งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93051
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93011
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92392

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การขยายพันธุ์มะนาวไม่รู้โห่โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ผู้วิจัย รสสุคนธ์ คชยาพันธ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88956 ครั้ง ดาวน์โหลด 61 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การขยายพันธุ์มะนาวไม่รู้โห่โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
Micropropagation of Karanda (Carissa carandas L.)
โดย นางสาวรสสุคนธ์ คชยาพันธ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
การขยายพันธุ์มะนาวไม่รู้โห่โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วางแผนการทดลองแบบ 2×6 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) แบ่งออกเป็น 12 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 10 ซ้้า ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลอง พบว่า การน้าตายอดและตาข้างมาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0 1 3 5 7 และ 9 ppm. ชิ้นส่วนที่เหมาะสมที่สุด คือ ตายอด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น จ้านวนวันที่เกิดยอดใหม่ จ้านวนยอดใหม่เฉลี่ยต่อชิ้นส่วน และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตดีที่สุด และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนพืชกับสารควบคุมการเจริญเติบโต พบว่า การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนตายอดมะนาวไม่รู้โห่ในสูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 7 ppm. มีความเหมาะสมมากที่สุดเนื่องจากมีพัฒนาการของชิ้นส่วนอย่างรวดเร็ว โดยมีการเจริญเติบโตของต้นสูงที่สุด (1.23 เซนติเมตร) มี
จ้านวนวันที่เกิดยอดใหม่เร็วที่สุด (7 วัน) มีความสูงเฉลี่ยของยอดใหม่ และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด คือ 1.18 เซนติเมตร และ 70 เปอร์เซ็นต์ ตามล้าดับ แต่มีจ้านวนยอดใหม่เฉลี่ยปานกลาง (3 ยอดต่อชิ้นส่วน) รองลงมา ได้แก่ การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนตายอดในสูตรอาหาร MS ที่เติม BA 3 ppm. มีจ้านวนยอดใหม่เฉลี่ย และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด คือ 3.37 ยอดต่อชิ้นส่วน และ 70 เปอร์เซ็นต์ ตามล้าดับ และมีความสูงเฉลี่ยยอดใหม่ปานกลาง คือ 0.91 เซนติเมตร ในขณะที่การใช้ชิ้นส่วนตาข้างในสูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 ppm. ไม่แนะน้าให้ใช้ เนื่องจาก มีเปอร์เซ็นการรอดชีวิตน้อยที่สุด (40 เปอร์เซ็นต์) และไม่สามารถชักน้าให้เกิดยอดใหม่ได้
ค้าส้าคัญ มะนาวไม่รู้โห่ การขยายพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ



การศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่มีผลต่อปริมาณเบต้าแคโรทีน ของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว
ผู้วิจัย แพรวฤดี สีงาม และ พิไล ประสิทธิ์ศาล | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 91585 ครั้ง ดาวน์โหลด 178 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสีจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว โดยใช้ตัวทำละลายในการสกัด 3ชนิด คืออะซิโตน ปิโตรเลียมอีเธอร์และคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) จากนั้นนำมาวัดปริมาณสารสกัดที่ได้ และวิเคราะห์ปริมาณของเบต้าแคโรทีนที่เหลืออยู่หลังการสกัดโดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงได้มากที่สุดของเบต้าแคโรทีน ด้วยวิธีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ พบว่าปริมาณสารสกัดหยาบที่สกัดด้วยอะซิโตนปิโตรเลียมอีเธอร์ และคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) มีค่าเท่ากับ 269346 และ 265 มิลลิกรัม ต่อ กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ และปริมาณของเบต้าแคโรทีน มีค่าเท่ากับ 539.12 428.29 และ 614.44 ppm ตามลำดับ ซี่งคุณสมบัติของตัวทำละลาย ในแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการสกัดที่แตกต่างกัน แต่คลอโรฟอร์ม:เมทานอล(2:1) ได้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากกว่า อะซิโตน และปิโตรเลียมอีเทอร์12.26% และ30.3% ตามลำดับ ดังนั้น จากการทดลองพบว่าการสกัดหาปริมาณเบต้าแคโรทีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว เพื่อให้ได้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากที่สุด คือใช้คลอโรฟอร์ม:เมทานอล(2:1)เป็นตัวทำละลายในการสกัด



