งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93049
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93011
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92390

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและ ผลผลิตข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่งในสภาพแปลงทดลอง
ผู้วิจัย นายเอนกพงษ์ พรมชาติ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88965 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                   ผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพื้นเมือง

                          พันธุ์หอมทุ่งในสภาพแปลงทดลอง

                          Effects of Azolla Extract on Growth and Yield of Indigenous

                          Hawm Thung Rice in Plot Experiment

โดย                    นายเอนกพงษ์  พรมชาติ

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต  (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

         งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองในสภาพแปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบ  Randomized Complete  Block  Design  (RCBD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 5 ซ้ำ ขนาดแปลง 2 X 4 เมตร ผลการทดลองพบว่า สารสกัดแหนแดง (อัตรา 500 มิลลิลิตรต่อน้ำ 500 มิลลิลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีแนวโน้มให้จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ น้ำหนักเฉลี่ยต่อกอมากที่สุดและมี น้ำหนักต่อรวง น้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย (ก.ก/ไร่) ดีที่สุดคือ 4.26 ต้นต่อกอ 5.20 รวงต่อกอ 337.40 กรัมต่อกอ 96.80 กรัมต่อรวง 58.40 กรัมต่อเมล็ดดี 100 เมล็ด 2.28 กิโลกรัมต่อแปลง และ 456 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังให้ความสูงเฉลี่ย ระดับปานกลางคือ 67.96 เซนติเมตร รองลงมาคือ น้ำหมักชีวภาพแหนแดง

มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น มากที่สุดคือ 69.43 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ยต่อกอ และ     น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยปานกลางคือ 335 กรัมต่อกอ และ 1.70 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร

(336 กิโลกรัมต่อไร่) ในขณะที่ ปุ๋ยน้ำทางการค้า มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวน้อยที่สุดคือ 57.56 เซนติเมตร และให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 1.60 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร

(320 กิโลกรัมต่อไร่) ดังนั้นการใช้สารสกัดหรือน้ำหมักชีวภาพจากแหนแดง ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีผลช่วยส่งเสริม การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าว



การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน
ผู้วิจัย ฐิติรัตน์ โกกะพันธ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88699 ครั้ง ดาวน์โหลด 51 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on Growth and Yield of Bitter Melon (Momordica charantia Linn.)
โดย นางสาวฐิติรัตน์ โกกะพันธ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จานวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 20 ต้น โดยใช้ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับมูลโค มูลไก่ มูลสุกร และ มูลค้างคาว ผลการทดลองพบว่า ในกลุ่มทดลองที่ 3 คือ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลไก่ (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ มีความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 201.09 เซนติเมตร จานวนดอกที่ติดผลเท่ากับ 40.07 ดอกต่อต้น จานวนผลผลิตรวมเฉลี่ยเท่ากับ 37.34 ผลต่อต้น น้าหนักสดเฉลี่ยเท่ากับ 23.3 กิโลกรัมต่อต้น ความยาวผลสดเฉลี่ยคือ 22.21 เซนติเมตร และมีแนวโน้มให้ผลผลิตเกรด A มากที่สุดคือ 40.20% รองลงมาคือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลสุกร (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) และที่ไม่แนะนาให้ใช้คือ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลค้างคาว (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) เนื่องจาก ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย จานวนผลผลิตรวมเฉลี่ย น้าหนักสดเฉลี่ย ความยาวผลสดเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 120.53 เซนติเมตร 35.67 ดอกต่อต้น 31.33 ผลต่อต้น 17.80 กิโลกรัมต่อต้น และ 16.65 เซนติเมตร ตามลาดับ และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p = 0.01)
คาสาคัญ มะระจีน ปุ๋ยเคมี มูลโค มูลไก่ มูลสุกร มูลค้างคาว



ประสิทธิภาพเหยื่อล่อหอยเชอรี่จากพืช
ผู้วิจัย พรพิศ สมพร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88784 ครั้ง ดาวน์โหลด 11 ครั้ง

ประสิทธิภาพเหยื่อล่อหอยเชอรี่จากพืช

Efficacy of Golden Apple Snail Bait from Plants

โดย                          นางสาวพรพิศ  สมพร

ชื่อปริญญา                วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์ )

ปีการศึกษา         2556

อาจารย์ที่ปรึกษา         อาจารย์  ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

