งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93098
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93060
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92430

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การย่อยได้ของใบตองหมักกากน้ำตาลโดยใช้เทคนิคถุงไนล่อน
ผู้วิจัย ชินวัฒน์ ชูรัตน์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88752 ครั้ง ดาวน์โหลด 16 ครั้ง



ผลของตัวทำละลายและอุณหภูมิที่มีต่อประสิทธิภาพการสกัด สารให้ความหวานจากหญ้าหวาน
ผู้วิจัย เยาวภา กลมพันธ์ และ อนุพงษ์ บุญทัน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91818 ครั้ง ดาวน์โหลด 241 ครั้ง

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัดที่มีผลต่อ %TSS และค่าสีL* a* b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน โดยแปรค่อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำในสัดส่วนที่แตกต่างกัน คือ 1:20 (w/v) 1:30 (w/v)และ 1:40 (w/v) และแปรอุณหภูมิการสกัดที่50 60 และ 70 ºC ระเหยที่อุณหภูมิ 80 ºC เป็นเวลา2 3 และ4 ชั่วโมง ตามลำดับ วัด % TSS และวัดค่าสี L* a* b* และศึกษาความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสและเติมสารสกัดจากหญ้าหวาน เพื่อทดสอบหาความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ จากการวิจัยพบว่า อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัด สกัดได้โดยมีค่าของแข็งที่ละลายน้ำอยู่ระหว่าง3.00ºBrix เมื่อผ่านการระเหยพบว่ามีค่าของแข็งที่ละลายน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 3.00–6.06ºBrix ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การวัดค่าสี L*a*b* อัตราส่วนหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ ที่แตกต่างกันมีผลทำให้ค่าสี L*a*b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวานแตกต่างกัน อุณหภูมิที่แตกต่างกันในการสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน มีผลทำให้ค่าสี L*a*b*แตกต่างกัน และการประเมินความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสตามท้องตลาดและเติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวานเพื่อประเมินความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยพบว่า น้ำเก๊กฮวยที่เติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน จำนวนผู้ทดสอบ 30 คน โดยผู้ทดสอบทั้ง 30 คน ตอบว่าแตกต่างกัน



ผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืน ของน้ำมันถั่วเหลือง
ผู้วิจัย ธนิดา แก่นวงษ์ และ ปวีณา วงศ์ศรีทา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89799 ครั้ง ดาวน์โหลด 57 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง โดยเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูล-อิสระ จากการทดลองพบว่า สารสกัดจากเปลือกมะม่วงมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 1,823.45 ไมโครกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรสารสกัด ซึ่งมีปริมาณมากกว่าสารสกัดใบย่านางที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 957.52 ไมโครกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรสาร-สกัด สารสกัดจากเปลือกมะม่วงมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ มีค่าเท่ากับ 93.78 % Inhibition ซึ่งมีกิจ- กรรมการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าสารสกัดใบย่านาง มีค่าเท่ากับ 81.90 % Inhibition ทำการศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง ปริมาณ สารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อน้ำมันถั่วเหลืองที่แตกต่างกัน 2 ระดับ คือ 20:200 และ 100:200 วิเคราะห์ค่าเปอร์ออกไซด์และค่าโพลาร์ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 วัน เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อค่าเปอร์ออกไซด์ของน้ำมันถั่วเหลือง ได้แก่ ชนิดน้ำมัน ชนิดสารสกัด อัตราส่วน ระยะเวลาการเก็บรักษา และยังมีปัจจัยร่วมที่มีผลต่อการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง ได้แก่ ชนิดน้ำมันมีผลร่วมกับอัตราส่วน ชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา ชนิดน้ำมันมีผลร่วม กับระยะเวลาการเก็บรักษาชนิดน้ำมัน และชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับอัตราส่วน ชนิดน้ำมันและชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา ชนิดสารสกัดและอัตราส่วนมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา นอกจากนี้สารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้มสามารถชะลอ การเกิดเปอร์ออกไซด์ที่ดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 17.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม รองลงมาคือสารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 100:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้ม มีค่าเท่ากับ 20.67 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม และสารสกัดเปลือกมะ- ม่วงอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้ม  มีค่าเท่ากับ 21.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม สารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ต้มสามารถชะลอการเกิดเปอร์ออกไซด์ได้ดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 28.67 มิลลิกรัม-สมมูลย์ต่อกิโลกรัม รองลงมาคือสารสกัดเปลือกมะม่วงอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ต้ม มีค่าเท่ากับ 31.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม และสารสกัดเปลือกมะม่วงอัตราส่วน 100:200 มีค่าเท่ากับ 36.00 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม สารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางทุกอัตราส่วน สามารถชะลอการเกิดกลิ่นหืนได้ในน้ำมันที่ต้มและน้ำมันที่ไม่ต้มไม่แตกต่างกัน ค่าโพลาร์มีค่าน้อยกว่า 20 % ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 25 จึงเหมาะแก่การบริโภค



อัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์ อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
ผู้วิจัย นายศิริศักดิ์ แซ่โชว์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88273 ครั้ง ดาวน์โหลด 16 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                อัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์ 

                      อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)

                      Chemical Fertilizers Rates on Growth and Yield of   

                      Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)

โดย                 นายศิริศักดิ์    แซ่โชว์

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2558

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา  

 

   การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบและผลผลิตถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 4

กลุ่มทดลอง 1.) ไม่ใส่ปุ๋ย 2.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง) 4.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 3 ซ้ำ พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1) ดีกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี และอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 4) เนื่องจากต้นถั่วพุ่มมีความสูงเฉลี่ยของต้น ผลผลิตมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ด มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 64 เซนติเมตร 802 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 18 เมล็ดต่อฝัก และ 291 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และมีค่าแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง รองลงมาได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง) (กลุ่มทดลองที่ 3) และการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 2) ดัชนีทุกตัวชี้วัดมีค่าปานกลางยกเว้นเปอร์เซ็นต์การกะเทาะเมล็ด ค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 4) ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี (Control) (กลุ่มทดลองที่ 1) มีค่าตัวชี้วัดทุกตัวต่ำที่สุด ยกเว้นดัชนีการเก็บเกี่ยว แต่ก็ไม่แตกต่างทางสถิติกับกลุ่มทดลองอื่นๆ


เข้าสู่ระบบ