งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93072
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93038
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92412

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้ข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า
ผู้วิจัย สุธิดา วิชาพูล | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88966 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

การใช้ข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า

                             Using Chopped Corn Stalk to Substitute Sawdust for

                             Oyster    Mushroom (Pleurotus sajor-caju) Production                          

โดย                      นางสาวสุธิดา     วิชาพูล

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2556

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

 

                  ศึกษาการใช้ลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)  แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุง ๆละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดนานที่สุด คือ ในกลุ่มทดลองที่ 5  (ลำต้นข้าวโพดสับ 100%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 4(ขี้เลื่อย 25% ลำต้นข้าวโพดสับ 75%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ลำต้นข้าวโพดสับ 50%)  กลุ่มทดลองที่ 1(ขี้เลื่อย 100%) และ กลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ลำต้นข้าวโพดสับ 25%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 28.93  22.9  22.06  21.53 และ 19.20 วัน ตามลำดับ จำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2  มีจำนวนดอกเฉลี่ย 5.69 ดอก/ถุง รองลงมาคือ  กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่คือ 4.28  4.18 4.16 และ 3.54 ดอก/ถุง   ตามลำดับ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดนางฟ้าสูงสุด คือ  กลุ่มทดลองที่ 2 ผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 46.20 กรัม/ถุง รองลงมา กลุ่มทดลองที่ 5 กลุ่มทดลองที่ 3  กลุ่มทดลองที่ 1 และ กลุ่มทดลองที่ 4 โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 36.40 35.13  33.11 และ 32.26  กรัม/ถุง   ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า คือการใช้ลำต้นข้าวโพดสับ 25% ผสม ขี้เลื่อย 75% สามารถชักนำให้มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเร็วที่สุด ให้จำนวนดอกและน้ำหนักสดเฉลี่ยมากที่สุด สามารถลดต้นทุนได้

 



ผลของการใช้ไข่แดงในการเก็บรักษาน้ำเชื้อโค
ผู้วิจัย นางสาวขนิษฐา คูณตาแสง และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88300 ครั้ง ดาวน์โหลด 26 ครั้ง

บทคัดย่อ

          การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ไข่แดงไก่ไข่ ไข่แดงไก่พื้นเมือง ไข่แดงนกกระทา และไข่แดงเป็ด ในสูตรสารละลายเจือจางน้ำเชื้อโค โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (RCBD) โดยมี 4 ทรีตเมนต์ คือ ไข่แดงไกไข่ ไข่แดงไก่พื้นเมือง ไข่แดงนกกระทา และไข่แดงเป็ด และมี 4 บล็อก 4 สัปดาห์ การเจือจางน้ำเชื้อใช้สูตร Egg Yolk Tris ใช้ไข่แดง 25% ของสารเจือจางน้ำเชื้อ ใช้พ่อพันธุ์โคชาร์โรเล่ส์ จำนวน 1 ตัว รีดน้ำเชื้อทุกสัปดาห์ น้ำเชื้อที่รีดได้แบ่งเป็น 4 ส่วน แล้วเจือจางด้วยสารเจือจางน้ำเชื้อ 4 ชนิด ที่มีส่วนประกอบของไข่แดงในแต่ล่ะสูตรร้อยละ 25 ของสารเจือจางน้ำเชื้อ นำน้ำเชื้อที่เจือจางไว้ไปเก็บในกระติกน้ำแข็งที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และทำการตรวจ การเคลื่อนที่ของอสุจิ ตรวจหาอสุจิที่มีชีวิต และตรวจหาอสุจิที่ปกติทุกๆ 24 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าการเคลื่อนที่ของอสุจิ ตรวจหาอสุจิที่มีชีวิต และตรวจหาอสุจิที่ปกติ ในทุกชั่วโมงของการตรวจไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

คำสำคัญ : ไข่แดงไก่ไข, ไข่แดงไก่พื้นเมือง, ไข่แดงนกกระทา, ไข่แดงเป็ด, น้ำเชื้ออสุจิ

 

Abstract

          The purpose of this study was to investigate the effect of different types of egg yolk (layers, native hens, quails and duck) in bull semen diluter. Experimental design was conducted using Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 types of egg yolks as the treatments and 4 periods of week as blocks. Semen dilution was based on Egg Yolk Tris formula. With 25% of egg yolk. Semen was collected from one Charolais bull each week and divided into 4 ports for each treatment. Semen was stored in ice box at 5 . motility, viability, normality were analyzed at 24 hours interval. The result found that there was on significant different among treatment. on motility, viability and normality

Keywords: egg yolk, layers, native hens, quails and duck, sperm, diluter

 



อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011
ผู้วิจัย นายนพรัตน์ อมรสิน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 93038 ครั้ง ดาวน์โหลด 570 ครั้ง

จากการศึกษาอิทธิพลการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยคอก 5 ชนิด ได้แก่ มูลเป็ด มูลไก่ มูลสุกร มูลโค และมูลกระบือต่อผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ทองเฉลิม 5011 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบว่าการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกชนิดใด จะสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ทองเฉลิม 5011 โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design : CRD แบ่งเป็น 6 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซํ้า ซํ้าละ 6 กระถาง คือ การใช้ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลเป็ด อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม /ไร่ ร่วมมูลสุกร อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลโค อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลกระบือ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 60-70 วัน ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการทดลองปรากฏว่า กลุ่มทดลองที่ 3 ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อการเก็บดอกดาวเรืองทั้งหมด 3 ครั้ง พบว่าให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกเฉลี่ยมากที่สุด โดยแบ่งเกรดดอกได้ดังนี้ คือ ดอกเกรด A 31.00 ดอกต่อซํ้า ดอกเกรด B 30.00 ดอกต่อซํ้า และ ดอกเกรด C 23.66 ดอกต่อซํ้า และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ



การใช้ลาต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม
ผู้วิจัย สุภาวดี วงษาลุน | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88903 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ลาต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม
Using Chopped Corn Stalk to Substitute Sawdust for
Growing Oyster Mushroom
โดย นางสาวสุภาวดี วงษาลุน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาเปรียบเทียบการใช้ลาต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้าหนักแห้ง) ผลการทดลองพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ลาต้นข้าวโพดสับ 25% เป็นอัตราส่วนที่มีความเหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทน ขี้เลื่อยได้ในการเพาะเห็ดนางรมเนื่องจาก มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยเร็วที่สุดคือ 21.26 วัน มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 12.8 ดอก/ถุง และมีน้าหนักผลผลิตสดปานกลางรองลงมาจากการใช้ขี้เลื่อยคือ 40.65 กรัม/ถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยและจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยปานกลาง คือ 22.46 วัน และ 11.62 ดอก/ถุง ตามลาดับ แต่มีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 42.79 กรัม/ถุง ส่วนอัตราส่วนที่ไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดนางรมคือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ลาต้นข้าวโพดสับ 75% และการใช้ขี้เลื่อย 50% ลาต้นข้าวโพดสับ 50% เนื่องจากดัชนีตัวชี้วัดทุกตัวมีค่าน้อยที่สุดและไม่แตกต่างกันทางสถิติ
5
คาสาคัญ เห็ดนางรม ลาต้นข้าวโพดสับ ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต


kubet ไทยคาสิโนออนไลน์


เข้าสู่ระบบ