งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นางสาวปิยณี ดาราช | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91359 ครั้ง ดาวน์โหลด 187 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของปุ๋ยน้าจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตของหอมแบ่ง
Effect Of Azolla Compost Fertilizer On Growth Of Onion
โดย นางสาวปิยณี ดาราช
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
การศึกษาผลของปุ๋ยน้าจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (RCD) มี 6 กรรมวิธีได้แก่ กรรมวิธีที่ 1.ปุ๋ยคอก+ปุ๋ยแหนแดง (2,000 กก./ ไร่ + 50 ซีซี / น้า 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน) กรรมวิธีที่ 2. ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยแหนแดง (50 กก./ ไร่ + 50 ซีซี / น้า 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน) กรรมวิธีที่ 3. ปุ๋ยน้าแหนแดง อัตรา 50 ซีซี / น้า 20 ลิตรพ่น กรรมวิธีที่ 4. ปุ๋ยคอก อัตรา 4 ตัน / ไร่ กรรมวิธีที่ 5. ปุ๋ยเคมีสูตร 20 - 10 - 20 อัตรา 100 กก./ ไร่ กรรมวิธีที่ 6. ไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) วัดความสูงของหอมแบ่งในช่วงระยะการเจริญเติบโตทุกๆ สัปดาห์และน้าหนักสดเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต ผลการทดลองพบว่า หอมแบ่งที่กรรมวิธีแตกต่างกันมีผลทาให้จานวนผลผลิตที่ได้แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง ส่วนจานวนหัวกลีบที่แตกกอพบว่า ที่กรรมวิธีปลูกแตกต่างกันไม่มีผลทาให้จานวนหัวกลีบที่แตกกอของหอมแบ่งแตกต่างกัน น้าหนักผลเฉลี่ยและน้าหนักสดเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่ 2. ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยแหนแดง (50 กก./ ไร่ + 50 ซีซี / น้า 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน) ส่งผลให้หอมแบ่งมีการเจริญเติบโต และ ให้ผลผลิตมากที่สุด
ผู้วิจัย นายกิติพันธ์ โชติจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89124 ครั้ง ดาวน์โหลด 29 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพู
ในสภาพปลอดเชื้อ
Effect of Cytokinins and Auxins on Growth of Curcuma sp. Roxb in
vitro.
โดย นายกิติพันธ์ โชติจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพูในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 7×4 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) มีปัจจัย A ได้แก่ a1=0 mg/l, a2=1 mg/l, a3=2 mg/l, a4=3 mg/l, a5=4 mg/l, a6=5 mg/l และ a7=6 mg/l และปัจจัย B ได้แก่ b1=0 mg/l, b2=0.05 mg/l, b3=0.5 mg/l และ b4=1 mg/l รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลองๆ ละ 10 ซ้าๆ ละ 1 ขวด พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงกระเจียวสีชมพูและสามารถพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 6 mg/l เนื้อเยื่อมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้ต้นกล้ามีความสูงเฉลี่ยของต้น และจานวนยอด/หน่อ เฉลี่ยมากที่สุด คือ 1.30 เซนติเมตร และ 0.20 ยอด ตามลาดับ รองลงมาคือ สูตร MS ที่เติม BA 5 mg/l ร่วมกับ NAA 0.05 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น คือ 1.20 เซนติเมตร
คำสำคัญ ไซโตไคนิน ออกซิน กระเจียวสีชมพู สภาพปลอดเชื้อ
ผู้วิจัย สุนทร วงวรรณ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88353 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชจากใบมันสาปะหลังและแมงลักคา
Efficacy of Weed Control from Cassava and Mintweed Leaves โดย นาย สุนทร วงวรรณ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคาในการยับยั้งการเจริญเติบโตวัชพืชสาบม่วง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 4 ซ้าๆ ละ 8 กรรมวิธี รวมจานวนหน่วยทดลองทั้งหมด 32 หน่วยทดลองโดยมีกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มที่ให้น้าตามปกติและกลุ่มพ่น เอทิลแอลกอฮอล์ 20% และกลุ่มที่ได้รับการพ่นด้วยสารสกัดของใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคา ความเข้มข้น 1, 10, และ 20% และพ่นทุกๆ 7 วัน จนครบ 28 วัน วัดการเจริญเติบโตของสาบม่วง 5 ลักษณะ คือ ความสูง จานวนใบ
ความยาวราก น้าหนักสดและน้าหนักแห้ง ผลการทดลอง พบว่า สารสกัดของใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคา มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงได้ทั้ง 5 ลักษณะ โดยสารสกัดของแมงลักคาความเข้มข้น 20 % มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงดีที่สุดรองลงมาคือสารสกัดของใบมันสาปะหลัง 20 % การเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัด
ใบมันสาปะหลังและใบแมงลักคาทาให้การยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชสาบม่วงเพิ่มขึ้น
ผู้วิจัย นางสาวธีระวัลย์ วงมาเกษ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89379 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิดในการควบคุมเพลี้ยอ่อน
Efficacy of Plant Extracts for Aphids Control
โดย นางสาวธีระวัลย์ วงมาเกษ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิด ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน วางแผนการทดลองแบบ 3×3 Factorial+1 in Completely Randomized Design (CRD) โดยใช้ความเข้มข้น 5 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 24 48 และ 72 ชั่วโมงเปรียบเทียบกับ Ethyl alcohol 50% เป็นชุดควบคุม พบว่า สารสกัดจากใบดาวเรืองมีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่ 48 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยของเพลี้ยอ่อนมากที่สุด คือ 88.89 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติกับชุดควบคุม ที่มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่ สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส และสารสกัดจากใบแมงลักคา ตามลำดับ ส่วนความเข้มข้นของสารสกัดจากพืชที่เหมาะสมที่สุด คือ 15 เปอร์เซ็นต์ ที่ 48 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย 98.33 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่ 10 เปอร์เซ็นต์ และ 5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อตรวจสอบระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษ (LC50 และ LT50) พบว่า สารสกัดจากใบดาวเรืองมีค่าน้อยที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษมากที่สุด ดังนั้น หากต้องการแนะนำให้เกษตรกรใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมเพลี้ยอ่อน แนะนำให้ใช้สารสกัดจากใบดาวเรือง ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ หรือ 15 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 48 ชั่วโมง สามารถทำให้เพลี้ยอ่อนตาย ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ หรือ 15 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สารสกัดจากใบแมงลักคาทุกความเข้มข้นมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด