งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93046
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93008
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92387

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้กากมันสาปะหลังในอาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ
ผู้วิจัย นุจรินทร์ ฉวีรักษ์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88763 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง



ผลของโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนู พันธุ์จินดา
ผู้วิจัย สิทธิชัย วรสุข | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89734 ครั้ง ดาวน์โหลด 34 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนู
พันธุ์จินดา
Effect of Potassium Nitrate on Seed Germination and Seedling
Growth of Jinda Chilli (Capsicum annuum L.)
โดย นายสิทธิชัย วรสุข
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาความเข้มข้นและระยะเวลาที่เหมาะสมของสารละลายโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนูพันธุ์จินดา โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 Factorial in Completely Randomized Design เปรียบเทียบกับการใช้เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า การแช่น้้ากลั่น 24 ชั่วโมง และการไม่ท้าลายการพักตัว ทั้งหมด 12 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้้าๆ ละ 25 เมล็ด เป็นเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรทความเข้มข้น 0.2 เปอร์เซ็นต์เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีอัตราเฉลี่ยในการงอกเร็วที่สุด คือ 4 วัน มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 97 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีพัฒนาการเป็นต้นกล้าอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ โดยมีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า และความสูงเฉลี่ยของต้น-กล้ารวมรากสูงที่สุด คือ 4.91 เซนติเมตร และ 8.48 เซนติเมตร ตามล้าดับ มีเปอร์เซ็นต์การตายของเมล็ดน้อยที่สุด คือ 3 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ การใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า ในขณะที่ การแช่เมล็ดในสารละลายโพแทสเซียมไนเตรท 0.3 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ไม่แนะน้าให้ใช้ เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดตายมากที่สุด คือ 44 เปอร์เซ็นต์ และ ต้นกล้าที่ได้อ่อนแอไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ เมื่อย้ายปลูกในสภาพแวดล้อมภายนอก
คาสาคัญ เมล็ดพริกขี้หนูพันธุ์จินดา โพแทสเซียมไนเตรท การท้าลายการพักตัว



การใช้ลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล
ผู้วิจัย ศิริภรณ์ เครือแสง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88377 ครั้ง ดาวน์โหลด 37 ครั้ง

การใช้ลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล                         

                                    Using Chopped Corn Stalk to Substitute Sawdust for                                                              Pink Oyster Mushroom (Pleurotus  djamor) Production

โดย                              นางสาวศิริภรณ์  เครือแสง

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

 

                           ศึกษาการใช้ลำต้นข้าวโพดสับทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวลโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)  แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) ผลการทดลองพบว่า การใช้ขี้เลื่อย              75 % ลำต้นข้าวโพดสับ 25% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุด คือ 20  วัน รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 50 % ลำต้นข้าวโพดสับ 50 % การใช้ขี้เลื่อย 100%  การใช้ขี้เลื่อย 25 % ลำต้นข้าวโพดสับ 75% และการใช้ลำต้นข้าวโพดสับ 100 %  มีระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเฉลี่ยเท่ากับ 21.86 21.98  22.66 และ 25.53 วัน ตามลำดับ ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย พบว่า  การใช้ขี้เลื่อย 75 %  ลำต้นข้าวโพดสับ 25%  มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 9.91 ดอก/ถุง รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ลำต้นข้าวโพดสับ  100%  การใช้ขี้เลื่อย         25 %  ลำต้นข้าวโพดสับ  75%  และการใช้ขี้เลื่อย 50 %  ลำต้นข้าวโพดสับ 50 %  มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 8.22 6.37 5.11 และ 5.02 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่าการใช้ขี้เลื่อย 100% มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 41.03 กรัม/ถุง รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 75 % ลำต้นข้าวโพดสับ 25% การใช้ลำต้นข้าวโพดสับ 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50 % ลำต้นข้าวโพดสับ 50 % การใช้ขี้เลื่อย  25  % ลำต้นข้าวโพดสับ  75 %  มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 32.98  27.82  25.67 และ 22.10 กรัม/ถุง  ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนของลำต้นข้าวโพดสับเพื่อใช้ทดแทนขี้เลื่อยที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดนางนวล คือ การใช้ขี้เลื่อย 75 % ร่วมกับลำต้นข้าวโพดสับ 25 % เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดเฉลี่ยเร็วที่สุด มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด และมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยรองลงมาจากการใช้ขี้เลื่อย 100 %

 



การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของเกษตรกร ผู้ผลิตโคต้นน้ำ (ลูกโค)
ผู้วิจัย ผกาแก้ว ทาระเกต และคณะวิจัย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88621 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง


เข้าสู่ระบบ