งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นางสาวริยากร ณุวงษ์ศรี และ นางสาวกาญจนา สุขชัย | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88437 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารแอนตี้ออกซิแดนท์เสริมในสูตรสารละลายเจือ
จางน้าเชื้อสดโตต่ออัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติของอสุจิ โดยใช้แผนการทดลอง
แบบ Randommized Complete Blok Design (RCBD) ใช้น้าจากพ่อพันธุ์ โฮสไตร์ฟรีเชี่ยน จานวน 1 ตัว
รีดน้าเชื้อทุกสัปดาห์ แบ่งน้าเชื้อออกเป็น 5 ส่วน เจือจางด้วยสารสารเจือจาง Egg-Yolk Tris ที่เสริมด้วย
กลุ่ม วิตามิน อี 10 μg/ml (กลุ่มควบคุม) หรือ น้ามันมะกอก 0.6 μg/ml หรือ น้ามันมะพร้าว 0.5 μg/ml
หรือ น้ามันงา 1 μg/ml หรือ น้ามันราข้าว 1μg/ml ทาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ตรวจ
ทุกๆ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติ
ของอสุจิ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ที่ชั่วโมงที่ 0, 24, 48, 72, 96 และ 120
ค้าส้าคัญ: น้าเชื้อสด, แอนตี้ออกซิแดนท์, วิตามิน อี, น้ามันมะกอก, น้ามันมะพร้าว, น้ามันงา, น้ามันราข้าว
Abstract
The purposes of this study were to investigate the effects of supplementation of
antioxidant in bull liquid semen extender on sperm viability, sperm motility and normality.
Experimental design was conducted using Randommized Complete Blok Design (RCBD).
Semen was collected from one Holstein Friesian bull once a week for tour week and
divided into 5 portions for each treatment. Semen were diluted with egg-yolk tris diluted
supplemented with vitamin E 10 μg/ml (control) or olive oil 0.6 μg/ml or coconut oil 0.5 μg/ml
or sesame oil 1 μg/ml or rice bran oil 1 μg/ml. Diluted semen were stored at 5° C and
examined for semen quality every 24 hours for 4 days. It was found that there semen viability,
sperm motility and normality. Were not significant different among treatment (p> 0.05) on
days 0, 24, 48, 72, 96 and 120.
Keywords: liquid semen, antioxidant, vitamin E, olive oil, coconut oil, sesame oil, rice bran oil
ผู้วิจัย นางสาวพิมประพา สวัสดิ์วงษ์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88417 ครั้ง ดาวน์โหลด 33 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหอมแบ่งพันธุ์ลับแล
Effect of Mulching on Growth and Yield of Laplae Multiply Onion
โดย นางสาวพิมประพา สวัสดิ์วงษ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง
ศึกษาผลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหอมแบ่งพันธุ์ลับแล วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Designs(RCBD) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 แปลง ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใช้วัสดุคลุมดิน กลุ่มทดลองที่ 2 คลุมดินด้วยแกลบดิบ กลุ่มทดลองที่ 3 คลุมดินด้วยฟางข้าว และกลุ่มทดลองที่ 4 คลุมดินด้วยผักตบชวา ผลการทดลองพบว่า ด้านการเจริญเติบโต การใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด คือ 26.71 เซนติเมตร และมีแนวโน้มให้ความยาวรากเฉลี่ยและอุณหภูมิภายใต้วัสดุปลูกช่วงเที่ยงและช่วงเย็นน้อยที่สุด คือ 7.00 เซนติเมตร และ 32.77 องศาเซลเซียส และ 31.48 องศาเซลเซียส ตามลำดับ รองลงมาคือ การใช้ฟางข้าว มีความสูงเฉลี่ยของ-ต้น ความยาวรากเฉลี่ย อุณหภูมิภายใต้วัสดุปลูกช่วงเที่ยงและช่วงเย็นปานกลาง คือ 25.15 เซนติเมตร 7.20 เซนติเมตร 33.98 องศาเซลเซียส และ 32.33 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนด้านการให้ผลผลิตพบว่า การใช้แกลบดิบเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีแนวโน้มให้จำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยทั้งกิโลกรัมต่อแปลงและกิโลกรัมต่อไร่มากที่สุด คือ 4.29 กอต่อต้น 0.57 กิโลกรัมต่อแปลง และ 90.66 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ รองลงมาคือ การใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดิน มีจำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยทั้งกิโลกรัมต่อแปลงและกิโลกรัมต่อไร่ เท่ากับ 4.10 กอต่อต้น 0.53 กิโลกรัมต่อแปลง และ 85.33 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้นหากต้องการเลือกใช้วัสดุคลุมดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของหอมแบ่ง ถ้าดูในภาพรวม การเลือกใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดิน น่าจะมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือแกลบดิบ ถึงแม้ว่าบางดัชนีตัวชี้วัดของผักตบชวาจะมีค่าน้อยกว่าแกลบดิบ แต่ก็ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และการมีวัสดุคลุมดินช่วยลดอุณหภูมิของวัสดุปลูกได้ดีกว่าการไม่ใช้วัสดุคลุมดิน
ผู้วิจัย อภิสิทธิ์ พันธุ์เพ็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88168 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของ ข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2
Study of Farm Yard Manure and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of Sweet Corn (cv. Insea 2)
โดย นายอภิสิทธิ์ พันธุ์เพ็ง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการให้ ผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ทาการทดลองในแปลงเกษตร ที่บ้านปากห้วยวังนอง หมู่ 6 ตาบลปทุม อาเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก จานวน 3 ซ้า ประกอบด้วย กลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยคอก 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 500 กิโลกรัมต่อไร่ ผลทดลองพบว่าความสูงของต้นข้าวโพดหวานอินทรี 2 เมื่ออายุ 20 30 40 50 และ 60 วันหลังปลูก กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยคอก 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีความสูงของข้าวโพดพันธุ์อินทรี 2 สูงกว่ากลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ย และมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง (P≤0.01) กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้น้าหนักฝักสดพร้อมเปลือก น้าหนักฝักสดปอกเปลือก และความยาวฝัก ของข้าวโพดพันธุ์อินทรี 2 มีแนวโน้มมากที่สุดคือ 2,118 กิโลกรัมต่อไร่ 1,410 กิโลกรัมต่อไร่ และ 16.1 ซม.ตามลาดับ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่ มีค่า 2,108 กิโลกรัมต่อไร่ 1,403 กิโลกรัมต่อไร่ และ 15.6 ซม. ดังนั้นอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ที่เหมาะสม ที่แนะนาให้ใช้แทนปุ๋ยเคมีพียงอย่างเดียวและลดต้นทุนการผลิตคือการใช้ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยคอก 750 กิโลกรัมต่อไร่
ผู้วิจัย เกษม สุดดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89374 ครั้ง ดาวน์โหลด 107 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข้าวโพดฝักอ่อน(พันธุ์แปซิฟิค271)
Study on Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of Baby Corn (cv.Pacific 271)
โดย นายเกษม สุดดี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้เพื่อหาอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์แปซิฟิค271โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กลุ่มทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 750 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ ศึกษาการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน (พันธุ์แปซิฟิค271) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 500 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย น้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด L และ S มากที่สุด คือ 139 เซนติเมตร 177 กิโลกรัม/ไร่ 150 กิโลกรัม/ไร่ และ 3 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ มีน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก ความยาวฝัก และน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด M เฉลี่ย ปานกลาง คือ 669 กิโลกรัม/ไร่ 10.1 เซนติเมตร และ 8 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 750 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยคอก เพียงอย่างเดียว ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ กับการไม่ใส่ปุ๋ย มีค่าน้อยที่สุดในทุกตัวชี้วัด