งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93048
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93010
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92388

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

อัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์ อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
ผู้วิจัย นายศิริศักดิ์ แซ่โชว์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88227 ครั้ง ดาวน์โหลด 16 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                อัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์ 

                      อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)

                      Chemical Fertilizers Rates on Growth and Yield of   

                      Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)

โดย                 นายศิริศักดิ์    แซ่โชว์

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2558

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา  

 

   การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบและผลผลิตถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 4

กลุ่มทดลอง 1.) ไม่ใส่ปุ๋ย 2.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง) 4.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 3 ซ้ำ พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1) ดีกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี และอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 4) เนื่องจากต้นถั่วพุ่มมีความสูงเฉลี่ยของต้น ผลผลิตมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ด มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 64 เซนติเมตร 802 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 18 เมล็ดต่อฝัก และ 291 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และมีค่าแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง รองลงมาได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง) (กลุ่มทดลองที่ 3) และการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 2) ดัชนีทุกตัวชี้วัดมีค่าปานกลางยกเว้นเปอร์เซ็นต์การกะเทาะเมล็ด ค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 4) ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี (Control) (กลุ่มทดลองที่ 1) มีค่าตัวชี้วัดทุกตัวต่ำที่สุด ยกเว้นดัชนีการเก็บเกี่ยว แต่ก็ไม่แตกต่างทางสถิติกับกลุ่มทดลองอื่นๆ



ประสิทธิภาพเหยื่อล่อหอยเชอรี่จากพืช
ผู้วิจัย พรพิศ สมพร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88781 ครั้ง ดาวน์โหลด 11 ครั้ง

ประสิทธิภาพเหยื่อล่อหอยเชอรี่จากพืช

Efficacy of Golden Apple Snail Bait from Plants

โดย                          นางสาวพรพิศ  สมพร

ชื่อปริญญา                วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์ )

ปีการศึกษา         2556

อาจารย์ที่ปรึกษา         อาจารย์  ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

                   ศึกษาประสิทธิภาพในการใช้พืชชนิดต่างๆ เป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่  เพื่อล่อให้หอยเชอรี่กินเหยื่อมากขึ้นหรือล่อให้มารวมกลุ่มกันจำนวนมากและง่ายต่อการกำจัด  วางแผนการทดลองแบบ  Completely  Randomized  Design  (CRD) โดยใช้ใบผักบุ้งใบมันสำปะหลัง ใบมันเทศ และใบมะละกอเปรียบเทียบกับเหยื่อล่อสำเร็จรูปเป็นลักษณะให้หอยเชอรี่เลือกอาหาร (choice test)  ผลการทดลองพบว่าเมื่อถัวเฉลี่ยระยะเวลา  12  ชั่วโมง  เหยื่อล่อใบมันเทศมีประสิทธิภาพดีที่สุด  สามารถล่อหอยเชอรี่ให้มารวมกลุ่มกันได้มากที่สุด  เฉลี่ยคือ  39.31 %  รองลงมาได้แก่  เหยื่อล่ออาหารปลาดุก   ใบผักบุ้ง    ใบมันสำปะหลัง  และใบมะละกอ  มีค่าเท่ากับ   33.49  33.46   28.24  และ  20.95 %  ตามลำดับ  แต่เมื่อวิเคราะห์เป็นรายชั่วโมงพบว่า  การใช้เหยื่อล่อจากใบมันเทศ  จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด  ภายใน  7  ชั่วโมงแรก  รองลงมาคือ  อาหารปลาดุก   ใบผักบุ้ง  และใบมันสำปะหลัง  ในขณะที่เหยื่อล่อใบมะละกอ  อาจต้องใช้ระยะเวลานานขึ้นประมาณชั่วโมงที่  6  ถึง  10  จึงจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด  ดังนั้นถ้าต้องการประสิทธิภาพในการเป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ให้มารวมตัวกัน เพื่อง่ายต่อการป้องกันกำจัดหรือผสมกับเหยื่อพิษภายใน    6  ชั่วโมงแรก  ควรเลือกใช้เหยื่อล่อใบมันเทศ  แต่ถ้า  8   ชั่วโมง  ขึ้นไป  ควรเลือกใช้เหยื่อล่อใบมะละกอ  จึงจะได้ผลดีที่สุด

 



การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงและสารสกัดจากธรรมชาติในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า
ผู้วิจัย พวงผกา อ่างมณี | ปีที่พิมพ์ 2553 | อ่าน 91343 ครั้ง ดาวน์โหลด 68 ครั้ง

การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและอัตราสารที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ย แป้งในน้อยหน่า ซึ่งยังไม่เคยมีคำแนะนำมาก่อน ทำการทดลอง 4 แปลงทดลอง ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 – เดือนกันยายน 2553 ที่แปลงเกษตรกรอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในปี 2551 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร imidacloprid (Provado 70% WG), thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Starkle 10% WP) และ white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 2 กรัม, 20 กรัม และ 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร การพ่นไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ในปี 2552 และ 2553 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร thiamethoxam (Actara 25% WG), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), thiamethoxam (Actara 25% WG) + white oil (Vite oil 67% EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC) + white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 15 มิลลิลิตร, 2 กรัม + 50 มิลลิลิตร และ 10 กรัม + 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ การพ่นไส้เดือนฝอย S. carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ทั้งสี่แปลงทดลองมีการพ่นสารตามกรรมวิธี 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยบนผลก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน โดยสุ่มนับผลน้อยหน่าจำนวน 10 ผล/ต้น ให้กระจายทั่วทั้งต้น ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั่วทั้งผลพบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารสามารถลดปริมาณการระบาดของเพลี้ยแป้งได้ โดยหลังการพ่นสารพบจำนวนเพลี้ยแป้งน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร การพ่นสาร imidacloprid (Provado 70% WG), thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Starkle 10% WP), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), thiamethoxam (Actara 25% WG) + white oil (Vite oil 67% EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC) + white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 2 กรัม, 20 กรัม, 15 มิลลิลิตร, 2 กรัม + 50 มิลลิลิตร และ 10 มิลลิลิตร + 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ส่วนกรรมวิธีการพ่น white oil (Vite oil 67% EC) มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้ปานกลาง ขณะที่ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร ให้ผลไม่ชัดเจนในปี 2553 และจากการเก็บผลน้อยหน่าที่พ่นไส้เดือนฝอยมาตรวจในห้องปฏิบัติการไม่พบ ไส้เดือนฝอยจากเพลี้ยแป้งที่ตายในกรรมวิธีดังกล่าว การตรวจการเป็นพิษของสารทดลองต่อพืช ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารไม่ก่อความเป็นพิษกับต้นและผลน้อยหน่า



ผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้ง
ผู้วิจัย นางสาวรัตญาก้อนคำบา และ นางสาวอภิญญา ดวงไข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89805 ครั้ง ดาวน์โหลด 84 ครั้ง

บทคัดย่อ

หัวข้อปัญหาพิเศษ         ผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์

                             ที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้ง

นักศึกษา                   นางสาวรัตญา    ก้อนคำบา

                    นางสาวอภิญญา   ดวงไข

สาขาวิชา                  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ กิตติพร  สุพรรณผิว

 

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งโดยใช้สภาวะในการอบแห้งที่แตกต่างกัน 3วิธี คือ1.) อบที่ 60 องศาเซลเซียสนาน 7 ชั่วโมง 2.) อบที่ 70 องศาเซลเซียสนาน 6 ชั่วโมง และ3.) อบที่ 80 องศาเซลเซียสนาน 5 ชั่วโมงนำมาวัดค่าสีและค่าความชื้น จากนั้นนำผลิตภัณฑ์บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกัน2 ชนิด คือ ถุงอลูมิเนียมฟอยล์และเมทัลไลท์ฟอยล์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ค่าความแข็งและปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด  พบว่าผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่อบที่สภาวะ3มีค่าสี L* a* b*สูงที่สุด เท่ากับ 42.69  -5.41 และ 23.09 ตามลำดับ และมีปริมาณความชื้นต่ำที่สุดคือ ร้อยละ  4.42  ด้านความแข็งของผลิตภัณฑ์เริ่มต้นไม่แตกต่างกัน (P>0.05)แต่เมื่อทำการเก็บรักษาเป็นเวลา 4  สัปดาห์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่สภาวะที่3 และบรรจุในถุงเมทัลไลท์-ฟอยล์ให้ค่าความแข็งต่ำที่สุด(P≤0.05) คือ 0.67 นิวตัน อีกทั้งยังมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดต่ำที่สุด คือ 1×102 cfu/g ทั้งนี้พบว่ากระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่สภาวะที่ 2 และ สภาวะที่ 3มีปริมาณจุลินทรีย์อยู่ระหว่าง 1.00-3.33×102 cfu/gซึ่งไม่เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสาหร่ายทะเลอบ (มผช. 515/2547)จากการทดลองนี้กล่าวได้ว่าในการอบแห้งที่สภาวะที่3 และบรรจุในถุงเมทัลไลท์-ฟอยล์เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งมากที่สุด เนื่องจากยังคงมีคุณภาพด้านความกรอบและมีการเจริญของจุลินทรีย์ต่ำอีกทั้งมีค่าสีเขียวและค่าความสว่างมากที่สุด

คำสำคัญกระเจี๊ยบเขียว การอบแห้งบรรจุภัณฑ์


เข้าสู่ระบบ