งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93117
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93075
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92437

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกาะตัวของแป้งกับชิ้นกล้วยในผลิตภัณฑ์ กล้วยแขกกึ่งสำเร็จรูปกระบวนการ Non pre-frying ก่อนการแช่เยือกแข็ง
ผู้วิจัย กนกภรณ์ สุภเสถียร และ สมฤทัย จันทร์สมัคร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89760 ครั้ง ดาวน์โหลด 20 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างแป้งข้าวเจ้าต่อแป้งมันสำปะหลังที่แตกต่างกัน 3 ระดับคือ 1:0 1:0.3 และ 1:1 และลักษณะผิวสัมผัสของชิ้นกล้วย 3 ลักษณะได้แก่ ผิวเรียบผิวหยัก และผิวขรุขระที่มีผลต่อร้อยละการเกาะติดของลักษณะบ่งชี้คุณภาพกล้วยแขกพบว่า สูตร 1:0 ให้ค่าความหนืดสูงสุดรองลงมาคือ 1:0.3 และ 1:1 ตามลำดับ โดยให้ค่าความหนืดเป็น 5574.43 cP 403.72 cPและ 221.84 cPตามลำดับ ความหนืดไม่มีผลต่อร้อยละการเกาะติด ผิวสัมผัสที่มีลักษณะขรุขระที่เกิดจากการรวมตัวของแป้งคลุกซึ่งดูดซับความชื้นจากผิวของชิ้นกล้วยจะให้ร้อยละการเกาะติดสูงที่สุดคือ ร้อยละ 57.27 ในขณะที่ผิวหยักและผิวเรียบให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ต
ผู้วิจัย นายชุติพนธ์ ทิมา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88936 ครั้ง ดาวน์โหลด 47 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                    การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี                            

                           ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ต

                           Comparison of Chemical and Liquid Biostimulant Fertilizer     

                           Efficiency On Growth and Yield of Hybrids Radish var.  White                  

                           Rocks Kate

โดย                     นายชุติพนธ์  ทิมา

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน  

 

            ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ตวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete  Block  Design  (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 100 ต้น โดยเตรียมแปลงขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัว เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยต่อหัว และผลผลิตเกรด A มากที่สุด คือ 672.67 กรัมต่อหัว 7.40 เซนติเมตร และ 88.33 % ตามลำดับ และมีความยาวเฉลี่ยของหัวปานกลาง คือ 21.43 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 รวมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว

มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 32.73 เซนติเมตร และมีค่าน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัวเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหัว และผลผลิตเกรด A ปานกลาง คือ 612.33 กรัมต่อหัว 6.60 เซนติเมตรและ 71.66 %ในขณะที่การปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีค่าดัชนีตัวชี้วัด เกือบทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นหากต้องการปลูกผักกาดหัวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแนะนำให้ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว เนื่องจาก ทุกดัชนีชี้วัด ยกเว้นความสูงและความยาวเฉลี่ยของผล มีค่ารองลงมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 



อิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ
ผู้วิจัย สมฤทัย สายลุน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89498 ครั้ง ดาวน์โหลด 95 ครั้ง

อิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline  Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ

Effect of Heiter and 8 – Hydroxyquinoline Sulfate on Vase Life  of

ChrysanthemumFlowers ( Dendranthemum  grandifflora )

โดย                       นางสาวสมฤทัย  สายลุน

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต  ( เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2556

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ดร. สุจิตรา  สืบนุการณ์

ศึกษาอิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline  Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 X 7 Factorial  in  Completely Randomized  Design มี 2 ปัจจัย คือ 1. ความเข้มข้นของ Heiter มี 4 ระดับ ได้แก่ a1 = 0 %, a2 = 1 %,  a3= 2 %และa4 = 3% และ 2. ความเข้มข้นของ 8 – hydroxyquinoline sulfate   มี 7 ระดับ ได้แก่ b1 = 0 ppm  b2  = 150 ppm b3 = 200 ppm b4 = 250 ppm  b5 = 300 ppm                 b6 = 350 ppm และ b7= 400 ppm รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลอง ผลการทดลองพบว่า  การใช้น้ำกลั่นหรือการปักแจกันในสารละลาย 8 – HQS 150 ppm เพียงอย่างเดียวสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยของดอกเบญจมาศได้นาน 8 วัน และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แสดงว่าการใช้สารละลายไฮเตอร์ ร่วมกับ 8 – HQS ไม่สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศได้ ดอกเบญจมาศมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยเพียงแค่ 5 – 8 วัน เท่านั้น ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างจากการปักแจกันในน้ำกลั่น คือ 8 วัน แต่การใช้สารละลาย ไฮเตอร์ 1% ร่วมกับ 8 – HQS300 ppm  สามารถลดการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยมีการเน่า หรือการเกิดสีเหลืองของโคนก้านดอกน้อยที่สุดคือ 0.05 ซม. และมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยปานกลางคือ 7 วัน

 



การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต มะเขือเทศพันธุ์สีดา
ผู้วิจัย ธวัชชัย อารีย์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89403 ครั้ง ดาวน์โหลด 159 ครั้ง

ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดา โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Desing, CRD) ผลการทดลองพบว่า การใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของมะเขือเทศพันธุ์สีดามากที่สุด คือ 56.13 ซม. ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว: ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 39.73 ซม. ในขณะที่การใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยสูงสุดคือ 7.58 ดอก และการใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 5.91ดอก สำหรับจำนวนผลต่อช่อ พบว่า การใช้ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนผลต่อช่อเฉลี่ยสูงที่สุด 5.91 ผล ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 94.67 กรัม ในขณะที่การใช้ วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 57.67 กรัม


เข้าสู่ระบบ