ประสิทธิภาพของสารสกัดแมงลักคาและสะเดาต่อการเข้าทาลายของเพลี้ยอ่อนถั่ว
ผู้วิจัย ยมนา หาทรัพย์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88707 ครั้ง ดาวน์โหลด 38 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ประสิทธิภาพของสารสกัดแมงลักคาและสะเดาต่อการเข้าทาลายของเพลี้ยอ่อนถั่ว
Efficacy of Mintweed and Neem Extracts on Aphids Infestation
โดย นายยมนา หาทรัพย์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยอ่อนถั่วจากสารสกัดใบแมงลักคาและใบสะเดาในรูปแบบต่างๆ เปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ความเข้มข้น 5% โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 5 ซ้า ซ้าละ 10กระถาง ดังนี้กลุ่มทดลองที่ 1น้าเปล่า (ชุดควบคุม) กลุ่มทดลองที่ 2 สารสกัดของใบแมงลักคาสกัดด้วยไอน้าความเข้มข้น 5% กลุ่มทดลองที่ 3 สารสกัดของใบแมงลักคาสกัดด้วยน้าเปล่าความเข้มข้น 5% กลุ่มทดลองที่ 4 สารสกัดของใบสะเดาสกัดด้วยไอน้าความเข้มข้น 5% และกลุ่มทดลองที่ 5 สารสกัดของใบสะเดาสกัดด้วยน้าเปล่าความเข้มข้น 5% ผลการทดลองพบว่า หลังจากพ่นสารสกัดแมงลักคาที่สกัดด้วยไอน้าครั้งสุดท้าย พบเพลี้ยอ่อนถั่วบนต้นถั่วพุ่มเฉลี่ยเพียง 1 ตัวต่อต้น แสดงว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง สารสกัดที่มีประสิทธิภาพรองลงมา คือสารสกัดสะเดาด้วยไอน้าที่พบเพลี้ยอ่อนถั่วเพียง 10 ตัวต่อต้น ส่วนสารสกัดแมงลักคา และสารสกัดสะเดาที่สกัดด้วยน้า ก็มีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยอ่อนเช่นกันแต่ไม่สูงเท่าการสกัดด้วยไอน้า
คาสาคัญ แมงลักคา ใบสะเดา เพลี้ยอ่อนถั่ว



ผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้ง
ผู้วิจัย นางสาวรัตญาก้อนคำบา และ นางสาวอภิญญา ดวงไข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89807 ครั้ง ดาวน์โหลด 84 ครั้ง

บทคัดย่อ

หัวข้อปัญหาพิเศษ         ผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์

                             ที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้ง

นักศึกษา                   นางสาวรัตญา    ก้อนคำบา

                    นางสาวอภิญญา   ดวงไข

สาขาวิชา                  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ กิตติพร  สุพรรณผิว

 

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งโดยใช้สภาวะในการอบแห้งที่แตกต่างกัน 3วิธี คือ1.) อบที่ 60 องศาเซลเซียสนาน 7 ชั่วโมง 2.) อบที่ 70 องศาเซลเซียสนาน 6 ชั่วโมง และ3.) อบที่ 80 องศาเซลเซียสนาน 5 ชั่วโมงนำมาวัดค่าสีและค่าความชื้น จากนั้นนำผลิตภัณฑ์บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกัน2 ชนิด คือ ถุงอลูมิเนียมฟอยล์และเมทัลไลท์ฟอยล์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ค่าความแข็งและปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด  พบว่าผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่อบที่สภาวะ3มีค่าสี L* a* b*สูงที่สุด เท่ากับ 42.69  -5.41 และ 23.09 ตามลำดับ และมีปริมาณความชื้นต่ำที่สุดคือ ร้อยละ  4.42  ด้านความแข็งของผลิตภัณฑ์เริ่มต้นไม่แตกต่างกัน (P>0.05)แต่เมื่อทำการเก็บรักษาเป็นเวลา 4  สัปดาห์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่สภาวะที่3 และบรรจุในถุงเมทัลไลท์-ฟอยล์ให้ค่าความแข็งต่ำที่สุด(P≤0.05) คือ 0.67 นิวตัน อีกทั้งยังมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดต่ำที่สุด คือ 1×102 cfu/g ทั้งนี้พบว่ากระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่สภาวะที่ 2 และ สภาวะที่ 3มีปริมาณจุลินทรีย์อยู่ระหว่าง 1.00-3.33×102 cfu/gซึ่งไม่เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสาหร่ายทะเลอบ (มผช. 515/2547)จากการทดลองนี้กล่าวได้ว่าในการอบแห้งที่สภาวะที่3 และบรรจุในถุงเมทัลไลท์-ฟอยล์เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งมากที่สุด เนื่องจากยังคงมีคุณภาพด้านความกรอบและมีการเจริญของจุลินทรีย์ต่ำอีกทั้งมีค่าสีเขียวและค่าความสว่างมากที่สุด

คำสำคัญกระเจี๊ยบเขียว การอบแห้งบรรจุภัณฑ์


เข้าสู่ระบบ