งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93134
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93091
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92450

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของการใช้ไข่แดงในการเก็บรักษาน้ำเชื้อโค
ผู้วิจัย นางสาวขนิษฐา คูณตาแสง และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88346 ครั้ง ดาวน์โหลด 26 ครั้ง

บทคัดย่อ

          การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ไข่แดงไก่ไข่ ไข่แดงไก่พื้นเมือง ไข่แดงนกกระทา และไข่แดงเป็ด ในสูตรสารละลายเจือจางน้ำเชื้อโค โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (RCBD) โดยมี 4 ทรีตเมนต์ คือ ไข่แดงไกไข่ ไข่แดงไก่พื้นเมือง ไข่แดงนกกระทา และไข่แดงเป็ด และมี 4 บล็อก 4 สัปดาห์ การเจือจางน้ำเชื้อใช้สูตร Egg Yolk Tris ใช้ไข่แดง 25% ของสารเจือจางน้ำเชื้อ ใช้พ่อพันธุ์โคชาร์โรเล่ส์ จำนวน 1 ตัว รีดน้ำเชื้อทุกสัปดาห์ น้ำเชื้อที่รีดได้แบ่งเป็น 4 ส่วน แล้วเจือจางด้วยสารเจือจางน้ำเชื้อ 4 ชนิด ที่มีส่วนประกอบของไข่แดงในแต่ล่ะสูตรร้อยละ 25 ของสารเจือจางน้ำเชื้อ นำน้ำเชื้อที่เจือจางไว้ไปเก็บในกระติกน้ำแข็งที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และทำการตรวจ การเคลื่อนที่ของอสุจิ ตรวจหาอสุจิที่มีชีวิต และตรวจหาอสุจิที่ปกติทุกๆ 24 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าการเคลื่อนที่ของอสุจิ ตรวจหาอสุจิที่มีชีวิต และตรวจหาอสุจิที่ปกติ ในทุกชั่วโมงของการตรวจไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

คำสำคัญ : ไข่แดงไก่ไข, ไข่แดงไก่พื้นเมือง, ไข่แดงนกกระทา, ไข่แดงเป็ด, น้ำเชื้ออสุจิ

 

Abstract

          The purpose of this study was to investigate the effect of different types of egg yolk (layers, native hens, quails and duck) in bull semen diluter. Experimental design was conducted using Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 types of egg yolks as the treatments and 4 periods of week as blocks. Semen dilution was based on Egg Yolk Tris formula. With 25% of egg yolk. Semen was collected from one Charolais bull each week and divided into 4 ports for each treatment. Semen was stored in ice box at 5 . motility, viability, normality were analyzed at 24 hours interval. The result found that there was on significant different among treatment. on motility, viability and normality

Keywords: egg yolk, layers, native hens, quails and duck, sperm, diluter

 



ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและ ผลผลิตของคะน้าสายพันธุ์แม่โจ้ 1
ผู้วิจัย นายมโนรม ขอสุข | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89272 ครั้ง ดาวน์โหลด 63 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                       ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและ               

                             ผลผลิตของคะน้าสายพันธุ์แม่โจ้ 1

Effectof Golden Apple Snail Bio-Extract onGrowthandYieldofChineseKale “Maejo 1”

โดย                      นายมโนรม  ขอสุข

ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2558

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ประภัสสร  น้อยทรง

 

 

                การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโต                   และผลผลิตของคะน้าสายพันธุ์แม่โจ้ 1 ที่ปลูกในถุงดำโดยวางแผนทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลองคือ 1.) ไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพ (Control)  2.) น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก 3.) น้ำหมักชีวภาพจากไข่หอยเชอรี่                4.) น้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ 5.) น้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และเปลือกหอยเชอรี่  จำนวน 3 ซ้ำ พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และเปลือก      หอยเชอรี่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีค่าความสูงเฉลี่ยของต้น ความกว้างและความยาวของใบเฉลี่ย น้ำหนักผลผลิตสดลำต้นพร้อมรากและน้ำหนักลำต้นสดเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 15.23 เซนติเมตร 6.71 เซนติเมตร 14.23 เซนติเมตร 13.33 กรัมต่อต้น และ 15.00 กรัมต่อต้น ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ น้ำหมักชีวภาพจากไข่หอยเชอรี่ น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก และน้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ ตามลำดับ ในขณะที่การไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพทุกดัชนีตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้น หากต้องการส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักคะน้า และลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี แนะนำให้ใช้น้ำหมักชีวภาพจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และเปลือก                        หอยเชอรี่ จะมีความเหมาะสมมากที่สุด


สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55



ประสิทธิภาพของสารสกัดจากบอระเพ็ด ต่อหนอนแมลงวันบ้าน
ผู้วิจัย มานะศักดิ์ รัตนนนท์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89756 ครั้ง ดาวน์โหลด 13 ครั้ง

การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากบอระเพ็ดต่อหนอนแมลงวันบ้าน โดยทาการสกัดด้วยตัวทาละลาย 3 ชนิด คือ น้าเปล่า, 50% แอลกอฮอล์ และ น้าต้มที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มี 4 ระดับความเข้มข้น (5% 10% 20% และ 40%) จานวน 5 ซ้า ใช้หนอนแมลงวันซ้าละ 5 ตัว ทาการตรวจนับจานวนที่ตาย 12, 24 และ 36 ชั่วโมง หลังจากได้รับสารสกัด พบว่า บอระเพ็ดที่สกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ทาให้หนอนแมลงวันบ้านตายเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 12 ชั่วโมง รองลงมา คือบอระเพ็ดที่สกัดด้วยน้าต้ม 60 องศาเซลเซียส เพราะสามารถทาให้หนอนแมลงวันบ้าน ตายเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 24 ชั่วโมง โดยใช้ระดับความเข้มข้น 40% ในขณะที่บอระเพ็ดที่สกัดด้วยน้าเปล่า มีประสิทธิภาพต่าที่สุด เพราะไม่สามารถทาให้หนอนแมลงวันบ้าน ตายเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 36 ชั่วโมง โดยมีค่า Lethal Concentration fifty (LC50) เท่ากับ 34.00, 6.20 และ 2.12% ตามลาดับ ส่วนสารสกัดที่ทาให้หนอนแมลงวันบ้าน พัฒนาจนเป็นดักแด้ได้น้อยที่สุด คือ 50% แอลกอฮอล์ น้าต้ม 60 องศาเซลเซียส และน้าเปล่า ตามลาดับ ส่วนความเข้มข้นของสารสกัดบอระเพ็ดที่เหมาะสมคือ ระดับความเข้มข้น 40% เพราะสามารถทาให้หนอนแมลงวันบ้าน ตายเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 24 ชั่วโมง



ผลการใช้ผักหนามและพืชโปรตีนสูงในอาหาร ต่อการให้ผลผลิตของไก่ไข่
ผู้วิจัย นางสาวปนัดดา เยื่อใย และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 87464 ครั้ง ดาวน์โหลด 36 ครั้ง

 

บทคัดย่อ

การทดลองนี้ใช้ไก่ไข่ 100 ตัว ระยะเวลาทดสอบ 13 สัปดาห์ ประกอบด้วย 2 การทดลอง             การทดลองที่ 1 การใช้ผักหนามซึ่งมีองค์ประกอบของฮอร์โมนจากพืช (Phytoestrogen) บดผสมในสูตรอาหารไก่ไข่ประกอบด้วย T1 แกลบบด 3%  T2 ผักหนาม 1% T3 ผักหนาม 2% T4 ผักหนาม 3% T5 กลุ่มอาหารควบคุม ผลการทดลองพบว่าการใช้ผักหนามในระดับ 1% ให้ผลดีที่สุดต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่ แสดงว่าระดับฮอร์โมนที่ได้รับจากผักหนาม 1% สมดุลในการส่งเสริมการให้ไข่ดีที่สุด การทดลองที่ 2 การใช้พืชโปรตีนสูง (High Protein Plants) ผสมในสูตรอาหารไก่ไข่  ประกอบด้วย T1 ใบมะรุม 3% T2 ใบกระถิน 3% T3 ใบมันสำปะหลัง 3% T4 ใบหม่อน 3% T5 อาหารควบคุม ผลของการทดลองพบว่าการใช้ใบหม่อนและใบมันสำปะหลังให้ผลดีที่สุดและใช้อาหารในการเปลี่ยนเป็นไข่น้อยที่สุด

คำสำคัญ ผักหนาม แกลบ ใบมันสำปะหลัง ใบหม่อน ใบมะรุม ใบกระถิน

 

Abstract

This experiment used 100 hens for 13 week trials. The Trials were divided into two experimental groups. The first expeniment containet 5 treatments as; T1.Husk 3% T2.Lasia spinosa 1% T3.Lasia spinosa 2% T4.Lasia spinosa 3% T5.Control feed. The resuets found that T2 Lasia 1% showed a higest perfomance on egg production. The second experiment contained 5 treatments ; T1. Moringa leaves 3% T2. Acacia leaves 3% T3. Cassava leaves 3% T4. Mulberry Leaves 3% T5. Control feed. The results showed that the use of mulberry leaves and cassava leaves gave the best results.

Keyword : Lasia spinosa, Husk , mulberry leaves, Mulberry Leaves, Moringa leave, Acacia leaves

 

 


เข้าสู่ระบบ