสู่ระบบ