งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นางสาวชัชชญา ชูรัตน์ และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 87430 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าทางโภชนะในส่วนของใบตองหมักสาหรับ โคพันธุ์บราห์มัน โดยนาใบตองหมักกับน้าตาลซูโครสในระดับต่างๆกันและเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการอาหารในช่วงฤดูขาดแคลน ตามแผนการทดลองแบบ Completely Randomizied Design (CRD) ประกอบด้วย 4 ทรีตเมนท์ ได้แก่ ใบตองหมักร่วมกับน้าตาลซูโครสที่ 0, 10, 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ และน้า 100 มิลลิลิตร แต่ละทรีตเมนท์ มี 2 ซ้า พบว่าหากต้องการค่าโปรตีนสูงสุดควรใช้น้าตาลซูโครส 10 % และที่ระยะเวลาการหมัก 7 วันซึ่งได้ค่าโปรตีน 12.92 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) แต่หากพิจารณาค่า ADL ต่าสุดคือ 26.25 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) และมีค่าคุณภาพของพืชหมักตามเกณฑ์ของ FLIEG เท่ากับ 96 คะแนน
คำสำคัญ : ใบตองหมัก น้าตาลซูโครส แลคติคแอซิดแบคทีเรีย
Abstract
This research was to study the chemical composition. and The nutritive value of banana leaves silage for Brahman cattle.mixed which mixed with different sucrose levels to guide the management of feed shortage during the dry season. Ezperimental design was Compietely Randomized Design (CRD) with four treatments of sucrose leves as 0,10,15 and20 % and 100 ml at water.It was found that for the highest protein content,10% sucrose and 7 days fermentation were recommenday, with the protein content 12.92 % (P<0.05). However,considering the ADL value as the cell wall indicator, it showed that at 21 days of fermentation with 15% sucrose leaves silage base on FLIEG was 96.
keyword: banana leaves silage, sucrose, lactic acid bacteria
ผู้วิจัย พุทรงค์ ชินภาชน์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89485 ครั้ง ดาวน์โหลด 15 ครั้ง
ผลของ Heat Treatment ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์
ภายหลังการเก็บเกี่ยว
Effect of Heat Treatment on the Postharvest Quality Changes
of Rosoe Apple(Eugenia javanicalamk.)
โดย นายพุทรงค์ ชินภาชน์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ heat treatment ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ภายหลังการเก็บเกี่ยว โดยวางแผนการทดลองแบบ 4x3 Factorial in Completely Randomized Design (CRD) โดยใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 40 45 50 และ 55 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 0 30 และ 60 วินาที เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้แช่น้ำร้อน ผลการทดลอง พบว่า การทำ heat treatment นอกจากมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคแล้วยังสามารถรักษาคุณภาพของผลิตผลไว้ได้ ทำให้ชมพู่ทับทิมจันทร์มีการเปลี่ยนแปลงสีเปลือกและสีเนื้อช้าลง และช่วยชะลอขบวนการย่อยอาหารสะสมและการเปลี่ยนแป้งไปเป็นน้ำตาล โดยอุณหภูมิของน้ำร้อนและระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำ heat treatment คือ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วินาที มีประสิทธิภาพโดยรวมดีที่สุด สามารถช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของชมพู่ทับทิมจันทร์ตลอด 9 วัน ที่เก็บรักษาในตู้ควบคุมอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองอื่น (p≤0.01)
ผู้วิจัย สิทธิพร ศิริไทย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88292 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
ศึกษาผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของข้าวเจ้าหอมนิล ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแห้งแล้ง แบ่งเป็น 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับน้าปกติ กลุ่มแล้ง และกลุ่มที่ได้รับการพ่นสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.25, 0.5, 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ ทาการเพาะเมล็ดและปลูกในกระถางบรรจุดินเป็นเวลา 14 วัน งดให้น้า 7 วัน ผลการทดลองพบว่าสภาวะแล้งส่งผลให้การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวหอมนิลลดลง ยกเว้นความยาวราก ส่วนกรดซาลิไซลิกช่วยให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีขึ้นโดยทาให้ความยาวราก น้าหนักสดรากและลาต้น และน้าหนักแห้งลาต้นเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของต้นกล้าข้าวหอมนิล ทั้งนี้จากการทดลองสามารถสรุป ได้ว่ากรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.25 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทาให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด
ผู้วิจัย นายนิกร ใยดวง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89062 ครั้ง ดาวน์โหลด 11 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อปลวกและเห็ดโคนในสวนยางพารา
Effect of Herbicide on Termite and Termitomyces Mushroom
in Para Rubber Plantation
โดย นายนิกร ใยดวง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อปลวกและเห็ดโคนในสวนยางพาราโดยการใช้ Sentricon Bait Station ในการสำรวจจำนวนประชากรของปลวกที่มาติดกับดัก จากการทดลองสุ่มสำรวจจำนวนประชากรของปลวกที่สร้างเห็ดโคนบริเวณนี้ ใช้เหยื่อล่อคือ กระดาษลูกฟูก กับไม้ยางใส่อุปกรณ์ใส่เหยื่อคือ Sentricon Bait Station ทำการเก็บตัวอย่างปลวกแบบสุ่มที่มาติดกับดักจำนวน 15 วัน และเปลี่ยนเหยื่อล่อใหม่ทุกครั้งที่สุ่มเก็บตัวอย่าง สุ่มดักจับปลวก ก่อนและหลังพ่นสารกำจัดวัชพืช โดยกำหนดแปลงขนาด 40x40เมตร แล้วแบ่งแปลงขนาด 10x10 เมตรจะได้ 16 แปลงย่อย 2 พื้นที่ คือ แปลงยางพาราที่ไม่ได้พ่นสารกำจัดวัชพืช และ แปลงยางพาราที่พ่นสารกำจัดวัชพืชหลังการสำรวจทั้งสองแปลงโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนับจำนวนปลวกก่อนและหลังพ่นสารกำจัดวัชพืชและดูปริมาณเห็ดโคน วิเคราะห์ข้อมูล จำนวนของปลวกโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย(Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณปลวกและเห็ดโคนโดยวิเคราะห์หาค่าวิกฤติ t-distribution ระหว่างแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชกับแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของเห็ดโคนและปลวกในสวนยางพาราระหว่างแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชกับแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช จากการเก็บ จำนวน 6 ครั้ง โดยแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืช มีค่าเฉลี่ยที่ 376.00% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 26.44 % และแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช มีค่าเฉลี่ยที่ 184.67% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 61.72% แสดงว่าการพ่นสารกำจัด
วัชพืชมีผลต่อประชากรปลวกและจำนวนเห็ดโคนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการดูปริมาณเห็ดโคนที่ขึ้นในสวนยางพารา พบว่า แปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชพบปริมาณของเห็ดโคนที่ขึ้นประมาณ 25% ของพื้นที่ และแปลงที่พ่นสารเคมีพบปริมาณของเห็ดโคน ประมาณ 10% ของพื้นที่