งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายธนพล สีสุภา และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 87739 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ดที่ระดับ 0, 25, 50 , และ75 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารข้นต่อปริมาณน้้านมและองค์ประกอบทางเคมีของน้้านมในโครีดนมที่ โดยใช้โครีดนมพันธุ์โฮสไตล์ฟรีเชี่ยนเพศเมีย จ้านวน 4 ตัว มีน้้าหนักเฉลี่ย 400 ± 500 กก. จัดโคเข้าทดลองตามแผนการทดลองแบบ 4x4 จัตุรัสลาติน ให้โคได้รับอาหารข้นในอัตราส่วนอาหารข้นต่อปริมาณน้้านม 1:2 และใช้ฟางข้าวหมักยูเรีย (5% ยูเรีย) เป็นอาหารหยาบโดยให้กินแบบเต็มที่ ผลการทดลองพบว่าการใช้ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นส้าหรับโคนรีดนมท้าให้ปริมาณน้้านม และองค์ประกอบทางเคมีของน้้านม ได้แก่ โปรตีน ไขมัน น้้า ของแข็งที่ไม่รวมไขมัน ความหนาแน่นของน้้านม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่การใช้ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ดที่ 25 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารข้นมีแนวโน้มท้าให้โคนมมีปริมาณน้้านมสูง
ค้าส้าคัญ: ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ด, ปริมาณน้้านม, องค์ประกอบทางเคมีของน้้านม, โครีดนม
ABSTRACT
This experiment was to study the effects of oil palm fronds pellet at 0, 25, 50 and 75% in concentrate on milk yield and milk composition in lactating dairy cows. Four, Holstein-Friesian cross bred cows with 400 + 500 kg body weight, were randomly assigned according to a 4x4 Latin Square Design. Cows were fed concentrate, at a ratio of concentrate to milk yield of 1:2, and urea treated rice straw (5% urea) were used as a roughage source ad libitum. The results showed that feeding cows with oil palm fronds pellet has no effect on milk yield and milk composition in term of protein, fat, water, solids not fat and density (P> 0.05). However, using oil palm fronds pellet at 25% in concentrate tend to increased milk yield.
Keywords: oil palm fronds pellet, milk yield, milk composition, lactating dairy cows
ผู้วิจัย พวงผกา อ่างมณี | ปีที่พิมพ์ 2553 | อ่าน 91340 ครั้ง ดาวน์โหลด 68 ครั้ง
การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและอัตราสารที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ย แป้งในน้อยหน่า ซึ่งยังไม่เคยมีคำแนะนำมาก่อน ทำการทดลอง 4 แปลงทดลอง ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 – เดือนกันยายน 2553 ที่แปลงเกษตรกรอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในปี 2551 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร imidacloprid (Provado 70% WG), thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Starkle 10% WP) และ white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 2 กรัม, 20 กรัม และ 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร การพ่นไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ในปี 2552 และ 2553 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร thiamethoxam (Actara 25% WG), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), thiamethoxam (Actara 25% WG) + white oil (Vite oil 67% EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC) + white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 15 มิลลิลิตร, 2 กรัม + 50 มิลลิลิตร และ 10 กรัม + 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ การพ่นไส้เดือนฝอย S. carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ทั้งสี่แปลงทดลองมีการพ่นสารตามกรรมวิธี 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยบนผลก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน โดยสุ่มนับผลน้อยหน่าจำนวน 10 ผล/ต้น ให้กระจายทั่วทั้งต้น ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั่วทั้งผลพบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารสามารถลดปริมาณการระบาดของเพลี้ยแป้งได้ โดยหลังการพ่นสารพบจำนวนเพลี้ยแป้งน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร การพ่นสาร imidacloprid (Provado 70% WG), thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Starkle 10% WP), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), thiamethoxam (Actara 25% WG) + white oil (Vite oil 67% EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC) + white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 2 กรัม, 20 กรัม, 15 มิลลิลิตร, 2 กรัม + 50 มิลลิลิตร และ 10 มิลลิลิตร + 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ส่วนกรรมวิธีการพ่น white oil (Vite oil 67% EC) มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้ปานกลาง ขณะที่ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร ให้ผลไม่ชัดเจนในปี 2553 และจากการเก็บผลน้อยหน่าที่พ่นไส้เดือนฝอยมาตรวจในห้องปฏิบัติการไม่พบ ไส้เดือนฝอยจากเพลี้ยแป้งที่ตายในกรรมวิธีดังกล่าว การตรวจการเป็นพิษของสารทดลองต่อพืช ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารไม่ก่อความเป็นพิษกับต้นและผลน้อยหน่า
ผู้วิจัย ธัญญา ยมมา และ พักตร์จิรา วงศ์ทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89368 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
แนวโน้ม 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้ามะพร้าวแห้งเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบมะพร้าวที่ผลิตในประเทศมีแนวโน้มลดลง ผู้ผลิตจึงต้องนำเข้าเนื้อมะพร้าวแช่แข็งจากต่างประเทศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการผลิตน้ำกะทิคืนรูปจากองค์ประกอบที่มีอยู่ ได้แก่ น้ำ น้ำมันมะพร้าว โปรตีน และน้ำตาล โดยศึกษาผลของโปรตีน 2 ชนิดคือโปรตีนนมและโปรตีนถั่วเหลือง รูปแบบการแปรรูป 3 ระดับ คือLow Temperature Long Time (LTLT, 63๐C นาน 30นาที) High Temperature Shot Time (HTST, 72๐C นาน 15 วินาที)และ Sterilize 121 ๐C นาน 15 นาที และอิมัลซิไฟเออร์คือ PolyoxyethyleneSorbitanMonostearate(Tween 60) จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้านกายภาพ ได้แก่ การวัดค่าสี L*a*b* ค่าความหนืดและการแยกชั้นครีม พบว่า ตัวอย่างที่มีการเติมโปรตีนนมมีค่าสี L* และ b*มากกว่าตัวอย่างควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) แต่ค่าสี b*น้อยกว่าตัวอย่างที่เติมโปรตีนถั่วเหลืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ตัวอย่างที่เติมโปรตีนนมและโปรตีนถั่วเหลืองมีค่าความหนืดน้อยกว่าตัวอย่างควบคุม คือ 89.29 89.71 และ 136.24 cPตามลำดับ ตัวอย่างที่เติมโปรตีนถั่วเหลืองเกิดการแยกชั้นครีมช้ากว่าโปรตีนนม การให้ความร้อนอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าสี L* ลดลง และค่า b*เพิ่มขึ้นในทุกๆตัวอย่าง เนื่องจากในกะทิคืนรูปมีส่วนผสมของน้ำตาลเมื่อได้รับความร้อนจึงเกิดปฏิกิริยาเมลลาร์ดและโปรตีนถั่วเหลืองมีสีครีม อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่าความหนืด และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของตัวอย่างที่เติมโปรตีนนมกับโปรตีนถั่วเหลืองมีผลทำให้เกิดการแยกชั้นครีมเร็ว การเติมอิมัลซิไฟเออร์Tween 60 เป็นอิมัลซิไฟเออร์ที่มีค่า HLB =14.9 เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ พบว่าตัวอย่างที่เติม Tween 60 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสี L* แต่ค่าสี b* เพิ่มขึ้นเมื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 121 ๐C นาน 15 นาที ตัวอย่างที่เติม Tween 60 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่าความหนืด ส่วนตัวอย่างที่เติม Tween 60 เกิดการแยกชั้นครีมช้ากว่าตัวอย่างที่ไม่เติม Tween 60
ผู้วิจัย เกษม สุดดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89362 ครั้ง ดาวน์โหลด 107 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข้าวโพดฝักอ่อน(พันธุ์แปซิฟิค271)
Study on Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of Baby Corn (cv.Pacific 271)
โดย นายเกษม สุดดี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้เพื่อหาอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์แปซิฟิค271โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กลุ่มทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 750 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ศึกษาการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน (พันธุ์แปซิฟิค271) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 500 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย น้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด L และ S มากที่สุด คือ 139 เซนติเมตร 177 กิโลกรัม/ไร่ 150 กิโลกรัม/ไร่ และ 3 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ มีน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก ความยาวฝัก และน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด M เฉลี่ย ปานกลาง คือ 669 กิโลกรัม/ไร่ 10.1 เซนติเมตร และ 8 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 750 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยคอก เพียงอย่างเดียว ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ กับการไม่ใส่ปุ๋ย มีค่าน้อยที่สุดในทุกตัวชี้วัด