งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93072
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93039
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92412

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาความสามารถการย่อยได้ของอาหารสำเร็จรูปในสุกรรุ่นพื้นเมือง
ผู้วิจัย ปวีณา ศักดาวงศ์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89865 ครั้ง ดาวน์โหลด 2 ครั้ง



ผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้ง
ผู้วิจัย นางสาวรัตญาก้อนคำบา และ นางสาวอภิญญา ดวงไข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89832 ครั้ง ดาวน์โหลด 84 ครั้ง

บทคัดย่อ

หัวข้อปัญหาพิเศษ         ผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์

                             ที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้ง

นักศึกษา                   นางสาวรัตญา    ก้อนคำบา

                    นางสาวอภิญญา   ดวงไข

สาขาวิชา                  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ กิตติพร  สุพรรณผิว

 

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งโดยใช้สภาวะในการอบแห้งที่แตกต่างกัน 3วิธี คือ1.) อบที่ 60 องศาเซลเซียสนาน 7 ชั่วโมง 2.) อบที่ 70 องศาเซลเซียสนาน 6 ชั่วโมง และ3.) อบที่ 80 องศาเซลเซียสนาน 5 ชั่วโมงนำมาวัดค่าสีและค่าความชื้น จากนั้นนำผลิตภัณฑ์บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกัน2 ชนิด คือ ถุงอลูมิเนียมฟอยล์และเมทัลไลท์ฟอยล์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ค่าความแข็งและปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด  พบว่าผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่อบที่สภาวะ3มีค่าสี L* a* b*สูงที่สุด เท่ากับ 42.69  -5.41 และ 23.09 ตามลำดับ และมีปริมาณความชื้นต่ำที่สุดคือ ร้อยละ  4.42  ด้านความแข็งของผลิตภัณฑ์เริ่มต้นไม่แตกต่างกัน (P>0.05)แต่เมื่อทำการเก็บรักษาเป็นเวลา 4  สัปดาห์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่สภาวะที่3 และบรรจุในถุงเมทัลไลท์-ฟอยล์ให้ค่าความแข็งต่ำที่สุด(P≤0.05) คือ 0.67 นิวตัน อีกทั้งยังมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดต่ำที่สุด คือ 1×102 cfu/g ทั้งนี้พบว่ากระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่สภาวะที่ 2 และ สภาวะที่ 3มีปริมาณจุลินทรีย์อยู่ระหว่าง 1.00-3.33×102 cfu/gซึ่งไม่เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสาหร่ายทะเลอบ (มผช. 515/2547)จากการทดลองนี้กล่าวได้ว่าในการอบแห้งที่สภาวะที่3 และบรรจุในถุงเมทัลไลท์-ฟอยล์เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งมากที่สุด เนื่องจากยังคงมีคุณภาพด้านความกรอบและมีการเจริญของจุลินทรีย์ต่ำอีกทั้งมีค่าสีเขียวและค่าความสว่างมากที่สุด

คำสำคัญกระเจี๊ยบเขียว การอบแห้งบรรจุภัณฑ์



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัดไคโตซาน ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ แคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล
ผู้วิจัย ฐิติกร บัวใหญ่ และ | ปีที่พิมพ์ 0 | อ่าน 89121 ครั้ง ดาวน์โหลด 20 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                        การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัดไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี

                               ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล

                               Comparison of Chemical Fertilizer and Chitosan Efficiency

                               On Growth and Yield of Apples Cantaloupe

โดย                          นายฐิติกร  บัวใหญ่

ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                 2557

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน

 

         งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัด

ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล และ เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 38 ต้น ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ชุดควบคุม ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 และสูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการปลูกแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ลได้ เนื่องจากมีแนวโน้มน้ำหนักเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย และเส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 65.95 กรัม 1149.7 กรัม และ 4.46 เซนติเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับ

ไคโตซาน (อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ทำให้มีความยาวเถาเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ยมากที่สุดคือ 80.38 เซนติเมตร และ 23.83 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีแนวโน้มให้น้ำหนักเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ยต่ำที่สุด และให้ผลผลิตตกเกรดมากที่สุด เท่ากับ 53.79 กรัม 603.7 กรัม 14.91 เปอร์เซ็นต์ 2.70 เซนติเมตร และ 13.73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

 

 



การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม
ผู้วิจัย จันทิมา ขันแข็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89403 ครั้ง ดาวน์โหลด 66 ครั้ง

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม                                                   Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for                                                         Oyster Mushroom(Pleurotusostreatus) Production                   โดย                              นางสาวจันทิมา ขันแข็ง                                                               ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)                                              ปีการศึกษา                   2556                                                                                        อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาการบ่มเชื้อของเห็ดนางรม การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อน้อยที่สุดคือ 17.13 วัน รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยคือ 19.53  21.00  23.00 และ 27.26 วัน ตามลำดับ วัสดุเพาะที่ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยเท่ากับ 47.00  44.20  33.60  22.60 และ 18.40 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% ให้จำนวนน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้     ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 376.80 373.8 173.00 47.70 และ 44.60 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของขุยมะพร้าวในการใช้เป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อย       คือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ใช้ขุยมะพร้าว 25%  สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมได้ดีที่สุด เนื่องจากมีจำนวนดอกเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง (19.53 วัน)

 


เข้าสู่ระบบ