งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย แพรวฤดี สีงาม และ พิไล ประสิทธิ์ศาล | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 91567 ครั้ง ดาวน์โหลด 178 ครั้ง
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสีจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว โดยใช้ตัวทำละลายในการสกัด 3ชนิด คืออะซิโตน ปิโตรเลียมอีเธอร์และคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) จากนั้นนำมาวัดปริมาณสารสกัดที่ได้ และวิเคราะห์ปริมาณของเบต้าแคโรทีนที่เหลืออยู่หลังการสกัดโดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงได้มากที่สุดของเบต้าแคโรทีน ด้วยวิธีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ พบว่าปริมาณสารสกัดหยาบที่สกัดด้วยอะซิโตนปิโตรเลียมอีเธอร์ และคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) มีค่าเท่ากับ 269346 และ 265 มิลลิกรัม ต่อ กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ และปริมาณของเบต้าแคโรทีน มีค่าเท่ากับ 539.12 428.29 และ 614.44 ppm ตามลำดับ ซี่งคุณสมบัติของตัวทำละลาย ในแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการสกัดที่แตกต่างกัน แต่คลอโรฟอร์ม:เมทานอล(2:1) ได้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากกว่า อะซิโตน และปิโตรเลียมอีเทอร์12.26% และ30.3% ตามลำดับ ดังนั้น จากการทดลองพบว่าการสกัดหาปริมาณเบต้าแคโรทีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว เพื่อให้ได้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากที่สุด คือใช้คลอโรฟอร์ม:เมทานอล(2:1)เป็นตัวทำละลายในการสกัด
ผู้วิจัย นายสิทธิศานต์ หาเนาสุข | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88689 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง อัตราปุ๋ยเคมีและปูนขาวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำ
อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
Chemical Fertilizer and Lime Rates on Growth and Yield of
Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)
โดย นายสิทธิศานต์ หาเนาสุข
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาอัตราของปุ๋ยเคมีและปูนขาวต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 5 กลุ่มทดลองดังนี้ 1. ไม่ใส่ปุ๋ย 2. ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3. ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 4. ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง 5. ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 3 ซ้ำ พบว่าการใส่ปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุด ต้นถั่วพุ่มดูดสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจาก มีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักผลผลิตมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝักและน้ำหนักผลผลิตเมล็ดรวมเฉลี่ยมากที่สุดคือ 64 เซนติเมตร 795 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 17 เมล็ดต่อฝักและ 300 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ รองลงมาคือปูนขาว 400 กิโลกรัมต่อไร่และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีค่าดัชนีตัวชี้วัดทุกค่าปานกลาง นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยในทุกกลุ่มทดลองให้ค่าแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยอย่างชัดเจน ยกเว้น ค่าเปอร์เซ็นต์การกะเทาะและดัชนีการเก็บเกี่ยวที่มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าอยู่ระหว่าง 72-78 เปอร์เซ็นต์ และ 0.36-0.38 ตามลำดับ ดังนั้นการใส่ปูนขาวในการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินเมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมการปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์
ผู้วิจัย นางสาวชัชชญา ชูรัตน์ และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 87424 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าทางโภชนะในส่วนของใบตองหมักสาหรับ โคพันธุ์บราห์มัน โดยนาใบตองหมักกับน้าตาลซูโครสในระดับต่างๆกันและเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการอาหารในช่วงฤดูขาดแคลน ตามแผนการทดลองแบบ Completely Randomizied Design (CRD) ประกอบด้วย 4 ทรีตเมนท์ ได้แก่ ใบตองหมักร่วมกับน้าตาลซูโครสที่ 0, 10, 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ และน้า 100 มิลลิลิตร แต่ละทรีตเมนท์ มี 2 ซ้า พบว่าหากต้องการค่าโปรตีนสูงสุดควรใช้น้าตาลซูโครส 10 % และที่ระยะเวลาการหมัก 7 วันซึ่งได้ค่าโปรตีน 12.92 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) แต่หากพิจารณาค่า ADL ต่าสุดคือ 26.25 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) และมีค่าคุณภาพของพืชหมักตามเกณฑ์ของ FLIEG เท่ากับ 96 คะแนน
คำสำคัญ : ใบตองหมัก น้าตาลซูโครส แลคติคแอซิดแบคทีเรีย
Abstract
This research was to study the chemical composition. and The nutritive value of banana leaves silage for Brahman cattle.mixed which mixed with different sucrose levels to guide the management of feed shortage during the dry season. Ezperimental design was Compietely Randomized Design (CRD) with four treatments of sucrose leves as 0,10,15 and20 % and 100 ml at water.It was found that for the highest protein content,10% sucrose and 7 days fermentation were recommenday, with the protein content 12.92 % (P<0.05). However,considering the ADL value as the cell wall indicator, it showed that at 21 days of fermentation with 15% sucrose leaves silage base on FLIEG was 96.
keyword: banana leaves silage, sucrose, lactic acid bacteria
ผู้วิจัย ธวัชชัย อารีย์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89340 ครั้ง ดาวน์โหลด 159 ครั้ง
ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดา โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Desing, CRD) ผลการทดลองพบว่า การใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของมะเขือเทศพันธุ์สีดามากที่สุด คือ 56.13 ซม. ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว: ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 39.73 ซม. ในขณะที่การใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยสูงสุดคือ 7.58 ดอก และการใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 5.91ดอก สำหรับจำนวนผลต่อช่อ พบว่า การใช้ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนผลต่อช่อเฉลี่ยสูงที่สุด 5.91 ผล ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 94.67 กรัม ในขณะที่การใช้ วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 57.67 กรัม