งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93074
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93041
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92414

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2ในพื้นที่อำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย ธนารัตน์ คำสุข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88525 ครั้ง ดาวน์โหลด 59 ครั้ง

ศึกษาผลของปุ๋ยสั่งตัดและปุ๋ยอินทรีย์ ในข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ในแปลงเกษตรกร พื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มีจำนวน 6 กลุ่มทดลอง3 ซ้ำ พบว่า ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15.3-3.8-3.8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ความสูงเฉลี่ยของข้าวโพดสูงที่สุดคือ37 92 179 และ 184 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดความสูงที่ 15 30 45 และ 60 วันตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.01) ส่วนน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก พบว่า มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 8.3-0.7-4.6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 30.5-7.5-7.5 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่และการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 19.5-8-4 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ และปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นการใส่ปุ๋ยแบบเกษตรกรในพื้นที่ให้น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 มีค่าสูงที่สุด ในขณะที่การไม่ใส่ปุ๋ยมีน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกน้อยที่สุด คือ 228 กิโลกรัมต่อไร่



ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2
ผู้วิจัย ธีระโชติ ขูลีลัง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88855 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง

ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์             ซุปเปอร์ฮอท2
                            Effect of  Wild Spikenard Bush-Tea  Extracted on Growth and Yield of                        Super-Hot 2 Bird Chilli

โดย                  นายธีระโชติ  ขูลีลัง

ชื่อปริญญา       วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา       2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ประภัสสร  น้อยทรง

 

ศึกษาผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท2ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถางพบว่าการใช้สารสกัดแมงลักคา อัตราส่วน 1:1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2 เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด มีความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ยปานกลาง แต่มีจำนวนวันออกดอกเร็ว และมีจำนวนผลผลิตเฉลี่ย และความยาวเฉลี่ยของผลพริก ในการเก็บเกี่ยวพริก ชุดที่ 1 น้ำหนักผลสดปานกลาง คือมีค่า เท่ากับ 25.83 ซม.17.85 ซม.35.11 วัน 10.33 ผล ต่อต้น 4.06 ซม.6.07 กรัม ตามลำดับ แต่ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่มากขึ้น หรือมีความเข้มข้นของแมงลักคาเพิ่มขึ้น พบว่า การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การไม่พ่นสารสกัดแมงลักคา มีความสูงเฉลี่ยของต้น และความกว้างของทรงพุ่มปานกลาง คือ 23.60 ซม.และ 18.60 ซม. ตามลำดับ และมีแนวโน้มใช้เวลาในการออกดอกนานกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้สารสกัดแมงลักคาฉีดพ่น ส่วนด้านผลผลิต การเก็บเกี่ยวชุดที่ 1 จะมีจำนวนผลผลิตน้อยที่สุด (4 ผล/ต้น) แต่หลังจากนั้น จำนวนผลผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น และมีนำหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด

(9.43 กรัม) แต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองที่ฉีดพ่นด้วยสารสกัดแมงลักคา

 



การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง
ผู้วิจัย นิตยา มูลรัตน์ และ สุรณีย์ ท้องที่ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 93074 ครั้ง ดาวน์โหลด 356 ครั้ง

ปฏิกิริยาสีน้้าตาลในผักและผลไม้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่พืชถูกท้าลาย จากการปอกเปลือกหรือตัดแต่ง ซึ่งจะท้าให้เอนไซม์ PPO (Polyphenol Oxidase) ในเนื้อเยื่อและ substrate รวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ท้าให้เกิดปัญหาที่ส้าคัญและเป็นตัวก้าหนดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปขั้นต่้า ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิธีการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้้าตาล โดยใช้สารธรรมชาติ ราคาถูก หาง่าย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค งานวิจัยนี้ได้ท้าการศึกษา ความเข้มของสารละลาย Sodium Chloride (NaCl) และระยะเวลาที่ใช้แช่แอปเปิลตัดแต่งที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นที่ศึกษา คือ NaCl 0.25g/l, 0.5g/l, 1g/l ระยะเวลาในการแช่ 1, 3 และ 5 นาที เพื่อเปรียบเทียบกับการแช่แอปเปิลตัดแต่งใน Citric acid ที่มีผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง โดยวิเคราะห์ค่าทางกายภาพและจุลินทรีย์ ได้แก่ ค่าความสว่าง (L) ค่าความแน่นเนื้อ (Firmness) จ้านวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด(TPC) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อแช่แอปเปิลตัดแต่งในสารละลาย NaCl 1g 5 นาที มีค่าความสว่าง (L) สูงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (79.64 - 75.88) ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยส้าคัญ (P≤0.05) กับตัวอย่างที่แช่ใน Citric acid ส่วนค่าความแน่นเนื้อเมื่อแช่ในแอปเปิลตัดแต่งสารละลาย NaCl ที่มีความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น ท้าให้ค่าความแน่นเนื้อลดลงแสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของ NaCl มีผลต่อความแน่นเนื้อของแอปเปิลตัดแต่ง การศึกษาด้านจุลินทรีย์ในแอปเปิลตัดแต่ง พบว่า จ้านวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บรักษาทั้งตัวอย่างที่ผ่านการแช่ใน NaCl และกรดซิตริก การประเมินคุณลักษณะทางด้านประสาทสัมผัสของแอปเปิลตัดแต่ง ด้านความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิลตัดแต่งที่แช่ใน Citric acid (P>0.05)



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู
ผู้วิจัย จิรพงษ์ หงษ์คำ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91052 ครั้ง ดาวน์โหลด 206 ครั้ง

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆต่อการ                                                เจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
                                    Comparison  of  Organic  Fertilizer  Efficiency  on  Growth and                                  Yield of Tomato var. Seeda ‘phedchompoo F1

โดย                              นายจิรพงษ์  หงษ์คำ

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน

 

               งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ  ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 และเพื่อให้ทราบถึงชนิดของ
ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 โดยวางแผนการทดลองแบบ  RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆละ 12 ต้น ดังนั้นกลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยน้ำหมักจากเศษผัก กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยน้ำหมักมูลไส้เดือน ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิต
มะเขือเทศสีดาเพชรชมพู F1 ได้ เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น ขนาดผลเฉลี่ย ผลเกรด C หรือ รหัส 3 และความแน่นเนื้อเฉลี่ยของผลมากที่สุด คือ  61.47 เซนติเมตร 27 ผลต่อต้น 34.3 mm. 95.56% และ 3.34 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำครับ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ทำให้มีน้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด คือ 19.23 กรัม รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักมลูสกร ให้น้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด ไม่แตกต่างทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยหมัก
โบกาฉิ คือ 18.96 กรัม และมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น ขนาดของผลสดเฉลี่ย  และผลเกรด C หรือ รหัส 3 อยู่ในระดับปานกลาง คือ 56.39 เซนติเมตร 33.3 mm. และ 64.44 % ตามลำดับ และยังมีแนวโน้มให้ผลเกรด B หรือ รหัส 2 มากที่สุด คือ 22.22% ส่วน %TSS ไม่มีความแตกต่างทางสถิติมีค่าอยู่ระหว่าง 5.50-5.67 °Brix

 


เข้าสู่ระบบ