งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93072
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93039
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92414

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1)
ผู้วิจัย นายอิศรา พุ่มจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89285 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                 ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและ

                           ผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1)

Effect of Chemical and Liguid Biostimulant Fertilizer on Growth and Yield of Eggplant (Tomahawk F1)

โดย                 นายอิศรา  พุ่มจันทร์

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2558  

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน

 

            งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1) โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 18 ต้น ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 และสูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักเศษผักผลไม้ ผลการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา (อัตรา 200 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น ขนาดทรงพุ่มเฉลี่ย จำนวนดอกเฉลี่ยทั้งหมด จำนวนดอกเฉลี่ยที่ติดผล ความยาวเฉลี่ยของผล และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อผลมากที่สุด คือ 67.06 เซนติเมตร 67.02 เซนติเมตร 19.12 ดอก 9.28 ดอกต่อต้น 27.00 เซนติเมตร และ 263.54 กรัมต่อผล ในขณะเดียวกันก็ให้ผลผลิตเกรด A เฉลี่ยมากที่สุด คือ 8.21 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักเศษผักผลไม้ มีค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับปานกลาง แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกลุ่มทดลองที่ 4 ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับน้ำหมักมูลไก่ (กลุ่มทดลองที่ 2) มีแนวโน้มให้ค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดน้อยที่สุด ยกเว้นจำนวนดอกเฉลี่ยที่ติดผล และผลผลิตเกรด A เฉลี่ยมีค่าปานกลาง ส่วนกลุ่มทดลองที่ 3 การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร (อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) ให้ผลผลิตตกเกรดมากที่สุด (13.89 เปอร์เซ็นต์) ดังนั้นในการเพาะปลูกมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักจากพืช จะมีประสิทธิภาพมากกว่าปุ๋ยน้ำหมักมูลสัตว์ และปุ๋ยน้ำหมักจากพืชที่เหมาะสมที่สุดคือ ปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา เพราะให้ค่าไม่แตกต่างทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว



ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52
ผู้วิจัย ขจรศักดิ์ บัวขาว | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89575 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง

ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง จานวน 3 ซ้า พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 50% ตามคาแนะนาของกรมวิชาการเกษตรคือ15.25-3.75-3.75 กก. (N-P2O5-K2O) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 500 กก./ไร่ แบ่งใส่ 3ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุดคือ 33, 56, 73, 101 และ 132 เซนติเมตร เมื่อวัดความสูงที่ 14, 21, 28, 35 และ 42 วันหลังงอก ตามลาดับ น้าหนักผลผลิตฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย 694 กิโลกรัมต่อไร่ และ และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญ (P=0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยสาหรับ น้าหนักผลผลิตฝักทั้งเปลือกพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 50% ตามคาแนะนาของกรมวิชาการเกษตรคือ15.25-3.75-3.75 กก. (N-P2O5-K2O) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 500 กก./ไร่ แบ่งใส่ 3ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีแนวโน้มให้น้าหนักผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 1130 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติดังกลุ่มทดลองต่างๆ



อัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตของ ถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
ผู้วิจัย นายมนต์ชัย แสงกล้า | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88532 ครั้ง ดาวน์โหลด 73 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรี่อง               อัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่ม

                      เมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี  (cv. CP 4-2-3-1)

                      Organic and Chemical Fertilizers Rate on Growth and Yield of   

                       Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)

โดย                 นายมนต์ชัย แสงกล้า

ชื่อปริญญา        วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา        2558

อาจารที่ปรึกษา   อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา    

 

การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์ อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1) วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มทดลอง 1)  ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ที่ 4) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 7.5 กิโลกรัมต่อไร่ 5) ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมที่สุดในการผลิตถั่วพุ่มถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี เนื่องจากให้น้ำหนักมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ด และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ มากที่สุดคือ 818 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 18 เมล็ดต่อฝัก 309 กิโลกรัมต่อไร่ และ 78 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น และดัชนีการเก็บเกี่ยว มีค่าปานกลาง รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) 400 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 3) มีค่าดัชนีตัวชี้วัด น้ำหนักผลผลิตมวลชีวภาพ และเปอร์เซ็นต์การกะเทาะ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับ กลุ่มทดลองที่ 5 คือ 783 กิโลกรัมต่อไร่ และ 79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่มีจำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ดปานกลางคือ 9 ฝักต่อต้น 17 เมล็ดต่อฝัก และ 290 กิโลกรัมต่อไร่ และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง กับกลุ่มทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ย (กลุ่มทดลองที่ 1) ยกเว้นค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว ทุกกลุ่มทดลองมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติ



ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งพันธุ์ลับแล
ผู้วิจัย พิสิฐ ศรีวะวงค์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89428 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง

ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

หอมแบ่งพันธุ์ลับแล

Efficiency of Bio-compost Liquid Produced from Golden Apple Snail

on Multiply Onion Production

โดย    นายพิสิฐ  ศรีวะวงค์

ชื่อปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2556

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ประภัสสร น้อยทรง

 

ศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งพันธุ์ลับแล ที่ระยะเวลา 45วัน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design(RCBD)แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลอง ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ (control)กลุ่มทดลองที่ 2 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:250กลุ่มทดลองที่ 3 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:500กลุ่มทดลองที่ 4 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:1,000 และกลุ่มทดลองที่ 5 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:2,000พบว่า หอมแบ่งพันธุ์ลับแลที่ปลูกร่วมกับการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่อัตรา 1:1,000 มีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านความสูง ความยาวราก การแตกกอ และน้ำหนักผลผลิตมากที่สุด คือ 34.4 ซม.7.26 ซม.4.26 กอ และ2.16กก.ตามลำดับรองลงมาคือ การใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 1:500 1:2,000และ 1:250 ในขณะที่การไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพ มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำที่สุด

 


เข้าสู่ระบบ