                   ศึกษาประสิทธิภาพในการใช้พืชชนิดต่างๆ เป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่  เพื่อล่อให้หอยเชอรี่กินเหยื่อมากขึ้นหรือล่อให้มารวมกลุ่มกันจำนวนมากและง่ายต่อการกำจัด  วางแผนการทดลองแบบ  Completely  Randomized  Design  (CRD) โดยใช้ใบผักบุ้งใบมันสำปะหลัง ใบมันเทศ และใบมะละกอเปรียบเทียบกับเหยื่อล่อสำเร็จรูปเป็นลักษณะให้หอยเชอรี่เลือกอาหาร (choice test)  ผลการทดลองพบว่าเมื่อถัวเฉลี่ยระยะเวลา  12  ชั่วโมง  เหยื่อล่อใบมันเทศมีประสิทธิภาพดีที่สุด  สามารถล่อหอยเชอรี่ให้มารวมกลุ่มกันได้มากที่สุด  เฉลี่ยคือ  39.31 %  รองลงมาได้แก่  เหยื่อล่ออาหารปลาดุก   ใบผักบุ้ง    ใบมันสำปะหลัง  และใบมะละกอ  มีค่าเท่ากับ   33.49  33.46   28.24  และ  20.95 %  ตามลำดับ  แต่เมื่อวิเคราะห์เป็นรายชั่วโมงพบว่า  การใช้เหยื่อล่อจากใบมันเทศ  จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด  ภายใน  7  ชั่วโมงแรก  รองลงมาคือ  อาหารปลาดุก   ใบผักบุ้ง  และใบมันสำปะหลัง  ในขณะที่เหยื่อล่อใบมะละกอ  อาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้นประมาณชั่วโมงที่  6  ถึง  10  จึงจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด  ดังนั้นถ้าต้องการประสิทธิภาพในการเป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ให้มารวมตัวกัน เพื่อง่ายต่อการป้องกันกำจัดหรือผสมกับเหยื่อพิษภายใน    6  ชั่วโมงแรก  ควรเลือกใช้เหยื่อล่อใบมันเทศ  แต่ถ้า  8   ชั่วโมง  ขึ้นไป  ควรเลือกใช้เหยื่อล่อใบมะละกอ  จึงจะได้ผลดีที่สุด

 



ผลของผงบดพริกไทยดำต่อการควบคุมด้วงงวงข้าว
ผู้วิจัย ปรียานุช อุดมวรรณ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88299 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

ผลของผงบดพริกไทยดำต่อการควบคุมด้วงงวงข้าว
Effect of Black Pepper Powder on Rice Weevil Control
จัดทำโดย นางสาวปรียานุช อุดมวรรณ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
การศึกษาผลของผงบดพริกไทยดำต่อการควบคุมด้วงงวงข้าว โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วย 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่ การใช้ผงบดพริกไทยดำ 0, 1, 5, 10, 15 และ 20 กรัมต่อขวด จำนวน 10 ซํ้า พบว่ากลุ่มทดลองที่ 6 ใส่พริกไทยดำ 20 กรัมต่อขวด มีความเหมาะสมที่สุดในการควบคุมด้วงงวงข้าว เนื่องจากมีจำนวนการตายเฉลี่ยของด้วงงวงข้าวสูงที่สุด คือ 6.90, 8.80, 9.80 และ 10.00 ตัว ที่เวลา 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง ตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P≤0.01) มีเปอร์เซ็นต์การตายที่แท้จริงของด้วงงวงข้าวมากที่สุด คือ 65.88%, 82.34%, 95.99% และ 99.66% ที่เวลา 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นที่ทำให้ด้วงงวงข้าวตาย 50 เปอร์เซ็นต์ (LC50) ที่ 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง เท่ากับ 17.20, 11.91, 8.54 และ 5.66 กรัมต่อขวด ตามลำดับ และระยะเวลาในการตาย 50% (LT50) ที่ความเข้มข้น 0 (ควบคุม), 1, 5, 10,15 และ 20 กรัมต่อขวด ใช้ระยะเวลาในการตาย 128.43, 96.63, 86.15, 55.75, 36.06 และ 17.45 ชั่วโมง ตามลำดับ จากการทดลองพบว่าการใช้ผงบดพริกไทยดำ ความเข้มข้น 20 กรัมต่อขวด ใช้ระยะเวลาในการตายของด้วงงวงข้าว 50% น้อยที่สุด


เข้าสู่ระบบ