งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย บุษบง มนัสมั่นคง และ ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา | ปีที่พิมพ์ 2553 | อ่าน 88417 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง
การศึกษาชนิด การเข้าทำลาย และการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอ ทำการศึกษาในส้มโอพันธุ์ท่าข่อย ทองดี และขาวแตงกวาของเกษตรกร อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โดยการสำรวจการทำลายบนต้น และเก็บผลส้มโอในระยะต่าง ๆ คือ ก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน 1 เดือน 21 วัน 14 วัน 7 วัน และในระยะเก็บเกี่ยว ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2551 – กันยายน 2553 ผลการสำรวจในส้มโอพันธุ์ท่าข่อยจำนวน 37,408 ผล พบการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ 673 ผล ทำการเก็บผลใส่ถาดคลุมด้วยถุงตาข่าย วางไว้ในห้องอุณหภูมิปกตินาน 7 – 10 วัน นำผลมาผ่าตรวจดูเมื่อพบหนอนเก็บเลี้ยงจนเป็นตัวเต็มวัย พบแมลงวันผลไม้ 2 ชนิด คือ Bactrocera dorsalis และ B. correcta ในอัตราส่วน 10:1 เฉพาะพันธุ์ท่าข่อย ส่วนการสำรวจในส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาและทองดีจำนวน 6,258 และ 14,379 ผล ตามลำดับ ไม่พบการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้บนผลส้มโอ ซึ่งการทดสอบการทำแผลบนผลส้มโอ ก็ไม่พบการวางไข่ของแมลงวันผลไม้บนผลปกติของส้มโอทั้ง 2 พันธุ์นี้เช่นกัน แต่หากมีแผลลึกถึงเนื้อส้มโอแมลงวันผลไม้สามารถวางไข่และเจริญเติบโตได้ใน ส้มโอทั้ง 3 พันธุ์ ส่วนการทดสอบการใช้เหยื่อพิษในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอพันธุ์ท่า ข่อยพบว่า สามารถลดการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้บนผลส้มโอลงได้ โดยในแปลงที่พ่นเหยื่อพิษ พบผลถูกทำลาย 0 – 16.66% เฉลี่ย 3.84 ในแปลงไม่พ่นเหยื่อพิษพบผลส้มโอถูกทำลาย 5.98 – 39.29% เฉลี่ย 18.17 วิธีการคือ พ่นยีสต์โปรตีนออโตไลเซทผสมสาร malathion 57% EC อัตรา 200 มิลลิลิตร + 20 มิลลิลิตร ผสมน้ำจนครบ 5 ลิตร ทุก 7 วัน เมื่อผลส้มโออายุ 5 เดือน จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน โดยพ่นภายในทรงพุ่มใต้ใบ ความสูงระดับประมาณ 100 – 150 ซม. จากพื้นดิน พ่นเป็นจุด 4 จุด/ต้น จุดละ 30 มิลลิลิตร เป็นวงกลมรัศมีประมาณ 0.5 ม. โดยควรพ่นในเวลาเช้าตรู่ เริ่มพ่นล่วงหน้าประมาณ 30 วันก่อนแมลงเข้าทำลาย และสามารถพ่นเหยื่อพิษดังกล่าวบนพืชชนิดอื่น ๆ ที่อยู่รอบแปลงที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันแมลงวันผลไม้ จุดที่พ่นเหยื่อควรเป็นจุดที่อยู่ในร่มเงาและไม่ถูกแสงแดดจัด จึงจะมีประสิทธิภาพดีในการดึงดูดแมลงวันผลไม้
ผู้วิจัย นายกรวิทย์ จันสุตะ และ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88541 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มในการควบคุมมอดแป้ง
Effect of Some Citrus Peel Powder for Red Flour Beetle Control
โดย นายกรวิทย์ จันสุตะ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของผงบดจากเปลือกพืชตระกูลส้มเพื่อควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 5 กลุ่มทดลอง จำนวน 10 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัวโดยใช้ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้ม 4 ชนิดได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอและชุดควบคุม โดยวิธีการคลุกเมล็ด เปรียบเทียบกับชุดควบคุม ผลการทดลองพบว่า ผงบดจากเปลือกมะกรูดทำให้มอดแป้งตายมากที่สุดที่ 240 ชั่วโมง (10 วัน) คือ 63% รองลงมาได้แก่ผงบดจากเปลือกส้มเขียวหวาน ส้มโอและมะนาวมีการตายของมอดแป้งเท่ากับ 32% 25% และ 19% ในขณะที่ชุดควบคุมมีประสิทธิภาพน้อยที่สุดมีการตายของมอดแป้ง 3% ดังนั้น ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ ผงบดจากเปลือก มะกรูด ซึ่งเปอร์เซ็นต์การตายของมอดแป้งเป็นตัวชี้วัดได้ดีว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มชนิดอื่นๆ
คำสำคัญ เปลือกพืชวงศ์ส้ม ควบคุม มอดแป้ง
ผู้วิจัย นายสิทธิศานต์ หาเนาสุข | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88741 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง อัตราปุ๋ยเคมีและปูนขาวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำ
อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
Chemical Fertilizer and Lime Rates on Growth and Yield of
Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)
โดย นายสิทธิศานต์ หาเนาสุข
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาอัตราของปุ๋ยเคมีและปูนขาวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มทดลองดังนี้ 1. ไม่ใส่ปุ๋ย 2. ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3. ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 4. ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง 5. ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 3 ซ้ำ พบว่าการใส่ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุด ต้นถั่วพุ่มดูดสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจาก มีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักผลผลิตมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝักและน้ำหนักผลผลิตเมล็ดรวมเฉลี่ยมากที่สุดคือ 64 เซนติเมตร 795 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 17 เมล็ดต่อฝักและ 300 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ รองลงมาคือปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีค่าดัชนีตัวชี้วัดทุกค่าปานกลาง นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยในทุกกลุ่มทดลองให้ค่าแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยอย่างชัดเจน ยกเว้น ค่าเปอร์เซ็นต์การกะเทาะและดัชนีการเก็บเกี่ยวที่มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าอยู่ระหว่าง 72-78 เปอร์เซ็นต์ และ 0.36-0.38 ตามลำดับ ดังนั้นการใส่ปูนขาวในการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมการปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์
ผู้วิจัย วันวิสา วิสาร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89907 ครั้ง ดาวน์โหลด 77 ครั้ง
เรื่อง อิทธิพลของปุ๋ยน้ำจากแหนแดงและสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่าย
Effect of Aqueous Fertilizer from Azolla sp. and Chitosan on Chinese Celery Growth
โดย นางสาววันวิสา วิสาร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาการใช้ปุ๋ยน้ำจากแหนแดงและสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่ายโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถาง รวม120 หน่วยทดลองผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยน้ำจากแหนแดงอัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร มีความเหมาะสมมากที่สุดในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่าย โดยมี จำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.20 ต้น/กอ และ 30.36 กรัม ตามลำดับ และมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง คือ 19.80 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยเกร็ดตราทุ่งเศรษฐี เบอร์ 12 สูตร 25-5-5 อัตรา 6 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 20.66 เซนติเมตร แต่มีจำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง คือ 3.66 ต้น/กอ และ 28.10 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่การใช้สารไคโตซานอัตรา 1 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร มีความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง ส่วนการไม่พ่นสารมีค่าน้อยที่สุดในทุกดัชนีที่ใช้วัด และมีความแตกต่างกันทางสถิติ