งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93098
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93060
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92430

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของบร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA159
ผู้วิจัย ธรรมโรจน์ บัวแก้ว | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89500 ครั้ง ดาวน์โหลด 49 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการ
เจริญเติบโตและผลผลิตของบร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA159
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on
Growth and Yield of New 29 A TA159 Broccoli Variety
โดย นายธรรมโรจน์ บัวแก้ว
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของบร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA 159 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้าๆ ละ 60 ต้น ขนาดแปลง 1X10 เมตร ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมี (อัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง) มีประสิทธิภาพมากที่สุด มีความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนใบเฉลี่ย น้าหนักดอกรวมก้านเฉลี่ยต่อต้น น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยรวมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ผลผลิต เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของดอก และเกรด B มากที่สุด คือ 32.29 เซนติเมตร 10.54 ใบต่อต้น 458.93 กรัม 14.31 กิโลกรัมต่อแปลง 70.00 เปอร์เซ็นต์ 6.15 นิ้ว และ 73.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ รองลงมาได้แก่ ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับน้าหมักมูลไก่ (อัตรา 1 ลิตรต่อน้า 20 ลิตร) ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนใบเฉลี่ย น้าหนักดอกเฉลี่ยต่อต้น น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยรวมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ผลผลิต เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของดอก และเกรด B ของบร็อคโคลี เท่ากับ 20.73 เซนติเมตร 10.02 ใบต่อต้น 106.90 กรัม 1.42 กิโลกรัมต่อแปลง 17.78 เปอร์เซ็นต์ 2.94 นิ้ว และ 23.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ในขณะที่ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับน้าหมักเปลือกผลไม้ (อัตรา 10 ซีซี ต่อน้า 20 ลิตร) ไม่แนะนาให้ใช้ในการปลูกบร็อคโคลี เนื่องจากไม่สามารถส่งเสริมให้บร็อคโคลีเกิดดอกหรือผลผลิตได้ และต้นมีการเจริญเติบโตน้อยที่สุด
คาสาคัญ บร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA159 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักอินทรีย์



อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของข้าว ขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย สุภาวดี ทองลี | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88226 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของข้าว
ขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Chemical and Organic Fertilizer Rates on Growth and Yield of
KDML 105 Rice in Warinchamrab District,
Ubonratchathani Province
โดย นางสาวสุภาวดี ทองลี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา
การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จานวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้า ขนาดแปลงทดลอง 2x5 เมตร จานวน 15 แปลงย่อย ผลการทดลองพบว่า
การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่และสูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านเมื่อต้นข้าวอายุ 30 วัน และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ในระยะกาเนิดช่อดอก มีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนรวงต่อตารางเมตร น้าหนักผลผลิตเฉลี่ย และดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงที่สุดคือ 129 เซนติเมตร 278 รวงต่อตารางเมตร 347 กิโลกรัมต่อไร่ และ 0.53 ตามลาดับ นอกจากนี้ยังมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุด 6 เปอร์เซ็นต์ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p= 0.01) รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่หว่านก่อนหว่านข้าว กับ ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 6กิโลกรัมต่อไร่และสูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน และปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวอยู่ในระยะกาเนิดช่อดอก มีความสูงเฉลี่ย จานวนรวงต่อตารางเมตร น้าหนักผลผลิตเฉลี่ย ดัชนีการเก็บเกี่ยว และเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ เท่ากับ 122 เซนติเมตร 244 รวงต่อตารางเมตร 294 กิโลกรัมต่อไร่ 0.52 และ 9 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์
ดินช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นและยังช่วยลดปัจจัยการผลิตด้านปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คาสาคัญ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกมูลวัว



ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1
ผู้วิจัย ศรายุทธ สาราญ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88644 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1
Chemical and Organic Fertilizer on Growth and Yield of
Suphan Buri 1 Rice
โดย นายศรายุทธ สาราญ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 โดยทาการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้า ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนรวงต่อต้น น้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยและน้าหนักเมล็ดดี 100 เมล็ดมากที่สุดคือ 93 เซนติเมตร 11.3 รวงต่อต้น 23.00 กรัมต่อต้น และ 3.67 กรัม ตามลาดับ ในขณะเดียวกันก็มี เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 33.0 เปอร์เซ็นต์ และมีดัชนีการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ 0.51 รองลงมา ได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ (20-20-20) ความเข้มข้น 2% อัตรา 1:100 ทุกๆ 14 วัน มีความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนรวงต่อต้น เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย และดัชนีการเก็บเกี่ยว ปานกลางคือ 91 เซนติเมตร 10.7 รวงต่อต้น 35.0 เปอร์เซ็นต์ 21.00 กรัมต่อต้น และ 0.51 ตามลาดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมักด้วยแหนแดง มีค่าดัชนีตัวชี้วัดปานกลาง แต่ในระยะยาวจะทาให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชอย่างยั่งยืน
คาสาคัญ ข้าว สุพรรณบุรี 1 ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยทางใบ


ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก



การเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ
ผู้วิจัย นิตยา พรมบู่ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 90836 ครั้ง ดาวน์โหลด 158 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                        การเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ  

                               Cultivation ofHypsizygus marmoreus (Peck)in Different 

                               Substrates

โดย                         นางสาวนิตยา พรมบู่

ชื่อปริญญา                วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                 2557

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

 

            

            ศึกษาการเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)  แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ

5 ตะกร้า โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ฟางข้าว (Control) กลุ่มทดลองที่ 2 ต้นกล้วยสับ กลุ่มทดลองที่ 3 หญ้าคา และกลุ่มทดลองที่ 4 หญ้าแฝก พบว่า การใช้ฟางข้าว มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกน้อยที่สุด คือ 16.40 วัน รองลงมาได้แก่ การใช้หญ้าแฝก หญ้าคา และต้นกล้วยสับ มีระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 16.63 18.83 และ 20.00 วัน ตามลำดับ ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย พบว่า  การใช้ต้นกล้วยสับมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 28.56 ดอกต่อตะกร้า รองลงมาได้แก่ การใช้ฟางข้าว หญ้าคา และหญ้าแฝก มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 26.40 14.43 และ 14.43 ดอกต่อตะกร้า ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่าการใช้ต้นกล้วยสับมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 53.66 กรัมต่อตะกร้า รองลงมาได้แก่ การใช้ฟางข้าว หญ้าแฝกและหญ้าคา มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 50.00 29.00 และ 26.33 กรัมต่อตะกร้า ตามลำดับ ดังนั้นวัสดุที่เหมาะสมต่อการเพาะเห็ดโคนน้อยทดแทนฟางข้าว คือ ต้นกล้วยสับเนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด ถึงแม้จะใช้ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุดแต่ถือว่าคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

คำสำคัญ   เห็ดโคนน้อย ฟางข้าว ต้นกล้วย และผลผลิต


เข้าสู่ระบบ