งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ฐิติพร ภักดีโสภา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88751 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for
Schizophylum commune Production
โดย นางสาวฐิติพร ภักดีโสภา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% (Control) กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% ไมยราบยักษ์ 50% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75% และกลุ่มทดลองที่ 5 ไมยราบยักษ์ 100% ผลการทดลองพบว่าการใช้ไมยราบยักษ์ 100% (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนขี้เลื่อยได้ เนื่องจากมีน้าหนักผลผลิตดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด (21.4 กรัมต่อถุง) และใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกน้อยที่สุด (12.7 วัน) ดอกเห็ดที่ได้มีขนาดใหญ่ จึงทาให้มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยน้อย (63.1 ดอกต่อถุง) แต่ขนาดของดอกตรงกับความต้องการของตลาด รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ร่วมกับไมยราบยักษ์ 75% (กลุ่มทดลองที่ 4) มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอก และ น้าหนักผลผลิตดอกเห็ดสดเฉลี่ยปานกลางคือ 15.9 วัน และ 10.2 กรัมต่อถุง ตามลาดับ และมีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 85.7 ดอกต่อถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% (กลุ่มทดลอง-
ที่ 1) ใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุด (27.5 วัน) และมีน้าหนักผลผลิตดอกเห็ดสดเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 5.9 กรัมต่อถุง จึงไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดแครง นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนไมยราบยักษ์ในวัสดุเพาะ พบว่า เมื่อมีการเพิ่มสัดส่วนของไมยราบยักษ์มากขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อสั้นลงและมีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากขึ้น
คาสาคัญ เห็ดแครง ฟางข้าว ผลผลิต
ผู้วิจัย วิริญจ์ อรรคธรรม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89600 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง
ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์
จากน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
Efficiency of Herbal Extracts on Inhibiting Microorganisms from
Vase Solutions of Cut ChrysanthemumFlowers (Dendranthemumgrandiffloracv.Yuko)on Culture Media
โดย นางสาววิริญจ์ อรรคธรรม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพร5 ชนิด (ใบพลู ใบโหระพา ลำต้นตะไคร้ เหง้าขมิ้น และเหง้าข่า)ต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์
ยูโกะโดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือการทดลองที่ 1)ศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ของพืชสมุนไพร5 ชนิด คือ ใบพลู ใบโหระพา ลำต้นตะไคร้ เหง้าขมิ้น และเหง้าข่าที่ความเข้มข้นเท่ากัน คือ 100,000 ppm ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะโดยทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยวิธี Disc diffusion methodพบว่าสารสกัดจากใบพลูสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีที่สุด และการทดลองที่ 2)ศึกษาระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากสมุนไพรที่เหมาะสมที่สุด ในการลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะโดยทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยวิธี Disc diffusion methodพบว่าสารสกัดจากใบพลู ที่ระดับความเข้มข้น 20,000ppm เป็นระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดในการลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะ ดังนั้น จากผลการทดลองครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อยืดอายุการปักแจกันของไม้ตัดดอกทดแทนการใช้สารเคมี และรักษาคุณภาพไม้ตัดดอกให้คงคุณภาพดีและก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดต่อไป
ผู้วิจัย ปิยะพร ทองจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88842 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on
Growth and Yield of Bottle Gourd White Baron
โดย นางสาวปิยะพร ทองจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน โดยวางแผนการทดลอง
แบบ RCBD โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้่าๆ ละ 50 ต้น ขนาดแปลง กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลวัว กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลสุกร และ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักเปลือกผลไม้ ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จ่านวนใบเฉลี่ย น้่าหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น น้่าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยต่อแปลง และเปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยต่อแปลงมากที่สุด คือ 28.26 เซนติเมตร 12.84 ใบต่อต้น 358.76 กรัมต่อต้น 15.24 กิโลกรัมต่อแปลง และ 46.10 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้มีแนวโน้มให้ เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกะหล่่าเฉลี่ย และผลผลิตเกรด B มากที่สุดคือ 5.52 เซนติเมตร และ 48. 80 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ ส่วนผลผลิตตกเกรด อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลไก่ มีความสูงเฉลี่ย 22.29 เซนติเมตร จ่านวนใบเฉลี่ย 10.79 ใบต่อต้น น้่าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย 5.12 กิโลกรัมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยต่อแปลง 23.40 เปอร์เซ็นต์ และ มีแนวโน้มให้เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกะหล่่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.45 เซนติเมตร
ค่าส่าคัญ กะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยโบกาฉิ ปุ๋ยน้่าหมักอินทรีย์
ผู้วิจัย พิลาวรรณ จันทะโคตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88416 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
เรื่อง ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ Effect of BA Combination with NAA on Shoot Multiplication of Musa (AAA group ) ‘Kluai Nak’ in vitro
โดย นางสาวพิลาวรรณ จันทะโคตร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อ การเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD แบ่งการทดลองออกเป็น 18 กลุ่มทดลอง เป็นระยะเวลา 84 วัน ผลการทดลอง พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 14 วัน และมีการพัฒนาของชิ้นส่วนเป็นต้นกล้ากล้วยนากได้อย่างชัดเจน แต่จำนวนยอดใหม่ ความสูงของยอดใหม่ จำนวนราก ความยาวราก และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง คือ 0.3 ยอด/ ชิ้นส่วน 3.75 เซนติเมตร 26 ราก/ ชิ้นส่วน 5.70 เซนติเมตรและ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 9 mg/l ร่วมกับ NAA0.3mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่ ปานกลาง คือ 35 วัน และสามารถเพิ่มปริมาณยอดของหน่อกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อมากที่สุด คือ 0.5 ยอด/ ชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของเนื้อเยื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ แนะนำให้ใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 mg/l ร่วมกับ NAA 0.3 mg/l แต่หากต้องการให้ชิ้นส่วนพัฒนาเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ควรเลือกใช้สูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l