งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93098
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93060
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92430

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของข้าวหอมนิลในนาแบบเปียกสลับแห้ง
ผู้วิจัย สัจจะ ศรีระทา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88951 ครั้ง ดาวน์โหลด 20 ครั้ง

เรื่อง   ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมนิล

ในนาแบบเปียกสลับแห้ง

Study of Chemical Fertilizer Rate on Growth and Yield of Hom Nin Rice Variety Under Alternating  Wetting and Drying Condition

โดย                              นาย สัจจะ  ศรีระทา

ชื่อปริญญา                  วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2556

อาจารที่ปรึกษา           อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา

 

การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมนิลในสภาพนาเปียกสลับแห้ง โดยทำการศึกษา ณ แปลงทดลองของเกษตรกร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก  (Randomized Complete Block Design, RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 4  กลุ่มทดลองๆละ3ซ้ำ ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยกลุ่มทดลองที่ 2ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่กลุ่มทดลองที่3ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร

16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ และกลุ่มทดลองที่4ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 45 กก./ไร่ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา45 กก./ไร่ ทำให้ข้าวหอมนิล มีความสูงช่วง 30 และ 60 วัน จำนวนรวงต่อกอน้ำหนักเมล็ดข้าวจำนวน100 เมล็ดค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว และผลผลิตเมล็ดข้าว มีค่าสูงที่สุด แต่เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกกลุ่มทดลองนอกจากนี้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง สามารถลดต้นทุนการผลิต เป็นการใช้น้ำแบบประหยัดแต่ยังคงให้ผลผลิตข้าวในอัตราที่สูง จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในการปลูกข้าวในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำได้



การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ ข้าวพันธุ์กข10
ผู้วิจัย สุดสะดา สีอาโนไท | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88996 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง

การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

ข้าวพันธุ์กข10

                          Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of

RD10 Rice

โดย              นางสาวสุดสะดา      สีอาโนไท

ชื่อปริญญา     วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา       2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม     หาญพิชิตวิทยา

 

            การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์กข10 โดยวางแผนการทดลองแบบComplete Randomized Design ; CRD)จำนวน 11 กลุ่มทดลองๆละ 3 เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผลปรากฏว่า การใช้ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ร่วมกับปุ๋ย 20-20-20 ความเข้มข้น2% ทุกๆ 14 วัน มีน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย มากที่สุด คือ 15.33 กรัม และมีความสูงเฉลี่ย จำนวนรวงต่อต้น และน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ดปานกลาง คือ 68 ซม. 10.3 รวงต่อต้น และ 3.06 กรัม ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การฉีดพ่นปุ๋ยเคมี 20-20-20 ความเข้มข้น 2% ทุกๆ 7 วัน มีจำนวนรวงต่อต้นมากที่สุด คือ 11.3 รวงต่อต้น ส่วนค่าดัชนีชี้วัดตัวอื่นๆ มีค่าปานกลาง

 



ผลของการใช้กากปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณน้ำนมและองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนมในโครีดนม
ผู้วิจัย ศิริชัย เที่ยงธรรมและคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88381 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง



ผลของสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียว กวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
ผู้วิจัย เมธาวรรณ ถันทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89760 ครั้ง ดาวน์โหลด 102 ครั้ง

ผลของสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียว

กวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์

Effects of Chitosan on Growth and Yield of Chinese Cabbage-PAI

TSAI in Hydroponics System

โดย                        นางสาวเมธาวรรณ ถันทอง

ชื่อปริญญา     วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา  2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

            ศึกษาผลของสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 6 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 6 ซ้ำๆละ 25 ต้น  รวมจำนวนหน่วยทดลองทั้งหมด 36 หน่วยทดลอง  เป็นระยะเวลา 35 วัน ผลการทดลอง พบว่าการพ่นสารไคโตซานความเข้มข้น 0.08% มีผลทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดเขียวกวางตุ้งเพิ่มขึ้น ต่างจากชุดควบคุมที่ใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความยาวรากจำนวนใบและน้ำหนักสดต้น  รองลงมาคือ การใช้สารไคโตซานความเข้มข้น 0.06%ไม่พ่นสารไคโตซาน พ่นสารไคโตซานความเข้มข้น 0.04%  0.02% และ 0.01% ตามลำดับดังนั้น ระดับความเข้มข้นสารไคโตซานที่เหมาะสมที่สุดในการเพาะปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้ง คือ ไคโตซานความเข้มข้น 0.08%

 


เข้าสู่ระบบ