งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93120
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93076
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92439

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาความสามารถการย่อยได้ของอาหารสำเร็จรูปในสุกรรุ่นพื้นเมือง
ผู้วิจัย ปวีณา ศักดาวงศ์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89916 ครั้ง ดาวน์โหลด 2 ครั้ง



ผลการใช้มันสำปะหลังหมักยีสต์ในอาหารแม่โครีดนม
ผู้วิจัย จตุรพร ผิวจันทร์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88603 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ต
ผู้วิจัย นายชุติพนธ์ ทิมา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88938 ครั้ง ดาวน์โหลด 47 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                    การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี                            

                           ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ต

                           Comparison of Chemical and Liquid Biostimulant Fertilizer     

                           Efficiency On Growth and Yield of Hybrids Radish var.  White                  

                           Rocks Kate

โดย                     นายชุติพนธ์  ทิมา

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน  

 

            ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ตวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete  Block  Design  (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 100 ต้น โดยเตรียมแปลงขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัว เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยต่อหัว และผลผลิตเกรด A มากที่สุด คือ 672.67 กรัมต่อหัว 7.40 เซนติเมตร และ 88.33 % ตามลำดับ และมีความยาวเฉลี่ยของหัวปานกลาง คือ 21.43 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 รวมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว

มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 32.73 เซนติเมตร และมีค่าน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัวเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหัว และผลผลิตเกรด A ปานกลาง คือ 612.33 กรัมต่อหัว 6.60 เซนติเมตรและ 71.66 %ในขณะที่การปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีค่าดัชนีตัวชี้วัด เกือบทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นหากต้องการปลูกผักกาดหัวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแนะนำให้ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว เนื่องจาก ทุกดัชนีชี้วัด ยกเว้นความสูงและความยาวเฉลี่ยของผล มีค่ารองลงมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 



การพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบ
ผู้วิจัย พัชรา สังขฤกษ์ และ สมฤดี แท่นคำ | ปีที่พิมพ์ 2554 | อ่าน 90760 ครั้ง ดาวน์โหลด 115 ครั้ง

การพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบนั้น ได้ดำเนินการตามหลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์     คือทำการสำรวจตลาด สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค สร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบที่มีลักษณะเทียบเคียงกันมันฝรั่งทอดกรอบ โดยได้ศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการลวกมันสำปะหลังที่มีผลต่อคุณลักษณะด้านสีและเนื้อสัมผัสของมันสำปะหลังทอดกรอบโดยใช้ระยะเวลาในการลวก 0 30 60 และ 90 วินาที ที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส และทอดที่อุณหภูมิ 170±5 องศาเซลเซียส โดยวิเคราะห์คุณภาพทางด้านกายภาพและเคมี ได้แก่ค่าสี L*   a* และ b* และลักษณะเนื้อสัมผัส   ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาในการลวกที่ 90 วินาทีจะได้ค่าสี L* และ b* ที่ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดกรอบที่วางขายในท้องตลาด ระยะเวลาในการลวกมันสำปะหลังที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อต่อคุณลักษณะด้านเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบอย่างมีนัยสำคัญ(P≤0.05) ระยะเวลาในการลวกที่ 90 วินาที จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์สำปะหลังทอดกรอบ มีความกรอบมากที่สุดคือ 2.19 (นิวตัน) การวิเคราะห์ปริมาณไขมันของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบ พบว่าระยะเวลาที่กันในการลวกมันสำปะหลังมีผลต่อปริมาณไขมันซึ่งระยะเวลาในการลวกเพิ่มขึ้นมันสำปะหลังที่มีปริมาณการดูดซับน้ำมันน้อยและระยะการลวกที่ 90 วินาที จะดูดซับน้ำมันน้อยที่สุดคือ 17.82% การประเมินด้านประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบ พบว่า ความชอบต่อสี ความชอบต่อกลิ่น ความชอบต่อรสชาติ ความชอบต่อเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบพบว่าระยะเวลาการลวกที่ 90 วินาที เหมาะสมที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทอดกรอบให้มีลักษณะเทียบเคียงมันฝรั่งทอดกรอบที่วางขายในท้องตลาดมากที่สุด


เข้าสู่ระบบ