งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ปรียานุช อุดมวรรณ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90469 ครั้ง ดาวน์โหลด 49 ครั้ง
การศึกษาผลของผงบดพริกไทยดำต่อการควบคุมด้วงงวงข้าว โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) ประกอบด้วย 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่ การใช้ผงบดพริกไทยดำ 0, 1, 5, 10, 15 และ 20 กรัมต่อขวด จำนวน 10 ซํ้า พบว่ากลุ่มทดลองที่ 6 ใส่พริกไทยดำ 20 กรัมต่อขวด มีความเหมาะสมที่สุดในการควบคุมด้วงงวงข้าว เนื่องจากมีจำนวนการตายเฉลี่ยของด้วงงวงข้าวสูงที่สุด คือ 6.90, 8.80, 9.80 และ 10.00 ตัว ที่เวลา 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง ตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P≤0.01) มีเปอร์เซ็นต์การตายที่แท้จริงของด้วงงวงข้าวมากที่สุด คือ 65.88%, 82.34%, 95.99% และ 99.66% ที่เวลา 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง ตามลำดับ และเมื่อวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นที่ทำให้ด้วงงวงข้าวตาย 50 เปอร์เซ็นต์ (LC50) ที่ 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมง เท่ากับ 17.20, 11.91, 8.54 และ 5.66 กรัมต่อขวด ตามลำดับ และระยะเวลาในการตาย 50% (LT50) ที่ความเข้มข้น 0 (ควบคุม), 1, 5, 10,15 และ 20 กรัมต่อขวด ใช้ระยะเวลาในการตาย 128.43, 96.63, 86.15, 55.75, 36.06 และ 17.45 ชั่วโมง ตามลำดับ จากการทดลองพบว่าการใช้ผงบดพริกไทยดำ ความเข้มข้น 20 กรัมต่อขวด ใช้ระยะเวลาในการตายของด้วงงวงข้าว 50% น้อยที่สุด
ผู้วิจัย พิลาวรรณ จันทะโคตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88435 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
เรื่อง ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ Effect of BA Combination with NAA on Shoot Multiplication of Musa (AAA group ) ‘Kluai Nak’ in vitro
โดย นางสาวพิลาวรรณ จันทะโคตร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อ การเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD แบ่งการทดลองออกเป็น 18 กลุ่มทดลอง เป็นระยะเวลา 84 วัน ผลการทดลอง พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 14 วัน และมีการพัฒนาของชิ้นส่วนเป็นต้นกล้ากล้วยนากได้อย่างชัดเจน แต่จำนวนยอดใหม่ ความสูงของยอดใหม่ จำนวนราก ความยาวราก และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง คือ 0.3 ยอด/ ชิ้นส่วน 3.75 เซนติเมตร 26 ราก/ ชิ้นส่วน 5.70 เซนติเมตรและ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 9 mg/l ร่วมกับ NAA0.3mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่ ปานกลาง คือ 35 วัน และสามารถเพิ่มปริมาณยอดของหน่อกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อมากที่สุด คือ 0.5 ยอด/ ชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของเนื้อเยื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ แนะนำให้ใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 mg/l ร่วมกับ NAA 0.3 mg/l แต่หากต้องการให้ชิ้นส่วนพัฒนาเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ควรเลือกใช้สูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l
ผู้วิจัย วิริญจ์ อรรคธรรม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89619 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง
ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์
จากน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
Efficiency of Herbal Extracts on Inhibiting Microorganisms from
Vase Solutions of Cut ChrysanthemumFlowers (Dendranthemumgrandiffloracv.Yuko)on Culture Media
โดย นางสาววิริญจ์ อรรคธรรม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพร5 ชนิด (ใบพลู ใบโหระพา ลำต้นตะไคร้ เหง้าขมิ้น และเหง้าข่า)ต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์
ยูโกะโดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือการทดลองที่ 1)ศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ของพืชสมุนไพร5 ชนิด คือ ใบพลู ใบโหระพา ลำต้นตะไคร้ เหง้าขมิ้น และเหง้าข่าที่ความเข้มข้นเท่ากัน คือ 100,000 ppm ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะโดยทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยวิธี Disc diffusion methodพบว่าสารสกัดจากใบพลูสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีที่สุด และการทดลองที่ 2)ศึกษาระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากสมุนไพรที่เหมาะสมที่สุด ในการลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะโดยทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยวิธี Disc diffusion methodพบว่าสารสกัดจากใบพลู ที่ระดับความเข้มข้น 20,000ppm เป็นระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดในการลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะ ดังนั้น จากผลการทดลองครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อยืดอายุการปักแจกันของไม้ตัดดอกทดแทนการใช้สารเคมี และรักษาคุณภาพไม้ตัดดอกให้คงคุณภาพดีและก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดต่อไป
ผู้วิจัย ธัญญา ยมมา และ พักตร์จิรา วงศ์ทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89401 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
แนวโน้ม 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้ามะพร้าวแห้งเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบมะพร้าวที่ผลิตในประเทศมีแนวโน้มลดลง ผู้ผลิตจึงต้องนำเข้าเนื้อมะพร้าวแช่แข็งจากต่างประเทศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการผลิตน้ำกะทิคืนรูปจากองค์ประกอบที่มีอยู่ ได้แก่ น้ำ น้ำมันมะพร้าว โปรตีน และน้ำตาล โดยศึกษาผลของโปรตีน 2 ชนิดคือโปรตีนนมและโปรตีนถั่วเหลือง รูปแบบการแปรรูป 3 ระดับ คือLow Temperature Long Time (LTLT, 63๐C นาน 30นาที) High Temperature Shot Time (HTST, 72๐C นาน 15 วินาที)และ Sterilize 121 ๐C นาน 15 นาที และอิมัลซิไฟเออร์คือ PolyoxyethyleneSorbitanMonostearate(Tween 60) จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้านกายภาพ ได้แก่ การวัดค่าสี L*a*b* ค่าความหนืดและการแยกชั้นครีม พบว่า ตัวอย่างที่มีการเติมโปรตีนนมมีค่าสี L* และ b*มากกว่าตัวอย่างควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) แต่ค่าสี b*น้อยกว่าตัวอย่างที่เติมโปรตีนถั่วเหลืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ตัวอย่างที่เติมโปรตีนนมและโปรตีนถั่วเหลืองมีค่าความหนืดน้อยกว่าตัวอย่างควบคุม คือ 89.29 89.71 และ 136.24 cPตามลำดับ ตัวอย่างที่เติมโปรตีนถั่วเหลืองเกิดการแยกชั้นครีมช้ากว่าโปรตีนนม การให้ความร้อนอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าสี L* ลดลง และค่า b*เพิ่มขึ้นในทุกๆตัวอย่าง เนื่องจากในกะทิคืนรูปมีส่วนผสมของน้ำตาลเมื่อได้รับความร้อนจึงเกิดปฏิกิริยาเมลลาร์ดและโปรตีนถั่วเหลืองมีสีครีม อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่าความหนืด และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของตัวอย่างที่เติมโปรตีนนมกับโปรตีนถั่วเหลืองมีผลทำให้เกิดการแยกชั้นครีมเร็ว การเติมอิมัลซิไฟเออร์Tween 60 เป็นอิมัลซิไฟเออร์ที่มีค่า HLB =14.9 เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ พบว่าตัวอย่างที่เติม Tween 60 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสี L* แต่ค่าสี b* เพิ่มขึ้นเมื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 121 ๐C นาน 15 นาที ตัวอย่างที่เติม Tween 60 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่าความหนืด ส่วนตัวอย่างที่เติม Tween 60 เกิดการแยกชั้นครีมช้ากว่าตัวอย่างที่ไม่เติม Tween 60