งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย จันทิมา ขันแข็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89403 ครั้ง ดาวน์โหลด 66 ครั้ง
การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for Oyster Mushroom(Pleurotusostreatus) Production โดย นางสาวจันทิมา ขันแข็ง ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2556 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาการบ่มเชื้อของเห็ดนางรม การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อน้อยที่สุดคือ 17.13 วัน รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยคือ 19.53 21.00 23.00 และ 27.26 วัน ตามลำดับ วัสดุเพาะที่ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยเท่ากับ 47.00 44.20 33.60 22.60 และ 18.40 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% ให้จำนวนน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 376.80 373.8 173.00 47.70 และ 44.60 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของขุยมะพร้าวในการใช้เป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อย คือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ใช้ขุยมะพร้าว 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมได้ดีที่สุด เนื่องจากมีจำนวนดอกเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง (19.53 วัน)
ผู้วิจัย นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 90202 ครั้ง ดาวน์โหลด 117 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และ เ เห็ดกระด้าง w Study of Chitin and Chitosan Quantity from Animal Shells and ก Amtrak Mushrooms โดย นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2558 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้าง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design; CRD) กำหนดให้มี 4 กลุ่มทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ พบว่าปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยและค่าร้อยละของไคตินที่มีมากที่สุดคือ ไคตินจากกาบหอยโดยมีค่าเท่ากับ 852.51 กรัม และ 85.25% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ กับปริมาณไคตินจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคตินที่ได้จากเห็ดกระด้าง 734.42กรัม และ 73.44% เปลือกปู 576.09กรัม และ 57.61% ในขณะที่ปลือกกุ้งมีน้ำหนักเฉลี่ยไคตินและร้อยละของไคตินน้อยที่สุดคือ 489.09กรัม และ 48.91% ตามลำดับ ส่วนปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยของไคโตซานและค่าร้อยละของไคโตซาน พบว่า การสกัดจากกาบหอยมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 834.81 กรัม และ 83.48% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคโตซานที่ได้จากเห็ดกระด้าง 737.77กรัม และ 73.78% ไคโตซานจากเปลือกปู 546.43กรัม และ 54.64% ในขณะที่ไคโตซานจากเปลือกกุ้งมีน้อยที่สุดคือ 421.44กรัม และ 42.14% ตามลำดับ ส่วนการละลายไคโตซานในน้ำส้มสายชูเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พบว่าเปอร์เซ็นต์การละลายของไคโตซานที่ละลายได้ดีที่สุดคือ ไคโตซานจากกาบหอย โดยมีเปอร์เซ็นต์การละลายอยู่ที่ 42.8% ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณการละลายไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นการละลายไคโตซานจากเปลือกกุ้ง 35.5% ไคโตซานจากเปลือกปู 26.7% และไคโตซานจากเห็ดกระด้างมีการละลายน้อยที่สุดคือ 13.9% ตามลำดับ ปริมาณไคตินและไคโตซานที่สกัดได้จากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้างมีปริมาณแตกต่างกัน โดยการสกัดจากกาบหอยจะมีปริมาณไคติน-ไคโตซาน มากที่สุดและมีปริมาณการละลายในน้ำส้มสายชูดีที่สุด รองลงมาคือเห็ดกระด้าง เปลือกปูและเปลือกกุ้ง ตามลำดับ แต่เห็ดกระด้างมีปริมาณการละลายน้อยที่สุด ดังนั้นหากไม่มี กาบหอย แนะนำให้ใช้เปลือกปู มาทำการสกัด จะทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ดีเช่นเดียวกัน
ผู้วิจัย สิทธิชัย วรสุข | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89765 ครั้ง ดาวน์โหลด 34 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนู
พันธุ์จินดา
Effect of Potassium Nitrate on Seed Germination and Seedling
Growth of Jinda Chilli (Capsicum annuum L.)
โดย นายสิทธิชัย วรสุข
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาความเข้มข้นและระยะเวลาที่เหมาะสมของสารละลายโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนูพันธุ์จินดา โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 Factorial in Completely Randomized Design เปรียบเทียบกับการใช้เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า การแช่น้้ากลั่น 24 ชั่วโมง และการไม่ท้าลายการพักตัว ทั้งหมด 12 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้้าๆ ละ 25 เมล็ด เป็นเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรทความเข้มข้น 0.2 เปอร์เซ็นต์เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีอัตราเฉลี่ยในการงอกเร็วที่สุด คือ 4 วัน มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 97 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีพัฒนาการเป็นต้นกล้าอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ โดยมีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า และความสูงเฉลี่ยของต้น-กล้ารวมรากสูงที่สุด คือ 4.91 เซนติเมตร และ 8.48 เซนติเมตร ตามล้าดับ มีเปอร์เซ็นต์การตายของเมล็ดน้อยที่สุด คือ 3 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ การใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า ในขณะที่ การแช่เมล็ดในสารละลายโพแทสเซียมไนเตรท 0.3 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ไม่แนะน้าให้ใช้ เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดตายมากที่สุด คือ 44 เปอร์เซ็นต์ และ ต้นกล้าที่ได้อ่อนแอไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ เมื่อย้ายปลูกในสภาพแวดล้อมภายนอก
คาสาคัญ เมล็ดพริกขี้หนูพันธุ์จินดา โพแทสเซียมไนเตรท การท้าลายการพักตัว
ผู้วิจัย สัจจะ ศรีระทา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88934 ครั้ง ดาวน์โหลด 20 ครั้ง
เรื่อง ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมนิล
ในนาแบบเปียกสลับแห้ง
Study of Chemical Fertilizer Rate on Growth and Yield of Hom Nin Rice Variety Under Alternating Wetting and Drying Condition
โดย นาย สัจจะ ศรีระทา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา2556
อาจารที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมนิลในสภาพนาเปียกสลับแห้ง โดยทำการศึกษา ณ แปลงทดลองของเกษตรกร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มทดลองๆละ3ซ้ำ ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยกลุ่มทดลองที่ 2ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่กลุ่มทดลองที่3ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร
16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ และกลุ่มทดลองที่4ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 45 กก./ไร่ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา45 กก./ไร่ ทำให้ข้าวหอมนิล มีความสูงช่วง 30 และ 60 วัน จำนวนรวงต่อกอน้ำหนักเมล็ดข้าวจำนวน100 เมล็ดค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว และผลผลิตเมล็ดข้าว มีค่าสูงที่สุด แต่เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกกลุ่มทดลองนอกจากนี้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง สามารถลดต้นทุนการผลิต เป็นการใช้น้ำแบบประหยัดแต่ยังคงให้ผลผลิตข้าวในอัตราที่สูง จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในการปลูกข้าวในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำได้