งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย วงศ์สุดา พลเยี่ยม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88518 ครั้ง ดาวน์โหลด 63 ครั้ง
การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for Lentinus squarrosulus Production โดย นางสาววงศ์สุดา พลเยี่ยม ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2556 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาวโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ผลการทดลอง พบว่า ระยะ เวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดดีที่สุด คือกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 5 (ไมยราบยักษ์ 100%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ไมยราบ-ยักษ์ 50%) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อย100%) และกลุ่มทดลองที่ 4 (ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 27.93 28.06 28.60 28.60 และ 28.73 วัน ตามลำดับ สำหรับจำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่ 3.06 2.60 2.33 1.00 และ 1.00 ดอก/ถุง ตามลำดับ ส่วนน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดขอนขาวสูงสุด คือ กลุ่มทดลองที่ 3 รองลงมา กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 5 และกลุ่มทดลองที่ 4 โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 14.27 11.08 7.21 1.40 และ 1.27 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้น หากต้องการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว ควรใช้ไมยราบยักษ์ผสมกับขี้เลื่อยในอัตราส่วน ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาวได้ดีที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเร็วที่สุด มีจำนวนดอกเฉลี่ยสูงที่สุด และมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง
ผู้วิจัย นางสาวศิรินภา มหิศยา และ นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89984 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง
บทคัดย่อ
หัวข้อปัญหาพิเศษ การเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริมโพรไบโอติก
นักศึกษา นางสาวศิรินภา มหิศยา
นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิราศ กิ่งวาที
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง
ว่าในกระบวนการแช่อิ่ม อบแห้ง และอุณหภูมิในการเก็บรักษา จะมีผลต่อการเหลือรอดของ
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกหรือไม่ โดยการแช่อิ่มกล้วยด้วยสารละลายน้ำตาล 30 °Brix ที่มีเชื้อจุลินทรีย์
L. acidophilus เริ่มต้น 8 log cfu/ml แช่อิ่มเป็นระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่าที่ 24 ชั่วโมง
มีการเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.19 log cfu/g จากนั้นศึกษาอุณหภูมิใน
การอบว่า มีผลต่อการเหลือรอดของจุลินทรีย์ โดยใช้ตัวอย่างจากการแช่อิ่ม 2 ตัวอย่าง อบที่อุณหภูมิ
37 และ 55 °C พบว่าตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 37 °C มีการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์
โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.11 log cfu/g ส่วนในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 55 °C มีการ
เหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกน้อยที่สุด มีเชื้อ 5.42 log cfu/g ตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่
37 °C มีค่า aW สูง และศึกษาการเหลือรอดในระหว่างการเก็บรักษาของกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริม
โพรไบโอติก บรรจุแบบสุญญากาศ เก็บในอุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ อุณหภูมิ 25 °C และอุณหภูมิ
4 °C พบว่าในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่ 37 °C เก็บรักษาในอุณหภูมิ 25 °C มีการเหลือรอด
ของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด
ผู้วิจัย นุชรัตน์ ปูกะธรรม | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88849 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิต
ข้าวขาวดอกมะลิ105ในพื้นที่อาเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
Effect of Chemical and Organic Fertilizer Utilization on
Growth and Yield of KDML 105 Rice in Khemmarat District
Ubonratchathani Province
โดย นางสาวนุชรัตน์ ปูกะธรรม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทาการทดลองในแปลงเกษตรกรตาบลหนองสิม อาเภอเขมราฐจังหวัดอุบลราชธานีวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้า ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ร่วม กับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 14 กิโลกรัมต่อไร่และ สูตร 46-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ช่วงข้าวอายุ 25 วันหลังหว่าน และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกาเนิดช่อดอกให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวเป็น 109 เซนติเมตร จานวนรวง 201 รวงต่อตารางเมตรน้าหนักผลผลิตเฉลี่ยของข้าว 269 กิโลกรัมต่อไร่ มีค่าสูงที่สุด และมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ ในค่าน้าหนักเมล็ดข้าว 100 เมล็ด และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว รองลงมา คือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่ากัน และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 14 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วงข้าวอายุ 25 วันหลังหว่านข้าว และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกาเนิดช่อดอก
คาสาคัญ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกมูลวัว
ผู้วิจัย ธนารัตน์ คำสุข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88548 ครั้ง ดาวน์โหลด 59 ครั้ง
ศึกษาผลของปุ๋ยสั่งตัดและปุ๋ยอินทรีย์ ในข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ในแปลงเกษตรกร พื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มีจำนวน 6 กลุ่มทดลอง3 ซ้ำ พบว่า ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15.3-3.8-3.8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ความสูงเฉลี่ยของข้าวโพดสูงที่สุดคือ37 92 179 และ 184 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดความสูงที่ 15 30 45 และ 60 วันตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.01) ส่วนน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก พบว่า มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 8.3-0.7-4.6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 30.5-7.5-7.5 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่และการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 19.5-8-4 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ และปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นการใส่ปุ๋ยแบบเกษตรกรในพื้นที่ให้น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 มีค่าสูงที่สุด ในขณะที่การไม่ใส่ปุ๋ยมีน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกน้อยที่สุด คือ 228 กิโลกรัมต่อไร่