งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93051
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93015
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92396

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์
ผู้วิจัย มัจฉา วรรณเวช | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89237 ครั้ง ดาวน์โหลด 35 ครั้ง

การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของ ผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
The Use of Bio-Fermented Juice on Growth and Postharvest Quality of Red Oak (Lactuca sativa Linn.) in Hydroponics System
โดย นางสาวมัจฉา วรรณเวช
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. วิรญา ครองยุติ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 เปรียบเทียบกับการใช้สารละลายมาตรฐาน อนินทรีย์เพียงอย่างเดีย โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 4 ซํ้าๆ ละ 25 ต้น ผลการทดลองพบว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 มีผลทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดหอมเรดโอ๊คเพิ่มขึ้นทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความกว้างทรงพุ่ม ความยาวราก นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 ยังมีผลทำให้ผักกาดหอมเรดโอ๊ค มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์พียงอย่างเดียวด้วย เช่น ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด แคโรทีนอยด์ วิตามินซี ปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ และ การเปลี่ยนแปลงสีใบ จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 สามารถนำมาทดแทนสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวได้



ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืช จากใบมันสาปะหลังและแมงลักคา
ผู้วิจัย สุนทร วงวรรณ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88357 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง

ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชจากใบมันสาปะหลังและแมงลักคา
Efficacy of Weed Control from Cassava and Mintweed Leaves โดย นาย สุนทร วงวรรณ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคาในการยับยั้งการเจริญเติบโตวัชพืชสาบม่วง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 4 ซ้าๆ ละ 8 กรรมวิธี รวมจานวนหน่วยทดลองทั้งหมด 32 หน่วยทดลองโดยมีกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มที่ให้น้าตามปกติและกลุ่มพ่น เอทิลแอลกอฮอล์ 20% และกลุ่มที่ได้รับการพ่นด้วยสารสกัดของใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคา ความเข้มข้น 1, 10, และ 20% และพ่นทุกๆ 7 วัน จนครบ 28 วัน วัดการเจริญเติบโตของสาบม่วง 5 ลักษณะ คือ ความสูง จานวนใบ
ความยาวราก น้าหนักสดและน้าหนักแห้ง ผลการทดลอง พบว่า สารสกัดของใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคา มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงได้ทั้ง 5 ลักษณะ โดยสารสกัดของแมงลักคาความเข้มข้น 20 % มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงดีที่สุดรองลงมาคือสารสกัดของใบมันสาปะหลัง 20 % การเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัด
ใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคาทาให้การยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงเพิ่มขึ้น



ผลของปริมาณเชื้อเริ่มต้น และระยะเวลาในการหมักต่อคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์เทมเป้
ผู้วิจัย วิลาวัลย์ เสือทอง และ นุสรา ทินมาตย์ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 90535 ครั้ง ดาวน์โหลด 162 ครั้ง

เทมเป้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการหมักถั่วเหลืองร่วมกับเชื้อรา Rhizopus Oligosporus โดยการเจริญของเส้นใยราทำให้เมล็ดถั่วเหลืองยึดเกาะกัน มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว จะใช้เชื้อเริ่มต้นและระยะเวลาในการหมักที่แตกต่างกัน คือปริมาณเชื้อเริ่มต้น 1 % 3 % 5% และระยะเวลาในการหมัก24 36 และ 48 ชั่วโมง จากนั้นทำการประเมินลักษณะการเจริญเส้นใยของเชื้อรา วัดสีการเกาะกันของเมล็ดถั่วเหลืองและเปอร์เซ็นต์โปรตีน พบว่า ลักษณะการเจริญเส้นใยของเชื้อราในผลิตภัณฑ์เทมเป้ที่ปริมาณเชื้อเริ่มต้น 1 % 3 % 5% และระยะเวลาในการหมัก 48 36 48 ชั่วโมง มีการเจริญของเส้นใยราสีขาวปกคลุมทั่วเมล็ดถั่วเหลืองแสดงให้เห็นว่าปริมาณเชื้อและระยะเวลามีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์เทมเป้ ค่าสีจะศึกษาค่าL* ที่ใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงค่าความสว่างหรือค่าสีขาวของผลิตภัณฑ์เทมเป้ พบว่า ที่ปริมาณเชื้อเริ่มต้น 1% และระยะเวลาในการหมัก 48 ชั่วโมง มีค่า L* สูงสุด เท่ากับ 71.90ค่าการเกาะกันของเมล็ดถั่วเหลืองพบว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เทมเป้ที่ปริมาณเชื้อเริ่มต้น 5% ระยะเวลาในการหมัก 24 36และ48 ชั่วโมง มีผลคุณลักษณะการเกาะกันของเมล็ดถั่วเหลืองของผลิตภัณฑ์เทมเป้ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากปริมาณเชื้อเริ่มต้นมากจะทำให้การสร้างเส้นใยราได้เร็วขึ้นทำให้เกิดการเกาะกันของเมล็ดถั่วเหลืองและเมื่อราเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่สร้างเส้นใยทำให้ค่าที่ได้ไม่แตกต่างกันเปอร์เซ็นต์โปรตีน พบว่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์เทมเป้ที่ปริมาณเชื้อเริ่มต้น 1 % 3 % 5% และระยะเวลาในการหมัก 24 36และ48 ชั่วโมงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p£0.05) โดยที่เชื้อเริ่มต้น 5% ระยะเวลาในการหมัก 48 ชั่วโมง มีค่าเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงสุด เท่ากับ 24.14 ซึ่งเมื่อระยะเวลาในการหมักนานขึ้นทำให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนเพิ่มสูงขึ้นด้วยการประเมินทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ เทมเป้พบว่าผู้บริโภคให้คะแนนความชอบโดยรวมไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าคะแนนอยู่ในช่วงชอบเล็กน้อย



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัดไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล
ผู้วิจัย ฐิติกร บัวใหญ่ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88872 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง


เข้าสู่ระบบ