งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ศุภชัย ศรีสุวรรณ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89975 ครั้ง ดาวน์โหลด 61 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและ การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดหวาน (ลูกผสมท๊อปสวีท 1320) ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง Effect of Seed Priming with Salicylic Acid on Seed Germination and Seedling Growth of Sweet Corn (Zea mays cv. Top sweet 1320) Under Drought Stress โดย นายศุภชัย ศรีสุวรรณ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ภาคเรียนที่ 2557 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดหวาน (ลูกผสมท๊อปสวีท 1320) ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง การทดลองนี้แบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาความเข้มข้นของกรดซาลิไซลิกต่อการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะที่ความเข้มข้น 0 0.25 0.5 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ ผลการทดลองพบว่า เมล็ดที่แช่ในสารในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.25 มิลลิโมลาร์ มีเปอร์เซ็นต์การงอกและ ความยาวรากเฉลี่ยมากที่สุด คือ 62.67 เปอร์เซ็นต์ และ 12.59 เซนติเมตร ตามลาดับ และการทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของต้นกล้าในสภาวะแห้งแล้ง โดยงดให้น้าเป็นเวลา 7 วัน เมื่อปลูกครบ 2 สัปดาห์ พบว่า การแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิก และอยู่ในสภาวะแล้ง ต้นกล้ามีความสูงลาต้นและรากสด น้าหนักสดลาต้นและราก น้าหนักแห้งลาต้นและราก มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมและชุดที่แช่เมล็ดในน้ากลั่นและอยู่ในสภาวะแล้ง นอกจากนี้การแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิก และอยู่ในสภาวะแล้งมีอัตราส่วนน้าหนักสดรากต่อลาต้นแตกต่าง จากชุดควบคุม คือ 0.59 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการแช่ในกรดซาลิไซลิกก่อนการปลูกช่วยกระตุ้นให้พืช มีการปรับตัวและเจริญเติบโตในสภาวะแห้งแล้งได้ จากการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.25 มิลลิโมลาร์ ทาให้ต้นกล้าข้าวโพดหวาน มีความสามรถในการทนแล้งได้ดีที่สุด
คาสาคัญ กรดซาลิไซลิก ข้าวโพดหวานลูกผสมท๊อปสวีท 1320 สภาวะแห้งแล้ง
สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin
ผู้วิจัย นายภาณุวัฒน์ บุญพิชิตทรชน | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88432 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ประสิทธิภาพสารสกัดจากพืชในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวพันธุ์หอมทุ่ง
Efficacy of Plant Extracts for Hawm Thung Rice Insect Pests Control
โดย นายภาณุวัฒน์ บุญพิชิตทรชน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชในท้องถิ่น เปรียบเทียบกับสารสกัดจากพืชทางการค้า ในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวพันธุ์พื้นเมือง ข้าวหอมทุ่ง วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete Block Design (RCBD) จานวน 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 5 ซ้า ดังนี้ สารสกัดจากแมงลักคา สารสกัดจากผกากรองป่า สารสกัดจากแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่า และสารสกัดจาก สะเดา (การค้า) ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตรา 500 มิลลิลิตร ต่อน้า 500 มิลลิลิตร ห่างกันทุกๆ 7 วัน เมื่อข้าวเริ่มออกรวง ผลการทดลองพบว่า การใช้สารสกัดแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่า มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีแนวโน้มให้จานวนเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว และ แมลงสิง ลดลงมากที่สุด โดยการฉีดพ่นครั้งที่ 5 มีจานวนเพลี้ยจั๊กจั่นลดลง 95.35 เปอร์เซ็นต์ ในขณะเดียวกันสามารถทาให้จานวนแมลงสิงลดลง 100 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการฉีดพ่นครั้งที่ 4 เท่านั้น นอกจากนี้ การใช้สารสกัดแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่ายังมีน้าหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด คือมีค่าเท่ากับ 2.06 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร หรือ 412 กิโลกรัมต่อไร่ และมีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์เมล็ดข้าวที่ถูกแมลงสิงทาลายน้อยที่สุด คือ 7.36 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ สาหรับการควบคุมเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว คือ สารสกัดจากแมงลักคา สามารถทาให้เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียวลดลง 94.44 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้สารสกัดสะเดาทางการค้า และมีน้าหนักผลผลิตเฉลี่ย 1.92 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร หรือ 384 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการควบคุมแมลงสิง พบว่า การใช้สารสกัดจากผกากรองป่า สามารถทาให้แมลงสิงลดลง 93.33 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าแตกต่างทางสถิติ (p=0.01) จากการใช้สารสกัดสะเดาทางการค้า ที่ทาให้แมลงสิงลดลง 88.89 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการควบคุมทั้งเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว และ แมลงสิง ซึ่งเป็นแมลงศัตรูข้าวพันธุ์หอมทุ่ง แนะนาให้ใช้ สารสกัดแมงลักคาร่วมกับผกากรองป่า จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงทั้ง 2 ชนิด ได้ดีกว่าการใช้สารสกัดอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว
ผู้วิจัย วิภารัตน์ พิจารณ์ และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88702 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดใบแคป่า โดยใช้ 95% เมทานอลเป็นตัวทำละลาย ผลผลิตร้อยละของสารสกัดแคป่าอยู่ที่ 29.52 ผลการศึกษาการหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดอยู่ที่ 9.59±0.2362 mg GAE/g ของสารสกัดหยาบและปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดอยู่ที่ 5.04±0.20 mg QE/g ของสารสกัดหยาบ การศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH· และ reducing power ของสารสกัดจากใบแคป่า พบว่าสารสกัดแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ DPPH·โดยมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 168.50±1.17 mg/L ความสามารถในการรีดิวซ์พบว่า สารสกัดใบแคป่ามีความสามารถในการรีดิวซ์เหล็กและมีฤทธิ์เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นที่ใช้ การทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Agar well diffusion พบว่า สารสกัดใบแคป่ายังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบางตัวได้ไม่ดี แต่เชื่อว่าสารประกอบจากใบแคป่าน่าจะได้รับการพัฒนาเป็นยารักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระได้
คำสำคัญ : สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และ
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
Title Antioxidant Capacity and Antibacterial Activity of Against Some Selected Human Pathogenic Khae-Pa Leave Extracts
Authors Wipharat Phijan
Mathawee paisawang
Thanyarat Thammarot
Advisor Dr.Nualyai Yaraksa
Co-adviser Dr. wareerat sanmanoch
Degree Bachelor of Science (Chemistry)
Year 2015
ABSTRACT
The objectives of this research are to investigating the total phenolics content, total flavonoids content, antioxidant activity and antibacterial activity of leaves khae-pa extracts. The solvent used for extraction was methanol. The yields of crude extracts were 29.52 Total phenolics and total flavonoid contentswere 9.59±0.24 mg GAE/g crude extracts and 5.04±0.20 mg QE/g crude extracts, respectively. The antioxidant capacity of crude extracts was determined by using 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH·) and reducing power assay and antibacterial activity of crude extracts was test against some selected human pathogenic bacteria by using Agar well diffusion method. The result found that the crude extract showed antioxidant activity with IC50 168.50±1.17 mg/L for which DPPH assay. For the reducing capability of crude extracts with reducing power assay, it showed the reducing antioxidant activity and possessed concentration dependence.For antibacterial activity determination, the crude extracts could not inhibit all test bacteria.
Keyword : Total phenolic, Total flavonoids, Antioxidant activity and Antibacterial
activity
ผู้วิจัย ฐิติรัตน์ โกกะพันธ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88725 ครั้ง ดาวน์โหลด 51 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on Growth and Yield of Bitter Melon (Momordica charantia Linn.)
โดย นางสาวฐิติรัตน์ โกกะพันธ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จานวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 20 ต้น โดยใช้ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับมูลโค มูลไก่ มูลสุกร และ มูลค้างคาว ผลการทดลองพบว่า ในกลุ่มทดลองที่ 3 คือ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลไก่ (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ มีความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 201.09 เซนติเมตร จานวนดอกที่ติดผลเท่ากับ 40.07 ดอกต่อต้น จานวนผลผลิตรวมเฉลี่ยเท่ากับ 37.34 ผลต่อต้น น้าหนักสดเฉลี่ยเท่ากับ 23.3 กิโลกรัมต่อต้น ความยาวผลสดเฉลี่ยคือ 22.21 เซนติเมตร และมีแนวโน้มให้ผลผลิตเกรด A มากที่สุดคือ 40.20% รองลงมาคือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลสุกร (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) และที่ไม่แนะนาให้ใช้คือ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลค้างคาว (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) เนื่องจาก ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย จานวนผลผลิตรวมเฉลี่ย น้าหนักสดเฉลี่ย ความยาวผลสดเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 120.53 เซนติเมตร 35.67 ดอกต่อต้น 31.33 ผลต่อต้น 17.80 กิโลกรัมต่อต้น และ 16.65 เซนติเมตร ตามลาดับ และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p = 0.01)
คาสาคัญ มะระจีน ปุ๋ยเคมี มูลโค มูลไก่ มูลสุกร มูลค้างคาว