งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายภูรีภัทร์ บุญฉิม | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87994 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและ
ผลผลิตหอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ: กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
Effects of Golden Apple Snail Bio-Extract on Growth and Yield of
Shallot cv. Srisaket: A Case Study of Nam Yeun District,
Ubon Ratchathani Province
โดย นายภูรีภัทร์ บุญฉิม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ อัตรา 1: 250 ซีซี มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตแห้งเฉลี่ย มากที่สุด คือ 28.26 เซนติเมตร 47.15 กรัมต่อกอ (1,886 กิโลกรัมต่อไร่) และ 40.48 กรัมต่อกอ (1,619.20 กิโลกรัมต่อไร่) ตามลำดับ ส่วนจำนวนใบต่อต้น อัตราการแตกกอเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางของหัวและความยาวราก มีค่าไม่แตกต่างทางสถิติกับกลุ่มทดลองอื่นๆ รองลงมา ได้แก่ การใช้อัตรา 1 : 500 ซีซี มีความสูงเฉลี่ย 27.16 เซนติเมตร น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย 41.15 กรัมต่อกอ (1,646 กิโลกรัมต่อไร่) และน้ำหนักผลผลิตแห้งเฉลี่ย 37.82 กรัมต่อกอ (1,512.80 กิโลกรัมต่อไร่) ในขณะที่การใช้น้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ อัตรา 1 : 2000 ซีซี มีความสูงเฉลี่ยของต้น และน้ำหนักผลผลิตแห้งเฉลี่ย น้อยที่สุดในกลุ่มของน้ำหมักชีวภาพ แต่มากกว่าการใช้น้ำธรรมดา (control) โดยมีค่าเท่ากับ 26.36 เซนติเมตร และ 31.92 กรัมต่อกอ (1,276.8 กิโลกรัมต่อไร่) แต่มีแนวโน้มให้เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหัวมากที่สุด คือ 1.38 เซนติเมตร ดังนั้นหากเกษตรกรต้องการใช้น้ำหมักชีวภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของหอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ แนะนำให้ใช้ อัตรา 1: 250 ซีซี
ผู้วิจัย ณัฐดนัย สีทองทุม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88852 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
ศึกษาชนิดของวัสดุคลุมดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตพริกขี้หนูลูกผสมF1 พันธุ์ซุปเปอร์ฮอท 2 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) มีทั้งหมด 5 กลุ่มทดลองคือ ไม่คลุมดิน ฟางข้าว หญ้าคา แกลบดิบ และเปลือกมะพร้าวสับคลุมดิน ผลการทดลองพบว่า การใช้วัสดุคลุมดินต่างชนิดกันทุกกลุ่มทดลองให้ความสูงไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนการใช้แกลบดิบคลุมดิน มีแนวโน้มจะให้ความกว้างทรงพุ่มและน้าหนักผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุด
ผู้วิจัย นางสาวริยากร ณุวงษ์ศรี และ นางสาวกาญจนา สุขชัย | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88438 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารแอนตี้ออกซิแดนท์เสริมในสูตรสารละลายเจือ
จางน้าเชื้อสดโตต่ออัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติของอสุจิ โดยใช้แผนการทดลอง
แบบ Randommized Complete Blok Design (RCBD) ใช้น้าจากพ่อพันธุ์ โฮสไตร์ฟรีเชี่ยน จานวน 1 ตัว
รีดน้าเชื้อทุกสัปดาห์ แบ่งน้าเชื้อออกเป็น 5 ส่วน เจือจางด้วยสารสารเจือจาง Egg-Yolk Tris ที่เสริมด้วย
กลุ่ม วิตามิน อี 10 μg/ml (กลุ่มควบคุม) หรือ น้ามันมะกอก 0.6 μg/ml หรือ น้ามันมะพร้าว 0.5 μg/ml
หรือ น้ามันงา 1 μg/ml หรือ น้ามันราข้าว 1μg/ml ทาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ตรวจ
ทุกๆ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติ
ของอสุจิ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ที่ชั่วโมงที่ 0, 24, 48, 72, 96 และ 120
ค้าส้าคัญ: น้าเชื้อสด, แอนตี้ออกซิแดนท์, วิตามิน อี, น้ามันมะกอก, น้ามันมะพร้าว, น้ามันงา, น้ามันราข้าว
Abstract
The purposes of this study were to investigate the effects of supplementation of
antioxidant in bull liquid semen extender on sperm viability, sperm motility and normality.
Experimental design was conducted using Randommized Complete Blok Design (RCBD).
Semen was collected from one Holstein Friesian bull once a week for tour week and
divided into 5 portions for each treatment. Semen were diluted with egg-yolk tris diluted
supplemented with vitamin E 10 μg/ml (control) or olive oil 0.6 μg/ml or coconut oil 0.5 μg/ml
or sesame oil 1 μg/ml or rice bran oil 1 μg/ml. Diluted semen were stored at 5° C and
examined for semen quality every 24 hours for 4 days. It was found that there semen viability,
sperm motility and normality. Were not significant different among treatment (p> 0.05) on
days 0, 24, 48, 72, 96 and 120.
Keywords: liquid semen, antioxidant, vitamin E, olive oil, coconut oil, sesame oil, rice bran oil
ผู้วิจัย ธีระศักดิ์ สุวะชัย และ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89431 ครั้ง ดาวน์โหลด 55 ครั้ง
ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ด
และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52
ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
Effect of Seed Priming with Salicylic Acid on Seed Germination
and Seedling Growth of Waxy Corn (Zea may var. Tian-lai 52)
Under Drought Stress
โดย นายธีระศักดิ์ สุวะชัย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง การทดลองนี้แบ่งเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1) ศึกษาความเข้มข้นของกรดซาลิไซลิกต่อการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะ ที่ความเข้มข้น 0.25 0.5 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ พบว่าเมล็ดที่แช่ใน สารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีผลทำให้เมล็ดข้าวโพดมีการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะมากที่สุด และการทดลองที่ 2).ศึกษาผลของการแช่เมล็ดใน กรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าในสภาวะแห้งแล้ง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ 1 แช่ในนํ้ากลั่นแล้วได้รับนํ้าตามปกติ กลุ่มที่ 2.แช่นํ้ากลั่นแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง และกลุ่มที่ 3.แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง นำไปปลูกในเรือนเพาะชำ โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับนํ้าปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 ทำให้อยู่ในสภาวะแล้งโดยงดรดนํ้าเป็นเวลา 7 วัน เมื่อปลูกครบ 2 สัปดาห์ พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกมีความยาวลำต้นและรากสด น้ำหนักสดลำต้นและราก และน้ำหนักแห้งลำต้นและรากเพิ่มขึ้น และมีอัตราส่วนรากต่อลำต้นสดเท่ากับ 0.14 จากผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทำให้ต้นกล้าข้าวโพดมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด