งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย สุภาวดี วงษาลุน | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88872 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ลาต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม
Using Chopped Corn Stalk to Substitute Sawdust for
Growing Oyster Mushroom
โดย นางสาวสุภาวดี วงษาลุน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาเปรียบเทียบการใช้ลาต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้าหนักแห้ง) ผลการทดลองพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ลาต้นข้าวโพดสับ 25% เป็นอัตราส่วนที่มีความเหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทน ขี้เลื่อยได้ในการเพาะเห็ดนางรมเนื่องจาก มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยเร็วที่สุดคือ 21.26 วัน มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 12.8 ดอก/ถุง และมีน้าหนักผลผลิตสดปานกลางรองลงมาจากการใช้ขี้เลื่อยคือ 40.65 กรัม/ถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยและจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยปานกลาง คือ 22.46 วัน และ 11.62 ดอก/ถุง ตามลาดับ แต่มีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 42.79 กรัม/ถุง ส่วนอัตราส่วนที่ไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดนางรมคือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ลาต้นข้าวโพดสับ 75% และการใช้ขี้เลื่อย 50% ลาต้นข้าวโพดสับ 50% เนื่องจากดัชนีตัวชี้วัดทุกตัวมีค่าน้อยที่สุดและไม่แตกต่างกันทางสถิติ
5
คาสาคัญ เห็ดนางรม ลาต้นข้าวโพดสับ ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต
ผู้วิจัย ศิรัญญา ละดาดก และ ลดาวัลย์ เบิกบาน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91004 ครั้ง ดาวน์โหลด 171 ครั้ง
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเตรียมแป้งที่มีผลต่อปาท่องโก๋แช่เยือกแข็งโดยศึกษาผลของกระบวนการเตรียมแป้งปาท่องโก๋ก่อนการแช่เยือกแข็งที่แตกต่างกัน คือ แป้งขึ้นรูป (ไม่ทอด) และ แป้งขึ้นรูปทอด 2 นาที ก่อนการแช่เยือกแข็งด้วยวิธีแช่เยือกแข็งแบบช้าที่อุณหภูมิ –18๐C ที่มีผลต่อ ปริมาณไขมัน สี เนื้อสัมผัสของตัวอย่างหลังการทอดปาท่องโก๋ และการยอมรับของผู้บริโภค พบว่า ปาท่องโก๋ที่เตรียมจากแป้งทอด 2 นาที ที่อุณหภูมิ 170 – 180๐C จะให้ค่า L* a* และ b* เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุม (P≤0.05) ผลการวิเคราะห์ปริมาณไขมัน พบว่าปาท่องโก๋ที่เตรียมจาก แป้งขึ้นรูปมีปริมาณไขมันที่น้อยกว่าตัวอย่างควบคุม และแป้งทอด 2 นาที โดยมีค่าร้อยละ 8.87 21.75 และ 15.32 ตามลำดับ (P≤0.05) ผลของการวิเคราะห์เนื้อสัมผัส โดยใช้เครื่องมือ Texture profile analyser พบว่าปาท่องโก๋ที่เตรียมจากแป้งทอด 2 นาที มีค่าความกรอบที่สูงกว่าตัวอย่างควบคุม (P≥0.05) ส่วน ค่าความแข็งมีค่าที่ต่ำกว่าตัวอย่างควบคุม (P≤0.05) ด้านผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของปาท่องโก๋แช่เยือกแข็ง พบว่า แป้งทอด 2 นาทีได้รับการยอมรับทางลักษณะปรากฏ สี เนื้อสัมผัส และความชอบรวม จากผู้ประเมินสูงสุดจึงถือว่าเป็นสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตต่อไปในอนาคต
ผู้วิจัย ฐิติกร บัวใหญ่ และ | ปีที่พิมพ์ 0 | อ่าน 89090 ครั้ง ดาวน์โหลด 20 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัดไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี
ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล
Comparison of Chemical Fertilizer and Chitosan Efficiency
On Growth and Yield of Apples Cantaloupe
โดย นายฐิติกร บัวใหญ่
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัด
ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล และ เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 38 ต้น ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ชุดควบคุม ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 และสูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการปลูกแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ลได้ เนื่องจากมีแนวโน้มน้ำหนักเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย และเส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 65.95 กรัม 1149.7 กรัม และ 4.46 เซนติเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับ
ไคโตซาน (อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ทำให้มีความยาวเถาเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ยมากที่สุดคือ 80.38 เซนติเมตร และ 23.83 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีแนวโน้มให้น้ำหนักเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ยต่ำที่สุด และให้ผลผลิตตกเกรดมากที่สุด เท่ากับ 53.79 กรัม 603.7 กรัม 14.91 เปอร์เซ็นต์ 2.70 เซนติเมตร และ 13.73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ผู้วิจัย ผกาแก้ว ทาระเกต และคณะวิจัย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88634 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง