งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93100
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93065
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92431

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข้าวพันธุ์กข 33
ผู้วิจัย สุกัญญา คำศิริ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88962 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง

การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

                                  ข้าวพันธุ์กข 33

                                  A Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of

                                  RD33 Rice

โดย              นางสาวสุกัญญา   คำศิริ                    

ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                2556

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์โดม  หาญพิชิตวิทยา                             

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์กข 33 (หอมอุบล 80)ได้ทำการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบCRD มี 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ (20-20-20) ความเข้มข้น 2% ทุกๆ7 วัน มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากให้จำนวนรวงต่อต้น น้ำหนักผลผลิต และน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด มากที่สุกคือ 11 รวงต่อต้น 24.33 กรัม/ต้น และ 3.33 กรัม ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 36% และมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลางคือ 136 ซม. รองลงมาได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 143 ซม. และ มีจำนวนรวงต่อต้น เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด ปานกลางคือ 10.3 รวงต่อต้น 37.7% 21.67 กรัม/ต้น และ 3.13 กรัม ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมักด้วยแหนแดง มีค่าดัชนีตัวชี้วัดปานกลาง



การชักนำเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสในอ้อยสายพันธุ์สุพรรณบุรี 50
ผู้วิจัย นายทศพล คำมุงคุล | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88848 ครั้ง ดาวน์โหลด 26 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                     การชักนำเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสในอ้อยสายพันธุ์สุพรรณบุรี 50

Regeneration of Embryogenic Callus in Sugarcane Varieties

Suphanburi 50

โดย                      นายทศพลคำมุงคุล

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2556

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

 

ศึกษาอิทธิพลของ 2,4-D ที่มีผลต่อการสร้างแคลลัสของอ้อยสุพรรณบุรี 50ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยวางแผนการทดลองแบบRandomized Complete Block Design(RCBD)แบ่งการทดลองออกเป็น6 กลุ่มทดลองๆ ละ3 ซ้ำๆละ 5 ชิ้นส่วน ผลการทดลองพบว่าอาหารสังเคราะห์สูตร MS ร่วมกับ 2,4-D 2 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถพัฒนาให้เกิดแคลลัสมากที่สุดเฉลี่ย 5.0 แคลลัสรองลงมาได้แก่อาหารสังเคราะห์สูตร MS ร่วมกับ 2,4-D1 มิลลิกรัมต่อลิตรMS ร่วมกับ2,4-D 3มิลลิกรัมต่อลิตรMS ร่วมกับ 2,4-D 4 มิลลิกรัมต่อลิตรและ MS ร่วมกับ 2,4-D 5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยสามารถพัฒนาแคลลัสที่ 2.3, 2.0, 1.7 และ 1.7 แคลลัสตามลำดับส่วนสูตรอาหาร MS ที่ไม่เติม 2,4-Dไม่สามารถชักนำให้เกิดการพัฒนาแคลลัสได้



ศึกษาชนิด การเข้าทำลาย และการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอ
ผู้วิจัย บุษบง มนัสมั่นคง และ ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา | ปีที่พิมพ์ 2553 | อ่าน 88405 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

การศึกษาชนิด การเข้าทำลาย และการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอ ทำการศึกษาในส้มโอพันธุ์ท่าข่อย ทองดี และขาวแตงกวาของเกษตรกร อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โดยการสำรวจการทำลายบนต้น และเก็บผลส้มโอในระยะต่าง ๆ คือ ก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน 1 เดือน 21 วัน 14 วัน 7 วัน และในระยะเก็บเกี่ยว ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2551 – กันยายน 2553 ผลการสำรวจในส้มโอพันธุ์ท่าข่อยจำนวน 37,408 ผล พบการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ 673 ผล ทำการเก็บผลใส่ถาดคลุมด้วยถุงตาข่าย วางไว้ในห้องอุณหภูมิปกตินาน 7 – 10 วัน นำผลมาผ่าตรวจดูเมื่อพบหนอนเก็บเลี้ยงจนเป็นตัวเต็มวัย พบแมลงวันผลไม้ 2 ชนิด คือ Bactrocera dorsalis และ B. correcta ในอัตราส่วน 10:1 เฉพาะพันธุ์ท่าข่อย ส่วนการสำรวจในส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาและทองดีจำนวน 6,258 และ 14,379 ผล ตามลำดับ ไม่พบการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้บนผลส้มโอ ซึ่งการทดสอบการทำแผลบนผลส้มโอ ก็ไม่พบการวางไข่ของแมลงวันผลไม้บนผลปกติของส้มโอทั้ง 2 พันธุ์นี้เช่นกัน แต่หากมีแผลลึกถึงเนื้อส้มโอแมลงวันผลไม้สามารถวางไข่และเจริญเติบโตได้ใน ส้มโอทั้ง 3 พันธุ์ ส่วนการทดสอบการใช้เหยื่อพิษในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอพันธุ์ท่า ข่อยพบว่า สามารถลดการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้บนผลส้มโอลงได้ โดยในแปลงที่พ่นเหยื่อพิษ พบผลถูกทำลาย 0 – 16.66% เฉลี่ย 3.84 ในแปลงไม่พ่นเหยื่อพิษพบผลส้มโอถูกทำลาย 5.98 – 39.29% เฉลี่ย 18.17 วิธีการคือ พ่นยีสต์โปรตีนออโตไลเซทผสมสาร malathion 57% EC อัตรา 200 มิลลิลิตร + 20 มิลลิลิตร ผสมน้ำจนครบ 5 ลิตร ทุก 7 วัน เมื่อผลส้มโออายุ 5 เดือน จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน โดยพ่นภายในทรงพุ่มใต้ใบ ความสูงระดับประมาณ 100 – 150 ซม. จากพื้นดิน พ่นเป็นจุด 4 จุด/ต้น จุดละ 30 มิลลิลิตร เป็นวงกลมรัศมีประมาณ 0.5 ม. โดยควรพ่นในเวลาเช้าตรู่ เริ่มพ่นล่วงหน้าประมาณ 30 วันก่อนแมลงเข้าทำลาย และสามารถพ่นเหยื่อพิษดังกล่าวบนพืชชนิดอื่น ๆ ที่อยู่รอบแปลงที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันแมลงวันผลไม้ จุดที่พ่นเหยื่อควรเป็นจุดที่อยู่ในร่มเงาและไม่ถูกแสงแดดจัด จึงจะมีประสิทธิภาพดีในการดึงดูดแมลงวันผลไม้



การใช้ลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล
ผู้วิจัย ศิริภรณ์ เครือแสง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88435 ครั้ง ดาวน์โหลด 37 ครั้ง

การใช้ลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล                         

                                    Using Chopped Corn Stalk to Substitute Sawdust for                                                              Pink Oyster Mushroom (Pleurotus  djamor) Production

โดย                              นางสาวศิริภรณ์  เครือแสง

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

 

                           ศึกษาการใช้ลำต้นข้าวโพดสับทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวลโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)  แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ผลการทดลองพบว่า การใช้ขี้เลื่อย              75 % ลำต้นข้าวโพดสับ 25% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุด คือ 20  วัน รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 50 % ลำต้นข้าวโพดสับ 50 % การใช้ขี้เลื่อย 100%  การใช้ขี้เลื่อย 25 % ลำต้นข้าวโพดสับ 75% และการใช้ลำต้นข้าวโพดสับ 100 %  มีระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเฉลี่ยเท่ากับ 21.86 21.98  22.66 และ 25.53 วัน ตามลำดับ ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย พบว่า  การใช้ขี้เลื่อย 75 %  ลำต้นข้าวโพดสับ 25%  มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 9.91 ดอก/ถุง รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ลำต้นข้าวโพดสับ  100%  การใช้ขี้เลื่อย         25 %  ลำต้นข้าวโพดสับ  75%  และการใช้ขี้เลื่อย 50 %  ลำต้นข้าวโพดสับ 50 %  มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 8.22 6.37 5.11 และ 5.02 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่าการใช้ขี้เลื่อย 100% มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 41.03 กรัม/ถุง รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 75 % ลำต้นข้าวโพดสับ 25% การใช้ลำต้นข้าวโพดสับ 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50 % ลำต้นข้าวโพดสับ 50 % การใช้ขี้เลื่อย  25  % ลำต้นข้าวโพดสับ  75 %  มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 32.98  27.82  25.67 และ 22.10 กรัม/ถุง  ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนของลำต้นข้าวโพดสับเพื่อใช้ทดแทนขี้เลื่อยที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดนางนวล คือ การใช้ขี้เลื่อย 75 % ร่วมกับลำต้นข้าวโพดสับ 25 % เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดเฉลี่ยเร็วที่สุด มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด และมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยรองลงมาจากการใช้ขี้เลื่อย 100 %

 


เข้าสู่ระบบ