งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย วารี ขันธิวัตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88379 ครั้ง ดาวน์โหลด 45 ครั้ง
อิทธิพลของปุ๋ยน้ำหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของดาวเรืองอเมริกัน
พันธุ์ซอฟเวอร์เรน
Effects of Aqueous Fertilizer Combined with Chemical Fertilizer on Yield of American Marigold var. Sovereign
โดย นางสาววารี ขันธิวัตร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาอิทธิพลของการใช้ปุ๋ยน้ำหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของดาวเรืองอเมริกันพันธุ์ซอฟเวอร์เรนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตดาวเรืองอเมริกันพันธุ์ซอฟเวอร์เรนโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD)แบ่งเป็น
6 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10กระถาง ได้แก่ ชุดควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ย)ใช้ปุ๋ยเคมี
สูตร 15-15-15 อัตรา 8 กรัม/กระถาง ใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดง อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนเป็ด อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดง อัตรา 25 ซีซี ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 4 กรัม/กระถางและใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนเป็ด อัตรา 25 ซีซี ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 4 กรัม/กระถางผลการทดลองพบว่าทุกกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในด้านความสูงทรงพุ่ม ส่วนจำนวนดอกและขนาดของดอกพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักแหนแดงร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 มีแนวโน้มให้จำนวนดอกดาวเรืองต่อต้นเฉลี่ยมากที่สุด และให้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกมากที่สุดเท่ากับ 7.11 และ 1.66 ตามลำดับ
ผู้วิจัย นายกิติ บำเพ็ญ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88450 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไคโตซานและปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์ต่อการเข้าทำลายของแมลงศัตรูแตงกวา
Effects of Chitosan and Bio-Stimulant on Cucumber Insect Pests
โดย นายกิติ บำเพ็ญ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของไคโตซานและปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์ต่อการเข้าทำลายของแมลงศัตรูแตงกวาวางแผนการทดลองแบบ Randomized Completely Block Design (RCBD) แบ่งเป็น 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 1 แปลง ขนาด 2X4 เมตร รวมทั้งสิ้นจำนวน 12 แปลง หลังจากฉีดพ่นไปครั้งที่ 1 นับจำนวนแมลงและนำมาหาค่าเปอร์เซ็นต์การลดลง พบว่า การฉีดพ่นด้วยน้ำหมักอินทรีย์ มีประสิทธิภาพในการควบคุม เพลี้ยอ่อน และมีแนวโน้มควบคุมแมลงหวี่ขาวได้ดีที่สุด คือ มีเปอร์เซ็นต์การลดลง เท่ากับ 50.75 และ 66.28 % ตามลำดับ ในขณะที่ หนอนกระทู้และแมลงศัตรูพืชในภาพรวม การใช้ไคโตซาน มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมี เปอร์เซ็นต์การลดลง เท่ากับ 100 และ 46.85 % ตามลำดับ หลังจากนี้อีก 7 วัน ทำการฉีดพ่นด้วยสารครั้งที่ 2 นับจำนวนแมลงและนำมาหาค่าเปอร์เซ็นต์การลดลง พบว่า แปลงที่ฉีดด้วยไคโตซานร่วมกับน้ำหมักอินทรีย์มีประสิทธิ์ภาพมากที่สุดในการควบคุมเพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว แมลงชนิดอื่นๆ และแมลงศัตรูพืชในภาพรวม โดยมีเปอร์เซ็นต์การลดลงเท่ากับ 48.52 30.97 84.75 และ 52.82 % และยังสามารถควบคุมไม่ให้มีจำนวนหนอนกระทู้ เพิ่มขึ้น โดยมีเปอร์เซ็นต์การลดลงเท่ากับ 0 % ดังนั้น หากต้องการแนะนำให้เกษตรกรปลูกแตงกวาปลอดสารพิษ หรือใช้สารอินทรีย์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช แนะนำให้ใช้ไคโตซานร่วมกับน้ำหมักอินทรีย์ โดยทำการฉีดพ่นมากกว่า 1 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถควบคุมแมลงศัตรูแตงกวาได้หลากหลายชนิด รองลงมาคือการใช้ไคโตซาน และน้ำหมักอินทรีย์ ตามลำดับ
ผู้วิจัย พุทรงค์ ชินภาชน์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89494 ครั้ง ดาวน์โหลด 15 ครั้ง
ผลของ Heat Treatment ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์
ภายหลังการเก็บเกี่ยว
Effect of Heat Treatment on the Postharvest Quality Changes
of Rosoe Apple(Eugenia javanicalamk.)
โดย นายพุทรงค์ ชินภาชน์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ heat treatment ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ภายหลังการเก็บเกี่ยว โดยวางแผนการทดลองแบบ 4x3 Factorial in Completely Randomized Design (CRD) โดยใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 40 45 50 และ 55 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 0 30 และ 60 วินาที เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้แช่น้ำร้อน ผลการทดลอง พบว่า การทำ heat treatment นอกจากมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคแล้วยังสามารถรักษาคุณภาพของผลิตผลไว้ได้ ทำให้ชมพู่ทับทิมจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงสีเปลือกและสีเนื้อช้าลง และช่วยชะลอขบวนการย่อยอาหารสะสมและการเปลี่ยนแป้งไปเป็นน้ำตาล โดยอุณหภูมิของน้ำร้อนและระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำ heat treatment คือ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วินาที มีประสิทธิภาพโดยรวมดีที่สุด สามารถช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของชมพู่ทับทิมจันทร์ตลอด 9 วัน ที่เก็บรักษาในตู้ควบคุมอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองอื่น (p≤0.01)
ผู้วิจัย กนกภรณ์ สุภเสถียร และ สมฤทัย จันทร์สมัคร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89679 ครั้ง ดาวน์โหลด 20 ครั้ง
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างแป้งข้าวเจ้าต่อแป้งมันสำปะหลังที่แตกต่างกัน 3 ระดับคือ 1:0 1:0.3 และ 1:1 และลักษณะผิวสัมผัสของชิ้นกล้วย 3 ลักษณะได้แก่ ผิวเรียบผิวหยัก และผิวขรุขระที่มีผลต่อร้อยละการเกาะติดของลักษณะบ่งชี้คุณภาพกล้วยแขกพบว่า สูตร 1:0 ให้ค่าความหนืดสูงสุดรองลงมาคือ 1:0.3 และ 1:1 ตามลำดับ โดยให้ค่าความหนืดเป็น 5574.43 cP 403.72 cPและ 221.84 cPตามลำดับ ความหนืดไม่มีผลต่อร้อยละการเกาะติด ผิวสัมผัสที่มีลักษณะขรุขระที่เกิดจากการรวมตัวของแป้งคลุกซึ่งดูดซับความชื้นจากผิวของชิ้นกล้วยจะให้ร้อยละการเกาะติดสูงที่สุดคือ ร้อยละ 57.27 ในขณะที่ผิวหยักและผิวเรียบให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