งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายเอนกพงษ์ พรมชาติ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88959 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพื้นเมือง
พันธุ์หอมทุ่งในสภาพแปลงทดลอง
Effects of Azolla Extract on Growth and Yield of Indigenous
Hawm Thung Rice in Plot Experiment
โดย นายเอนกพงษ์ พรมชาติ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองในสภาพแปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 5 ซ้ำ ขนาดแปลง 2 X 4 เมตร ผลการทดลองพบว่า สารสกัดแหนแดง (อัตรา 500 มิลลิลิตรต่อน้ำ 500 มิลลิลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีแนวโน้มให้จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ น้ำหนักเฉลี่ยต่อกอมากที่สุดและมี น้ำหนักต่อรวง น้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย (ก.ก/ไร่) ดีที่สุดคือ 4.26 ต้นต่อกอ 5.20 รวงต่อกอ 337.40 กรัมต่อกอ 96.80 กรัมต่อรวง 58.40 กรัมต่อเมล็ดดี 100 เมล็ด 2.28 กิโลกรัมต่อแปลง และ 456 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังให้ความสูงเฉลี่ย ระดับปานกลางคือ 67.96 เซนติเมตร รองลงมาคือ น้ำหมักชีวภาพแหนแดง
มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น มากที่สุดคือ 69.43 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ยต่อกอ และ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยปานกลางคือ 335 กรัมต่อกอ และ 1.70 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร
(336 กิโลกรัมต่อไร่) ในขณะที่ ปุ๋ยน้ำทางการค้า มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวน้อยที่สุดคือ 57.56 เซนติเมตร และให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 1.60 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร
(320 กิโลกรัมต่อไร่) ดังนั้นการใช้สารสกัดหรือน้ำหมักชีวภาพจากแหนแดง ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีผลช่วยส่งเสริม การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าว
ผู้วิจัย อุบล พุ่มจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90240 ครั้ง ดาวน์โหลด 190 ครั้ง
ศึกษาอิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีผลต่อการขยายพันธุ์ม่วงเทพรัตน์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 7 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 14 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 5 ซ้ำ ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลองพบว่า เมื่อนำชิ้นส่วนตายอดและตาข้างของม่วงเทพรัตน์มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็นเวลา
4 สัปดาห์ (28 วัน) ชิ้นส่วนและสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงม่วงเทพรัตน์และพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ ชิ้นส่วนตาข้างที่ไม่เติม BA มีจำนวนยอดใหม่มากที่สุด
(5.20 ยอด/ชิ้นส่วน) และมีการพัฒนาของต้นกล้าอย่างรวดเร็ว มีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า
มากที่สุด (2.48 เซนติเมตร) และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงที่สุด (100%) รองลงมาได้แก่
การใช้ชิ้นส่วนตายอดร่วมกับ BA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีการแตกยอดและเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง ได้แก่ 3.60 ยอด/ชิ้นส่วนและ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ผู้วิจัย ปนัดดา สุภาษร | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88725 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง อิทธิพลของ Heiter และน้ำมะนาว ต่อการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟิน-
นาคราชชนิดใบหยาบ
Effect of Heiter and Lemonade on Vase Life of Polynesian Foot Fern
(Davallia solida)
โดย นางสาวปนัดดา สุภาษร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาอิทธิพลของ Heiter และน้ำมะนาว ต่อการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ โดยวางแผนการทดลองแบบ 6x 5Factorial in Completely Randomized Design
เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำประปา) รวมทั้งหมด 31 กลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มทดลองมี 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ก้าน เป็นเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 20 ml มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานที่สุด คือ 21.10 วัน มีเปอร์เซ็นต์การเหลืองของใบน้อยที่สุดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง (26 วัน) คือ 31.76% ของพื้นที่ใบทั้งหมด และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดปานกลาง คือ 9.36% รองลงมาได้แก่ การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 15 ml หรือ 5 ml มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 20.80 วัน และ 20.00 วัน ตามลำดับ และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เท่ากับ 9.40% และ 4.93% ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่า การใช้สารละลาย Heiter ร่วมกับ น้ำมะนาวสำเร็จรูปในความเข้มข้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่า pH ของสารละลายมีความเป็นด่างมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสี ของใบจากสีเขียวเป็นสีเหลืองอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากต้องการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลาย Heiter เท่ากับ 0.1% ร่วมกับการแปรผันความเข้มข้นของน้ำมะนาวสำเร็จรูประหว่าง 5-20 ml และควรปรับ pH ของสารละลายให้มีสภาพเป็นกรด (pH 3-4) จะทำให้สามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานกว่าชุดควบคุม (น้ำประปา) ที่มีอายุการปักแจกันเฉลี่ยเพียง 16.39 วัน และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01)
คำสำคัญ ใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ Heiter น้ำมะนาวสำเร็จรูป การยืดอายุการปักแจกัน
ผู้วิจัย เมธาวรรณ ถันทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89700 ครั้ง ดาวน์โหลด 102 ครั้ง
ผลของสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียว
กวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
Effects of Chitosan on Growth and Yield of Chinese Cabbage-PAI
TSAI in Hydroponics System
โดย นางสาวเมธาวรรณ ถันทอง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 6 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 6 ซ้ำๆละ 25 ต้น รวมจำนวนหน่วยทดลองทั้งหมด 36 หน่วยทดลอง เป็นระยะเวลา 35 วัน ผลการทดลอง พบว่าการพ่นสารไคโตซานความเข้มข้น 0.08% มีผลทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดเขียวกวางตุ้งเพิ่มขึ้น ต่างจากชุดควบคุมที่ใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความยาวรากจำนวนใบและน้ำหนักสดต้น รองลงมาคือ การใช้สารไคโตซานความเข้มข้น 0.06%ไม่พ่นสารไคโตซาน พ่นสารไคโตซานความเข้มข้น 0.04% 0.02% และ 0.01% ตามลำดับดังนั้น ระดับความเข้มข้นสารไคโตซานที่เหมาะสมที่สุดในการเพาะปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้ง คือ ไคโตซานความเข้มข้น 0.08%