งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93038
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93005
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92378

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของซูกินีลูกผสมแตงเขียวมรกต (F1 ไฮบริด)
ผู้วิจัย ธวัชชัย พรมสิงห์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89223 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

        เรื่อง                   ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

                                 ของซูกินีลูกผสมแตงเขียวมรกต(F1ไฮบริด)                                                               ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของซูกินีลูกผสม                       แตงเขียวมรกต(F1ไฮบริด)      

                            Effect of Chemical Fertilizer and Chitosan on Growth and Yeild 

                            of Green Zucchini (F1Hybrid)

โดย                    นายธวัชชัย พรมสิงห์

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2557

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์นงลักษณ์   พยัคฆศิรินาวิน

 

          ปัญหาพิเศษนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและอัตราส่วนที่เหมาะสมของการใช้สารสกัดไคโตซานร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงซูกินีลูกผสม พันธุ์แตงเขียวมรกต (F1ไฮบริด)โดยวางแผนการทดลองแบบRCBD โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 14 ต้น ขนาดแปลง 1 x 10เมตร ผลการทดลองพบว่า ต้นซูกินีในกลุ่มทดลองที่ 5 ที่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ยมากที่สุด คือ 10.39 เซนติเมตร และมีความแตกต่างกันทางสถิติ  (p=0.01) นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มให้ความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ย จำนวนใบเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย เส้นรอบวงผลเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 132.17 เชนติเมตร 23.19 ใบต่อต้น 4.21 ดอกต่อต้น และ 5.21 กิโลกรัมต่อแปลง ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็ให้ความยาวผลเฉลี่ย และผลผลิตเกรดAปานกลางคือ 14.23 เซนติเมตรต่อผล และ 41.23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 4 การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับไคโตซาน อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ดังนั้นหากต้องการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีในการปลูกแตงซูกินีลูกผสม ปริมาณที่เหมาะสมที่สุดคือ ไคโตซาน อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว 

คำสำคัญ  แตงซูกินีลูกผสม แตงเขียวมรกต ปุ๋ยเคมี ไคโตซาน



การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต มะเขือเทศพันธุ์สีดา
ผู้วิจัย ธวัชชัย อารีย์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89340 ครั้ง ดาวน์โหลด 159 ครั้ง

ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดา โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Desing, CRD) ผลการทดลองพบว่า การใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของมะเขือเทศพันธุ์สีดามากที่สุด คือ 56.13 ซม. ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว: ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 39.73 ซม. ในขณะที่การใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยสูงสุดคือ 7.58 ดอก และการใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 5.91ดอก สำหรับจำนวนผลต่อช่อ พบว่า การใช้ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนผลต่อช่อเฉลี่ยสูงที่สุด 5.91 ผล ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 94.67 กรัม ในขณะที่การใช้ วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 57.67 กรัม



ผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อปลวกและเห็ดโคน ในสวนยางพารา
ผู้วิจัย นายนิกร ใยดวง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89055 ครั้ง ดาวน์โหลด 11 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                        ผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อปลวกและเห็ดโคนในสวนยางพารา

                               Effect of Herbicide on Termite and Termitomyces Mushroom

                               in Para   Rubber  Plantation

โดย                     นายนิกร  ใยดวง

ชื่อปริญญา             วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2556

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

              ศึกษาผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อปลวกและเห็ดโคนในสวนยางพาราโดยการใช้ Sentricon Bait Station ในการสำรวจจำนวนประชากรของปลวกที่มาติดกับดัก จากการทดลองสุ่มสำรวจจำนวนประชากรของปลวกที่สร้างเห็ดโคนบริเวณนี้  ใช้เหยื่อล่อคือ กระดาษลูกฟูก กับไม้ยางใส่อุปกรณ์ใส่เหยื่อคือ Sentricon Bait Station ทำการเก็บตัวอย่างปลวกแบบสุ่มที่มาติดกับดักจำนวน 15 วัน และเปลี่ยนเหยื่อล่อใหม่ทุกครั้งที่สุ่มเก็บตัวอย่าง  สุ่มดักจับปลวก ก่อนและหลังพ่นสารกำจัดวัชพืช โดยกำหนดแปลงขนาด 40x40เมตร แล้วแบ่งแปลงขนาด 10x10 เมตรจะได้ 16 แปลงย่อย  2  พื้นที่ คือ  แปลงยางพาราที่ไม่ได้พ่นสารกำจัดวัชพืช และ แปลงยางพาราที่พ่นสารกำจัดวัชพืชหลังการสำรวจทั้งสองแปลงโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนับจำนวนปลวกก่อนและหลังพ่นสารกำจัดวัชพืชและดูปริมาณเห็ดโคน วิเคราะห์ข้อมูล จำนวนของปลวกโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย(Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณปลวกและเห็ดโคนโดยวิเคราะห์หาค่าวิกฤติ t-distribution ระหว่างแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชกับแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช  ผลการวิจัยพบว่า  เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของเห็ดโคนและปลวกในสวนยางพาราระหว่างแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชกับแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช จากการเก็บ จำนวน 6 ครั้ง โดยแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืช  มีค่าเฉลี่ยที่  376.00%  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่  26.44 % และแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช มีค่าเฉลี่ยที่ 184.67%  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 61.72% แสดงว่าการพ่นสารกำจัด

 

 

วัชพืชมีผลต่อประชากรปลวกและจำนวนเห็ดโคนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01    จากการดูปริมาณเห็ดโคนที่ขึ้นในสวนยางพารา  พบว่า แปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชพบปริมาณของเห็ดโคนที่ขึ้นประมาณ 25% ของพื้นที่ และแปลงที่พ่นสารเคมีพบปริมาณของเห็ดโคน ประมาณ 10% ของพื้นที่

                   



อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011
ผู้วิจัย นายนพรัตน์ อมรสิน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 93005 ครั้ง ดาวน์โหลด 570 ครั้ง

จากการศึกษาอิทธิพลการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยคอก 5 ชนิด ได้แก่ มูลเป็ด มูลไก่ มูลสุกร มูลโค และมูลกระบือต่อผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ทองเฉลิม 5011 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบว่าการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกชนิดใด จะสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ทองเฉลิม 5011 โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design : CRD แบ่งเป็น 6 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซํ้า ซํ้าละ 6 กระถาง คือ การใช้ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลเป็ด อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม /ไร่ ร่วมมูลสุกร อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลโค อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลกระบือ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 60-70 วัน ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการทดลองปรากฏว่า กลุ่มทดลองที่ 3 ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อการเก็บดอกดาวเรืองทั้งหมด 3 ครั้ง พบว่าให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกเฉลี่ยมากที่สุด โดยแบ่งเกรดดอกได้ดังนี้ คือ ดอกเกรด A 31.00 ดอกต่อซํ้า ดอกเกรด B 30.00 ดอกต่อซํ้า และ ดอกเกรด C 23.66 ดอกต่อซํ้า และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ


เข้าสู่ระบบ